วิกฤต PM2.5 สร้างเอ็นเกจเมนต์ หนุน“เครื่องฟอกอากาศ” และ “หน้ากากอนามัย” พุ่ง

วิกฤต PM2.5 สร้างเอ็นเกจเมนต์ หนุน“เครื่องฟอกอากาศ” และ “หน้ากากอนามัย” พุ่ง

วิกฤต PM2.5 สร้างเอ็นเกจเมนต์

หนุน“เครื่องฟอกอากาศ” และ “หน้ากากอนามัย” พุ่ง

    ฝุ่น PM2.5 ปัญหาซ้ำซากที่ยังรอแก้ไข ดาต้าเซ็ต เช็คเสียงชาวเน็ตค้นหาตัวช่วย “เครื่องฟอกอากาศ” และ “หน้ากากอนามัย” เป็นไอเท็มสุดฮิตที่ต้องมีเมื่อฤดูฝุ่นมาเยือน พร้อมๆ กับโปรโมชั่นการตลาด โดยเครื่องฟอกอากาศ Coway เป็นแบรนด์ที่ทำตลาดและได้รับเอ็นเกจเมนต์สูงสุดในช่วงนี้ รองลงมาเป็น Xiaomi และ Dyson ส่วนหน้ากากฯ N95 เป็นที่กล่าวถึงมากพร้อมช่องทางการสั่งซื้อบนออนไลน์อีคอมเมิร์ซ

ในช่วงเวลาที่เข้าสู่การเปลี่ยนฤดูกาลโดยเฉพาะช่วงปลายฤดูหนาวที่เตรียมเข้าสู่ฤดูร้อน เมื่อเป็นช่วงลมสงบนิ่ง ฝุ่นละอองและสารพิษรอบตัวจะถูกสะสมไว้ในชั้นบรรยากาศ เมื่อลมร้อนเริ่มพัดมา ฝุ่นจะถูกพัดลอยให้สูงขึ้น และค่อย ๆ จางหายไป แต่ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า ภาวะลมสงบเกิดขึ้นนานกว่าปกติ ส่งผลให้ฝุ่นต่าง ๆ ไม่ถูกพัดลอยไป และสะสมอยู่เป็นเวลานาน จึงทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นหมอกและควันในชั้นบรรยากาศมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น

จากสถานการณ์มลภาวะทางอากาศในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตของคนไทย ซึ่งได้รับการพูดถึงเป็นจำนวนมากบนโซเชียลมีเดีย เรียกได้ว่าไม่มีใครไม่ได้รับผลกระทบจากสถาณการณ์ดังกล่าว

จากกระแสประเด็นดังกล่าว บริษัท ดาต้าเซ็ต รวบรวมข้อมูลผ่านเครื่องมือ DXT360 เพื่อฟังเสียงในสังคมออนไลน์ (Social listening) และนำมาวิเคราะห์สถานการณ์ของ “ฝุ่น PM2.5” ในช่วงวันที่ 1 – 20 มกราคม 2567 โดยจากการสำรวจข้อมูล พบว่า มีการพูดถึงประเด็น “ฝุ่น PM2.5” เป็นจำนวน 11,229 ครั้ง และได้รับ Engagement ไปทั้งสิ้น 507,503 ครั้ง

 

เมื่อเปรียบเทียบกราฟด้านบนระหว่างข้อมูลที่มีการพูดถึงสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 จาก DXT360 และข้อมูลค่าเฉลี่ย PM2.5 สะท้อนให้เห็นว่า จำนวนการกล่าวถึงประเด็น PM2.5 นั้นเพิ่มมากขึ้นสอดคล้องกับปริมาณค่า PM2.5 ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงวันที่ 9 – 10 มกราคม และช่วง 19 – 20 มกราคม ซึ่งนอกจากการกล่าวถึงที่เพิ่มขึ้นสูงตามจำนวนค่าเฉลี่ย PM2.5 แล้วยังจะเห็นได้ว่า จำนวนการค้นหาคำว่า “PM2.5” “เครื่องฟอกอากาศ” และ “หน้ากากอนามัย” ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน (กราฟด้านล่าง)

 

จากสถานการณ์มลภาวะทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน มีหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลผ่านโซเชียลมีเดีย ทั้งในส่วนของการแจ้งเตือนเฝ้าระวัง แนวทางการรับมือ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นรวมถึงการสังเกตอาการแพ้ฝุ่น PM2.5 ในช่วงระหว่างวันที่ 1-20 ม.ค. 66 โดยมีรายละเอียดชื่อหน่วยงานภาครัฐที่มีการกล่าวถึงเด่นๆ ดังนี้

จำนวน Engagement ของแต่ละหน่วยงาน

กรมประชาสัมพันธ์                                              1,678 Engagements, 25 Posts

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM                 1,372 Engagements, 93 Posts

สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร                           1,180 Engagements, 117 Posts

กรมฝนหลวงและการบินเกษตร                               889 Engagements, 5 Posts

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข                        787 Engagements, 3 Posts

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข                             384 Engagements, 10 Posts

กรมควบคุมมลพิษ                                              345 Engagements, 13 Posts

กรมการแพทย์                                                  255 Engagements, 8 Posts

กรมป่าไม้                                                        236 Engagements, 4 Posts

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม      220 Engagements, 5 Posts

Facebook, Youtube ช่องทางที่ได้รับ Mention และ Engagement สูงสุด

นอกเหนือจากวิธีการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่ทุกคนต้องร่วมกันช่วยแก้ปัญหาแล้ว วิธีการเตรียมตัวรับมือก็สำคัญเช่นเดียวกัน ซึ่งจะเห็นได้จากการรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน DXT360 พบว่าในช่วง 1 – 20 มกราคม 25667 พบว่า มีการกล่าวถึงสินค้าเครื่องฟอกอากาศและหน้ากากอนามัย เป็นจำนวนมากกว่า 1,443 ครั้ง และมีจำนวน Engagement ทั้งสิ้น 81,783 ครั้ง โดยแบ่งออกตามช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

คนไทยกล่าวถึงเครื่องฟอกอากาศและหน้ากากอนามัยบนโซเชียลมีเดียช่องทางไหนมากที่สุด (Channel Mention)

Facebook       80.5%

Youtube         10.3%

X (Twitter)      4.9%

Forum           2.6%

Tiktok            1.1%

Instagram       0.6%

คนไทยเอ็นเกจฯ เครื่องฟอกอากาศและหน้ากากอนามัยบนโซเชียลมีเดียช่องทางไหนมากที่สุด (Channel Engagement)

Facebook       50.1%

YouTube        38.3%

Tiktok            9.7%

Instagram       1.7%

X (Twitter)       0.1%

Forum           0.1%

ช่องทางสำหรับใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องฟอกอากาศ หน้ากากอนามัย หรือสินค้าอื่นๆ จะเห็นได้ว่าช่องทาง Facebook และ YouTube เป็นช่องทางหลักๆที่ได้รับการ Mention หรือได้รับ Engagement สูง ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการโพสต์โปรโมทสินค้า โปรโมชั่น หรือ รีวิวสินค้าต่างๆ

เครื่องฟอกอากาศแบรนด์ไหนถูกกล่าวถึงมากที่สุด (Brand Mention)

Brand Mention.png

Dyson           19.9%

Airdog           13.7%

Xiaomi           10.0%

Thompson      9.1%

Philips           5.9%

Sharp            5.6%

Blueair          5.4%

Coway           4.9%

Smart Air       3.7%

LG               2.7%

อื่นๆ             19.1%

เครื่องฟอกอากาศแบรนด์ไหนได้รับเอ็นเกจเมนต์มากที่สุด (Brand Engagement)

Brand Engagement.png

Coway           20.6%

Xiaomi           14.2%

Dyson           12.8%

Levoit            10.5%

Smart Air       6.9%

Lydsto           6.8%

Thompson      5.6%

LG               4.9%

Bwell             4.3%

TEFAL           4.0%

อื่น ๆ             9.4%

สำหรับแบรนด์เด่นๆ ที่ได้รับจำนวน Mention และ Engagement เป็นจำนวนมากอย่าง Dyson และ Xiaomi ที่มีจุดเด่นที่ชัดเจนแล้วยังมีเทคนิคการตลาดต่างๆ เช่น Dyson Global Connected Air Quality Data project ซึ่งแสดงข้อมูลให้เห็นว่า คุณภาพอากาศภายในอาคารอาจจะแย่กว่าคุณภาพอากาศภายนอกเสียอีก ทำให้ผู้คนตระหนักถึงคุณภาพอากาศภายในอาคารที่สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ไม่ต่างจากอากาศภายนอกอาคาร หรือแบรนด์ Xiaomi ที่มีการโปรโมทและจัดโปรโมชั่นผ่าน Platform Online ต่างๆมากมายเพื่อดึงดูดลูกค้า

นอกเหนือจากแบรนด์ Dyson และ Xiaomi จะเห็นได้ว่าในช่วงที่ประเด็นฝุ่น “PM2.5” กำลังเป็นประเด็นบนโลกโซเชียล แบรนด์เครื่องฟอกอากาศต่าง ๆ เริ่มได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น และมีการโปรโมทผ่าน Influencer และแฟนเพจเป็นจำนวนมาก

ในส่วนของการเก็บข้อมูลจำนวนการกล่าวถึงหน้ากาก N95, KF94, KF80, FFP1, FFP2 บน DXT360 แสดงให้เห็นว่า ยังคงมีจำนวนการกล่าวถึงที่เพิ่มมากขึ้น สอดคล้องตามกราฟจำนวนการกล่าวถึงประเด็น PM2.5 และกราฟแสดงจำนวนค่าเฉลี่ย PM2.5 ในประเทศไทย ทำให้เห็นว่าผู้คนเริ่มให้ความสนใจและต้องการหน้ากากอนามัยเพิ่มสูงขึ้นตามผลกระทบจาก PM2.5 ที่เพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังพบว่าในช่วงที่ผ่านมามีการกล่าวถึงสินค้า “หน้ากากอนามัย” พร้อมช่องทาง E-Commerce ช่องทางต่างๆ เช่น

Mention ผ่าน Shopee 50 ครั้ง ได้รับ Engagement 26,462 ครั้ง

Mention ผ่าน Lazada 33 ครั้ง ได้รับ Engagement 25,875 ครั้ง

Mention ผ่าน Tiktok Shop 30 ครั้ง ได้รับ Engagement 34,010 ครั้ง

นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวถึงช่องทางอื่นๆ อีก เช่น Officemate, Watsons เป็นต้น

     ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีเครื่องฟอกอากาศช่วยกรองอากาศให้สะอาดยิ่งขึ้นเมื่ออยู่ในสถานที่ปิด แต่เมื่อออกไปยังที่โล่งแจ้งเพื่อสุขภาพที่ดีของตนเอง ควรสวมหน้ากากอนามัย N95 และหากเกิดอาการแสบคอ แน่นหน้าอก หายใจติดขัด หรือมีอาการผิดปกติ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรพบแพทย์ทันที

หมายเหตุ  ……………………………………………………………………

ข้อมูลทั้งหมดที่นำมาวิเคราะห์หา Insight รวบรวมผ่าน DXT360 แพลตฟอร์มติดตามข่าวสารและเสียงของผู้บริโภค (Social Listening) ของบริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด (dataxet:infoquest) โดยเก็บข้อมูลระหว่าง 1 ม.ค. – 20 ม.ค. 67

.…………………………………………………………………………………………..

You may also like

คปภ.เดินหน้า! เปิดเวทีสัมมนาวิชาการด้านประกันภัย ประจำปี 2567 “Thailand Insurance Symposium 2024”

 นายชูฉั