สุดยอด 5 เทรนด์เทคโนโลยีการศึกษามาแรงในปี 2023

สุดยอด 5 เทรนด์เทคโนโลยีการศึกษามาแรงในปี 2023

สุดยอด 5 เทรนด์เทคโนโลยีการศึกษามาแรงในปี 2023

                เป็นเวลามากกว่าสองปีแล้ว ที่เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 การนำเทคโนโลยีมาใช้แบบเร่งรัดทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ ในวงกว้าง และถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของแนวทางการศึกษาเพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้ในโลกแห่งความเป็นจริง เทคโนโลยีถือว่าเข้ามามีบทบาทสำคัญทำให้การเรียนรู้ที่มีความแตกต่างกันไปแต่ละคน สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่และทุกเวลา  และในขณะที่สถานการณ์ด้านการแพร่ระบาด กำลังคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น  จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ เราได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมาย รวมถึงได้ฝึกจัดระเบียบความสำคัญ และมีโอกาสใหม่ๆ เกิดขึ้นด้วย และวันนี้เราได้นำ 5 สุดยอดเทรนด์เทคโนโลยีการศึกษาที่จะเข้ามากำหนดทิศทางการศึกษาของเอเชียในปี 2023 และปีต่อๆ ไป ซึ่งจะมีการนำมาจัดแสดงในงาน Bett Asia Leadership Summit & Expo ในกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 11-12 ตุลาคม นี้ ณ โรงแรม The Athenee ที่จัดร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทย

 1.         การเรียนรู้แบบไฮบริด/แบบผสมผสาน

                ด้วยการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในช่วงการแพร่ระบาด โรงเรียนและสถาบันการศึกษาได้มีการเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนให้แก่นักเรียน แม้ว่าการเรียนออนไลน์อาจจะไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน เนื่องจากข้อจำกัดด้านอุปกรณ์การเรียนของแต่ละคนที่แตกต่างกัน ซึ่งภายในงาน Bett Asia Leadership Summit & Expo จะมาเผยประโยชน์ของการเรียนรู้แบบผสมผสาน ซึ่งการเรียนรู้แบบนี้ มีความยืดยุ่นและมีประโยชน์อย่างมากในการนำมาใช้ออกแบบการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ โดยสถาบันการศึกษาหลายแห่งมีการใช้เลือกใช้เครื่องมือและแนวการเรียนการสอนที่ใช้ในช่วงการแพร่ระบาด แล้วนำมาปรับใช้ต่อในปัจจุบันแม้สถานการณ์เริ่มคลี่คลายแล้ว

2.          การเรียนรู้เฉพาะบุคคล

                เราทุกคนมีวิธีการเรียนรู้แตกต่างกันไปตามความสนใจ รูปแบบการเรียน และการเข้าถึงทรัพยากร ซึ่งการเรียนรู้ในช่วงการเกิดโรคระบาดใหญ่ ยิ่งช่วยให้ได้เห็นเอกลักษณ์ที่ต่างกันของนักเรียนแต่ละคนได้เป็นอย่างดี และด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ประสบการณ์การเรียนมีความเป็นแบบเฉพาะตัว และเหมาะกับนักเรียนแต่ละคนมากยิ่งขึ้น โดยโรงเรียนและสถาบันการศึกษามีโอกาสที่จะสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ตรงจุดมากขึ้นสำหรับนักเรียนในแง่ของเนื้อหา การสอน และการประเมินการเรียนการสอน ซึ่งการตรวจสอบข้อมูลและติดตามข้อมูลแบบเรียลไทม์ ตลอดจนการวิเคราะห์การเรียนรู้ด้วยซอฟต์แวร์ จะเข้ามาช่วยสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางได้ โดย Starfish Class ประเทศไทย เป็นหนึ่งในเครื่องมือประเมินผลส่วนบุคคล ที่ช่วยให้คุณครูเสริมทักษะ ด้วยการบันทึกผลการเรียนของนักเรียน ที่เป็นประโยชน์ เพื่อนำมาพัฒนาทักษาะความสามารถของนักเรียนได้มากยิ่งขึ้น

3.          Microlearning หรือ Bite-sized learning

                การเรียนรู้จะดีที่สุดถ้าเนื้อหาเป็นเรื่องที่น่าสนใจและกระชับ ซึ่ง “ปริมาณ” ของการเรียนรู้อาจลดลงเมื่อความสนใจหมดลง "ความจริงจัง" ของเนื้อหาและการนำเสนอกำลังเปลี่ยนไปเป็นแบบของ "ความสนุก" มากยิ่งขึ้น คุณครูหลายท่านได้ใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Tik Tok และ YouTube Shorts มาใช้เป็นช่องทางการสอน ในช่วงของการระบาด บริษัทเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยอย่าง Vonder ได้ใช้แนวทางนี้ และนำเสนอแพลตฟอร์ม microlearning ที่นักเรียนสามารถมีส่วนร่วมกับการเรียนได้อย่างรวดเร็วและสนุกสนาน โดยยกตัวอย่างประสบการณ์การเรียนในห้องเรียนที่ต่างจากแบบแผนปกติ แต่ทว่ามีประสิทธิภาพ

4.          เทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึก – Extended Reality (XR)

                Extended Reality (XR) เป็นคำศัพท์ที่ครอบคลุม Virtual Reality (VR), Augmented Reality (AR), Mixed Reality (MR) และเทคโนโลยีเสมือนจริงอื่นๆ ซึ่งสิ่งนี้เข้ามาสร้างโอกาสมากมายในการเรียนรู้ จากการมอบประสบการณ์ “ในชีวิตจริง" โดยไม่จำกัดเวลาและพื้นที่ อย่างเช่น “การเดิน” ในวัดย้อนไปในสมัยอยุธยาน่าจะสนุกและตื่นเต้นมากกว่าการอ่านและท่องจำประวัติศาสตร์จากหนังสือเรียน โดย Extended Reality ยังเสนอสภาพแวดล้อมจำลองสำหรับนักเรียนที่กำลังฝึกในโรงเรียนแพทย์หรือผู้ที่กำลังศึกษาด้านอาชีวศึกษา เป็นต้น อีกหนึ่งตัวอย่างได้แก่  Aniveres Mataverse โครงการที่เกิดจากความร่วมมือระดับประเทศ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยไทยทั้ง 17 แห่งกับกระทรวงอุดมศึกษา ประเทศไทย ในการสร้างเทรนด์นี้ให้เกิดขึ้นในวงกว้าง

5.          การเรียนรู้ตลอดชีวิต/ การได้มาซึ่งทักษะ

                ระบบการศึกษาที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันกำลังวิ่งตามโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หลักสูตรที่มีอยู่ในโรงเรียนอาจจะล้าสมัยได้ไวเมื่อโลกเราเปลี่ยนไปเร็วมาก สิ่งที่นักเรียนจำเป็นต้องเรียนรู้อาจไม่ได้สอนที่โรงเรียน นักเรียนและพนักงานต่างได้รับการคาดหวังให้ฝึกฝนทักษะใหม่ๆ เพื่อรองรับความต้องการของโลกในอนาคต องค์กรระดับโลกอย่าง World Economic Forum กำลังทำงานร่วมกับองค์กรมากกว่า 350 แห่ง เพื่อเสริมทักษะที่ดีขึ้นและพัฒนาด้านการศึกษาให้ผู้คนกว่า 1 พันล้านคน เพื่อปิดช่องว่างด้านทักษะความสามารถ โดยบริษัทเทคโนโลยีการศึกษาหลายแห่งในเอเชียได้มีส่วนร่วมในการจัดการกับปัญหาเฉพาะด้านนี้เช่นกัน

                เราได้เรียนรู้อะไรมากมายในช่วงสองปีที่ผ่านมา โรคระบาดทำให้เราต้องกลับมาทบทวนและจินตนาการถึงวิธีที่เราใช้เรียนรู้และเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต เทคโนโลยีเข้ามาสร้างโอกาสที่ไม่มีที่สิ้นสุด เราทุกคนสามารถเรียนรู้วิธีการพัฒนาการศึกษาและสร้างความหมายสำหรับตัวเราในการเติบโตในโลกเทคโนโลยีที่ท้าทายด้วยกันได้แล้วที่ Bett Asia Leadership Summit & Expo

                หากต้องการลงทะเบียนเข้าร่วมงาน Bett Asia 2022 กรุณาไปที่ https://t.ly/mnSc

You may also like

มาสเตอร์การ์ดเปิดตัว Pay Local เพิ่มช่องทางผู้ให้บริการกระเป๋าเงินดิจิทัลในเอเชีย รับชำระเงินจากผู้ถือบัตรมาสเตอร์การ์ดกว่า 2 พันล้านราย

มาสเตอร์