วิจัยกรุงศรีเผยวิกฤตยูเครนทำเศรษฐกิจไทยร่วง! จากที่คาดว่าโต 3.7% เหลือ 2.8% ส่งออกเหลือโตแค่ 2.6%

วิจัยกรุงศรีเผยวิกฤตยูเครนทำเศรษฐกิจไทยร่วง! จากที่คาดว่าโต 3.7% เหลือ 2.8% ส่งออกเหลือโตแค่ 2.6%

 

วิจัยกรุงศรีเผยวิกฤตยูเครนทำเศรษฐกิจไทยร่วง!

จากที่คาดว่าโต 3.7% เหลือ 2.8% ส่งออกเหลือโตแค่ 2.6%

            ธปท.ชี้ไทยยังไม่เผชิญ Stagflation ขณะที่วิจัยกรุงศรีปรับลดคาดการณ์ GDP ปีนี้เติบโตเหลือ 2.8% นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธปท. ระบุว่าไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเงินเฟ้อสูง (Stagflation) เพราะจะเกิดภาวะนั้นได้เศรษฐกิจไทยต้องชะลอตัวและเข้าสู่ภาวะถดถอย แต่มองว่าเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มการฟื้นตัวต่อเนื่องแม้ในระยะข้างหน้าอาจชะลอตัวลงบ้างจากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งขึ้นจากราคาน้ำมันซึ่งคาดว่าจะเป็นปัจจัยชั่วคราวและเฉลี่ยทั้งปีมีโอกาสเกินกรอบเงินเฟ้อเป้าหมายที่ 3%

                วิจัยกรุงศรีประเมินในกรณีฐานหากสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนมีการสู้รบยืดเยื้อไปจนถึงไตรมาส 2/2565 ทำให้ชาติตะวันตกใช้มาตรการคว่ำบาตรที่รุนแรงมากขึ้น โดยมีการห้ามนำเข้าสินค้าที่ไม่ใช่พลังงานจากรัสเซียไปจนถึงกลางปีหน้า กระทบการผลิตและการค้าของโลกลดลง ซึ่งจะเชื่อมโยงมาสู่การส่งออก การผลิต และภาคท่องเที่ยวของไทย ล่าสุดวิจัยกรุงศรีจึงปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยในปีนี้มีแนวโน้มเติบโตชะลอลงเหลือ 2.8% จากเดิมคาด 3.7%  โดยปรับลดมูลค่าการส่งออก (รูปดอลลาร์) ขยายตัวอยู่ที่ 2.6% จากเดิมคาด 5% นอกจากนี้ ภาพการส่งออกที่อ่อนแอลง ขณะที่ราคานำเข้าที่พุ่งสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะราคาพลังงาน ประกอบกับรายได้จากการท่องเที่ยวที่ลดลง จึงอาจนำไปสู่การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่องในปีนี้ อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวเร่งขึ้นโดยทั้งปีคาดว่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.8% อาจบั่นทอนกำลังซื้อและทำให้การบริโภคของผู้มีรายได้ในแต่ละกลุ่มฟื้นตัวได้แตกต่างกัน การคาดการณ์อัตราการเติบโตของการบริโภคภาคเอกชนในปีนี้จึงปรับลดลงเหลือ 3.0% จากเดิมคาด 3.8% แม้การใช้จ่ายอาจได้รับแรงหนุนจากการปรับดีขึ้นของรายได้เกษตรกรที่ได้อานิสงส์จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์อยู่บ้างก็ตาม

                ทางการผ่อนคลายมาตรการเปิดประเทศเพิ่มเติม ขณะที่การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวยังเผชิญหลายแรงกดดัน การประชุมของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 (ศบค.) วันที่ 18 มีนาคม ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบปรับระดับพื้นที่ของสถานการณ์การระบาดเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ โดยปรับพื้นที่ควบคุม (สีส้ม) เหลือ 20 จังหวัด (จาก 44 จังหวัด) พื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) เป็น 47 จังหวัด (จาก 25 จังหวัด) พื้นที่สีฟ้า (นำร่องการท่องเที่ยว) เป็น 10 จังหวัด (จาก 8 จังหวัด) นอกจากนี้ ยังมีการผ่อนคลายมาตรการ Test & Go เพิ่มเติม โดยปรับเกณฑ์ไม่ต้องแสดงการตรวจหาเชื้อแบบ RT-PCR ในช่วง 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง แต่ให้ตรวจ RT-PCR ในวันแรกที่เดินทางถึงไทย และตรวจแบบ ATK ในวันที่ 5 ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน

                แม้ทางการไทยจะมีการปรับปรุงมาตรการเพื่ออำนวยความสะดวกและดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างชาติ แต่การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวอาจยังเผชิญแรงกดดันจากหลายปัจจัยลบ อาทิ i) จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงการยกระดับไทยเป็นพื้นที่มีความเสี่ยงสูง (ระดับ 4) จากสหรัฐฯเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคม อาจบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว ii) การสู้รบระหว่างรัสเชีย-ยูเครนที่มีแนวโน้มยืดเยื้อถึงไตรมาส 2 ซึ่งนอกจากจะส่งผลทางตรงต่อนักท่องเที่ยวรัสเซียที่เดินทางมาไทยในช่วงที่เหลือของปีแล้ว ทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอลง ส่งผลกระทบเชิงลบต่อรายได้  ขณะที่วิกฤตราคาพลังงานส่งผลต่อต้นทุนการเดินทางขยับขึ้นทำให้นักท่องเที่ยวอาจชะลอการเดินทางออกไป ล่าสุดวิจัยกรุงศรีปรับลดคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้อยู่ที่ 5.5 ล้านคน จากเดิมคาด 7.5 ล้านคน

You may also like

เปิดตัวดัชนีชี้วัดความปลอดภัยของเด็ก บนโลกออนไลน์ทั้งในระดับชาติและระดับโลก

เปิดตัวด