“ม.ขอนแก่น-กฟผ.”จับมือลุยนวัตกรรม ด้านวิศวกรรมศาสตร์ ช่วยสิ่งแวดล้อม

“ม.ขอนแก่น-กฟผ.”จับมือลุยนวัตกรรม ด้านวิศวกรรมศาสตร์ ช่วยสิ่งแวดล้อม

“ม.ขอนแก่น-กฟผ.”จับมือลุยนวัตกรรม

ด้านวิศวกรรมศาสตร์ ช่วยสิ่งแวดล้อม

                 มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)  ได้จัดโครงการงานวันภูมิปัญญาไฟฟ้าอีสาน ประจำปี 2564 และ ENKKU – EGAT Open House ในหัวข้อ 2S with 2E (Smart & Sustainable Solution with Green Energy & Emerging Technology)  ภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี คุณพลศรี สุวิศิษฏ์อาษา รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธานกล่าวเปิดงาน  และมีนายเกษม ปิดสายะตัง ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าน้ำพอง กล่าวรายงาน โดยมี รศ.ดร.รัชพล สันติวรากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้การต้อนรับ ซึ่งกิจกรรมฯ นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา บุคลากรจาก กฟผ.ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านพลังงานระหว่างกัน ณ ห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้น 1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น และระบบการประชุมออนไลน์

                รศ.ดร.รัชพล สันติวรากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ปัญหาสังคมขณะนี้ ได้แก่ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล  ด้านทางการแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขและเครื่องมือแพทย์ ด้านเทคโนโลยี AI ปัญญาประดิษฐ์ทั้งหลาย หุ่นยนต์ที่ใช้สำหรับ สมาร์ทฟาร์ม อุตสาหกรรมการเกษตร และด้านพลังงานสีเขียว พลังงานทดแทนการประหยัดพลังงานต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์ปัญหาโลกร้อน

                “สำหรับนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ผลิตออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาของสังคมและพัฒนาประเทศ พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ได้แก่ รถจักรยานยนต์อีวี มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าพลังงานสีเขียว  คงคาร์บอนต่ำ ปัจจุบันมีต้นแบบใช้งานแล้ว 12 คัน โดยมีแนวโน้มที่จะวางแผนให้บริการนักศึกษาอย่างครอบคลุม ในการใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแทนรถจักรยานยนต์ส่วนตัว   นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีหุ่นยนต์อัตโนมัติ หรือ AI เพื่อช่วยดูแลสมาร์ทฟาร์ม เป็นชุดคิดขนาดเล็กดูแลการปลูกพืชให้เกษตรกรสะดวกสบายต้นทุนต่ำและได้ผลผลิตสูง”

                รศ.ดร.รัชพล ยังกล่าวต่ออีกว่า  “นักวิจัย นักวิชาการ ต้องร่วมมือกับเอกชนเพื่อเปลี่ยนแปลงโลก เอาความรู้ไปใช้บริหารงานต่าง ๆ ภาระงานสอนอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ ต้องลงพื้นที่เพื่อร่วมมือกับภาคประชาชนแก้ไขปัญหา ถึงจะสามารถดูแลสิ่งแวดล้อมของเราได้อย่างยั่งยืน กฟผ. ก็เป็นหน่วยงานพันธมิตรมีสัมพันธ์แนบแน่น ที่เรามีบันทึกข้อตกลงร่วมกันยาวนานกว่า 16 ปี แล้ว โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้พัฒนาบุคคล ทีมนักวิจัย และเทคโนโลยี ตอบโจทย์ กฟผ. เช่น นวัตกรรมปัญหาภัยแล้ง ปัญหาการจัดการน้ำ ฝุ่นในโรงงานผลิตไฟฟ้าน้ำพอง เพื่อกระตุ้นให้เกิดพลังงานทดแทน เพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นอย่างยั่งยืนตอบโจทย์การจัดงานในวันนี้ การแก้ไขปัญหาอย่างชาญฉลาดและยั่งยืน และใช้พลังงานสีเขียวบวกเทคโนโลยีเกิดใหม่”

                นายพลศรี สุวิศิษฏ์อาษา รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า กล่าวว่า จากแนวโน้มทิศทางการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้า ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และพฤติกรรมของผู้ใช้ไฟฟ้า ซึ่งส่งผลต่อการผลิตและการบริหารจัดการด้านพลังงานไฟฟ้า รวมถึงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ และวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลก บริบทด้านพลังงานที่เปลี่ยนแปลงไป นโยบายการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในส่วนภาคพลังงานไฟฟ้าที่เป็นพื้นฐานสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยน (Transformation) ด้วยการนำเอานวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้งานมากขึ้น จึงเป็นที่มาของการจัดงานครั้งนี้ซึ่งคาดหวังว่าจะเกิดประโยชน์ต่อวงการพลังงานและดูแลสิ่งแวดล้อมของชาติ

You may also like

เปิดตัวดัชนีชี้วัดความปลอดภัยของเด็ก บนโลกออนไลน์ทั้งในระดับชาติและระดับโลก

เปิดตัวด