“วัคซีนพาสปอร์ต” ปูทางสู่การฟื้นตัวหลังการแพร่ระบาด

“วัคซีนพาสปอร์ต” ปูทางสู่การฟื้นตัวหลังการแพร่ระบาด

วัคซีนพาสปอร์ต” ปูทางสู่การฟื้นตัวหลังการแพร่ระบาด

ดร. ชารอน ฮักเคนเนส  นักวิเคราะห์อาวุโสของการ์ทเนอร์

                ใบรับรองวัคซีนดิจิทัลหรือที่รู้จักกันในชื่อวัคซีนพาสปอร์ตถือเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาใหม่ที่มีความเป็นไปได้ในการสนับสนุนธุรกิจให้กลับมาดำเนินต่อและให้สังคมกลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนเดิมอีกครั้งทั่วประเทศและทั่วโลก นอกจากช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อระลอกใหม่แล้ว ยังเป็นการเพิ่มโอกาสและความสะดวกในการส่งบุคคลที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้วกลับมายังสถานที่กักตัว เช่น สถานที่ทำงาน และประเทศที่เปิดให้เดินทางระหว่างประเทศ

                ช่วงกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมากลุ่มบริษัทเทคโนโลยีและสุขภาพขนาดใหญ่หลายแห่งได้ร่วมมือกันเปิดตัว “โครงการหนังสือรับรองประวัติการรับวัคซีน (The Vaccine Credential Initiative)” เพื่อสร้างระบบการจัดเก็บข้อมูลและเรียกดูบันทึกการรับวัคซีนแบบดิจิทัล ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันองค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ได้เปิดตัวคณะทำงานด้านสุขภาพดิจิทัลเพื่อพัฒนากรอบการทำงานและมาตรฐานใบรับรองวัคซีนดิจิทัลอัจฉริยะสำหรับโรคไข้เหลืองและโควิด-19 เพื่อปูทางไปสู่การเพิ่มการรับรองการรับวัคซีนประเภทอื่น ๆ ในภายหลัง

                ความพยายามอย่างหนักจากทุกภาคส่วนเหล่านี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาวัคซีนพาสปอร์ตให้เกิดขึ้นจริง แม้จะยังมีคำถามสำคัญหลายประการ ทั้งในเรื่องของเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ แหล่งที่มาและการตรวจสอบข้อมูล รวมถึงคำจำกัดความของภูมิคุ้มกันในกลุ่มของพวกเขา

                ความไม่แน่นอนของวัคซีนพาสปอร์ต

                การนำวัคซีนพาสปอร์ตมาใช้ในวงกว้างมีอุปสรรคเกิดขึ้นมากมาย องค์กรภาคเอกชนและภาครัฐต้องทำความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจส่งผลเสียเช่นเดียวกับคำมั่นสัญญา จึงจะสามารถวางแผนการนำมาใช้จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                10 คำถามสำคัญที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวมถึงผู้กำหนดนโยบายของรัฐหรือองค์กรควรร่วมค้นหาคำตอบ

                • การกำหนดมาตรฐาน- ใครจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐาน? ทั่วโลกจะมีหลายมาตรฐานหรือไม่? กำหนดความหมายของภูมิคุ้มกันไว้อย่างไร?

                • การนำมาใช้- ใบรับรองจะถูกนำมาใช้อย่างไร? ใช้กับการเดินทาง? การทำงาน? หรือ ความบันเทิง? โดยการใช้งานใบรับรองนี้จะผ่านการตรวจสอบทางกฏหมายด้วยหรือไม่?

                • การให้การยอมรับ- ใครจะยอมรับใบรับรองวัคซีนนั้นบ้าง? หากมีใบรับรองหลายแบบ จะมีใบรับรองไหนที่ได้รับการรับรองในวงกว้างมากกว่าใบรับรองอื่น ๆ ?

                • การเห็นด้วย- ประชาชนจะใช้ใบรับรองเหล่านี้ด้วยหรือไม่? ใบรับรองจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไหม?

                • การให้ความเสมอภาค- ประชาชนจะสามารถเข้าถึงและจัดการข้อมูลดิจิทัลส่วนตัวได้ด้วยไหม? ใบรับรองจะทำให้เกิดการตีตราทางสังคมหรือเกิดการแบ่งแยกทางดิจิทัลที่รุนแรงขึ้นหรือไม่?

                • การกำกับดูแล- ใครจะเป็นผู้ดูแลระบบและข้อมูล? ความเป็นส่วนตัวจะได้รับการคุ้มครองอย่างไร? การปลอมแปลงเอกสารจะถูกค้นพบและจัดการอย่างไร?

                • การนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย- ใบรับรองจะมีวันหมดอายุไหมหากวัคซีนมีผลในระยะเวลาจำกัด? ใบรับรองควรต้องมีข้อมูลภูมิคุ้มกันสำหรับสายพันธ์อื่น ๆ ด้วยหรือไม่? ความแตกต่างของกลุ่มบุคคลจะทำให้การแสดงผลประสิทธิภาพของวัคซีนต่างกันไหม?

                • การตรวจสอบและพิสูจน์- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันจะได้รับการตรวจสอบอย่างไร? ใครจะเข้าถึงบันทึกการฉีดวัคซีนได้บ้าง? จะยืนยันความถูกต้องของข้อมูลนั้นอย่างไร?

                • การนำระบบโครงสร้างพื้นฐานมาใช้ – โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่แล้วสามารถจัดการข้อมูลและความต้องการด้านความปลอดภัยของใบรับรองดิจิทัลได้หรือไม่? จะควบรวมระบบหรือโครงสร้างเหล่านี้และทำงานร่วมกันได้หรือไม่?

                • ผลที่อาจเกิดตามมาโดยไม่ตั้งใจ- ใบรับรองดิจิทัลจะทำให้เกิดความไม่มั่นใจในวัคซีนเพิ่มขึ้นไหม? จะเป็นการเพิ่มขั้นตอนการรับวัคซีนหรือไม่? จะกลายเป็นแรงจูงใจให้ผู้คนไม่ดูแลตัวเองปล่อยให้ติดเชื้อเพื่อให้ได้ใบรับรองหรือไม่?

                สิ่งที่สังคมต้องไปให้ถึงเพื่อให้เกิดการใช้งานในวงกว้าง

                หนทางที่ทำให้วัคซีนพาสปอร์ตใช้งานได้จริงนั้น การทำให้ผู้ใช้ยอมรับในวงกว้างต้องเกิดขึ้น ด้วยความท้าทายข้างต้นองค์กรที่กำลังพิจารณาการใช้วัคซีนพาสปอร์ตต้องเห็นด้วยในกรอบการกำกับดูแลที่อนุญาตการเข้าถึงสิทธิ์ ความเท่าเทียม การพิสูจน์ความถูกต้อง และแบ่งปันข้อมูลการรับวัคซีน

                วัคซีนพาสปอร์ตดิจิทัลในระดับสูงจะต้องเปิดใช้งานบันทึกการฉีดวัคซีนโควิด-19 ตามความยินยอมเพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ด้วยวิธีที่ปลอดภัยตรวจสอบได้และรักษาความเป็นส่วนตัว และต้องสามารถทำงานข้ามองค์กรและข้ามเขตพรมแดนได้ นอกจากนี้ยังต้องสร้างขึ้นบนมาตรฐานสากล มีความปลอดภัยและโครงสร้างพื้นฐานแบบกระจายอำนาจ ในแง่ของข้อมูลที่ได้มาต้องมีการกำหนดมาตรฐานข้อมูล การจัดรูปแบบและการแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งสำคัญ

                แม้ว่าจะยังมีคำถามเกิดขึ้นมากมายเกี่ยวกับวัคซีนพาสปอร์ต แต่ก็ดูเหมือนเป็นแนวโน้มที่ดี แอปพลิเคชันที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลได้ให้ความช่วยเหลือสำคัญในการจัดการกับสถานการณ์เร่งด่วนทั่วโลกที่เกิดจากการแพร่ระบาด

                อีกไม่นานการตรวจสอบเทคโนโลยีนี้จะแจ้งให้ทราบถึงแผนและกลยุทธ์ขององค์กรภาครัฐและเอกชน เพื่อเตรียมความพร้อมในการนำวัคซีนพาสปอร์ตมาใช้ประโยชน์เพื่อการฟื้นคืนกลับสู่สภาวะปกติ

You may also like

คปภ.ลงพื้นที่ช่วยเหลือด้านประกันภัย กรณีเครนก่อสร้างทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว พังถล่ม!

คปภ.ลงพื