รุกเต็มสูบ”5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” ดัน 16 “วาระคานงัด”สร้างจุดเปลี่ยน พลิกโฉมเกษตรไทย 77 จังหวัด

รุกเต็มสูบ”5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” ดัน 16 “วาระคานงัด”สร้างจุดเปลี่ยน พลิกโฉมเกษตรไทย 77 จังหวัด

รุกเต็มสูบ"5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย”

ดัน 16 "วาระคานงัด”สร้างจุดเปลี่ยน

พลิกโฉมเกษตรไทย 77 จังหวัด

                นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 และประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมแห่งชาติ (Agritech and Innovation Center : AIC) พร้อมด้วย นายวิชัย ไตรสุรัตน์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ประธานอนุกรรมการ ประธานศูนย์ AIC ทั้ง 77 จังหวัด หน่วยงานภาครัฐ หอการค้าและภาคีเครือข่ายเกษตรกร ที่เกี่ยวข้อง กว่า 300 ราย ร่วมกันประชุมหารือขับเคลื่อนคณะกรรมการ ซึ่งในที่ประชุมได้มีประเด็นสำคัญในการติดตามผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการ ด้านการขับเคลื่อน Big Data และ Gov Tech อนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ อนุกรรมการขับเคลื่อนด้าน E-Commerce อนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร (Agribusiness)

                ในการจัดทำแผนเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม ปีงบประมาณ 2564 และ 2565 ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือโดยศูนย์ AIC เชียงใหม่ แผนจังหวัดชลบุรี การขับเคลื่อนโครงการตลาดกลางสินค้าเกษตรเพชรบุรีโมเดล การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ การนำเสนองานวิจัยด้านการเกษตรของสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ที่เชื่อมโยงสู่ศูนย์ AIC และนำไปใช้ประโยชน์ สรุปผลการดำเนินงานขับเคลื่อนศูนย์ AIC ผลการสำรวจการรวบรวมข้อมูลปุ๋ย ข้าว สมุนไพร และโปรตีนทางเลือก ผลการสำรวจการคัดเลือกนวัตกรรมที่มีศักยภาพและความพร้อมที่จะดำเนินการทางด้านธุรกิจ

                ทั้งนี้นายอลงกรณ์ ได้เน้นย้ำถึง การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 4 คณะภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร4.0 ให้เกิดความชัดเจนเชิงโครงสร้างระบบ ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด เน้นการทำงานที่รวดเร็ว และการนำไปใช้ประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน ให้แก่ เกษตรกร ภาครัฐ ภาคเอกชน เชื่อมโยงกลไกการขับเคลื่อนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ ขยายผลจากโครงการนำร่องสู่แพลตฟอร์มทั่วประเทศ(Pilot 2 Platform)ในการดำเนินงานต่อไป

                พร้อมทั้งมอบ แนวทางการขับเคลื่อนฯ ตามยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 เพื่อการบริหารราชการแผ่นดินการบริการประชาชนและการพัฒนาภาคเกษตรกรรมโดยการใช้เทคโนโลยีตลอดห่วงโซ่อุปทานและมูลค่า(Supply-Value Chain) ตั้งแต่การผลิต การแปรรูปจนถึงการตลาดตาม5ยุทธศาสตร์ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร

                นอกจากนี้นายอลงกรณ์ยังได้มอบหมายการทำงานในปีที่ 2 ของศูนย์AICโดยมี 16 วาระสำคัญที่เรียกว่า”วาระคานงัด(Transformation Agenda)สร้างจุดเปลี่ยนมุ่งถ่ายทอด ต่อยอด เชื่อมโยงด้วยเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม เพื่อดำเนินการดังนี้

                1. คุณภาพและมาตรฐานเกษตร GAP GMP Organic Fair Trade

                2. ระบบตรวจสอบย้อนกลับ

                3. ระบบคิวอาร์โค้ดเกษตรกรและฟาร์มQR code Farm & Farmer

                4. ระบบศูนย์ข้อมูลและรัฐบาลเทคโนโลยี(Big Data & GovTech)จังหวัด & กลุ่มจังหวัด บริหาร&บริการ

                5. ตลาดกลางสินค้าเกษตรออนไลน์และออฟไลน์(Online Offline)

                6. โครงการ 1 จังหวัด 1 Startup & SMEเกษตร (อย่างน้อย) > Hachkaton

                7. โครงการ1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร(ศูนย์เกษตรอุตสาหกรรมอาหารครบวงจร)

                8. โครงการเกษตรแม่นยำ 2 ล้านไร่ เฟส 3 ผลไม้

                9. โครงการเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง(Urban Farming)และโครงการธนาคารสีเขียว(Green Bank)

                10. โครงการชลประทานชุมชน

                11.  3 Zero Zero Kilometer Zero Waste Zero Food

                12. อาหารแห่งอนาคต เกษตรแห่งอนาคต(Future Food Future Crop)เช่นโปรตีนทางเลือกใหม่ สมุนไพร ไข่น้ำ

                13. โครงการวิจัย & พัฒนาในจังหวัดและกลุ่มจังหวัด

                14. แผนเกษตรอัจฉริยะปี 65-70 และแผนงานตามงบประมาณปี 2566

                15. โครงการเครื่องจักรกลเกษตร(Machinelization Policy)แปลงใหญ่

                16. การถ่ายทอด ต่อยอด เชื่อมโยง ร่วมมือ พัฒนา โดยการขับเคลื่อนภายใต้กลไกต่างๆ เช่น

                1.กลไกของกระทรวง กลไกของคณะกรรมการชุดต่างๆเช่นคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.) ,คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร4.0,คณะกรรมการพัฒนาโลจิสติกส์เกษตร ฯลฯ

                2.กลไกในลักษณะกึ่งราชการ เช่น ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ Young Smart Farmer อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) วิสาหกิจชุมชน เป็นต้น

                3.กลไกภาคเกษตรกร

                4.กลไกภาคเอกชน

                5.กลไกขององค์กรระหว่างประเทศ เพื่อการขับเคลื่อนและพัฒนา บูรณาการ ทั้งระบบภาคการเกษตรไทยต่อไปรวมทั้งให้มีการตั้งทีมฑูตAIC( AIC Ambassador )เดินสายเยี่ยมเยือน สื่อสารประชาสัมพันธ์ของAICในแต่จังหวัดและกลุ่มจังหวัดด้วย

 

 

 

You may also like

รัฐบาลไทยช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม บริจาค 3 ล้านบาทแก่องค์การสหประชาชาติ เพื่อสนับสนุนผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น

รัฐบาลไท