หัวเว่ยชี้ความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษา คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยพัฒนาบุคลากรชั้นเลิศ

หัวเว่ยชี้ความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษา คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยพัฒนาบุคลากรชั้นเลิศ

หัวเว่ยชี้ความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษา

คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยพัฒนาบุคลากรชั้นเลิศ

                                                          …………………………………….

                แนะให้ยกระดับการพัฒนาบุคลากรชั้นเลิศ โดยอาศัยความท้าทายด้านเทคโนโลยี และการสนับสนุนการแข่งขันด้านเทคโนโลยี ในการประชุมสุดยอดกลุ่มมหาวิทยาลัยห่งเอเชียโดยไทม์ส ไฮเออร์ เอดูเคชัน (Times Higher Education) ซึ่งเปิดฉากขึ้นเมื่อวันที่ 31 พ.ค.

                                                  ……………………………………

              วิลเลียม สฺวี ผู้อำนวยการคณะกรรมการและประธานคณะกรรมการที่ปรึกษานักวิทยาศาสตร์ของหัวเว่ย (Huawei) ได้นำเสนอแนวทางของบริษัทในการประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยด้านนวัตกรรม การวิจัย การบ่มเพาะบุคลากรชั้นเลิศ และการแข่งขันทางเทคโนโลยี โดยคุณสฺวีได้ยกตัวอย่างถึงความสำเร็จที่หัวเว่ยได้รับจากแนวทางเหล่านี้ในระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ทางออนไลน์ในหัวข้อ "ความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรม-สถาบันการศึกษา เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมและบ่มเพาะบุคลากรชั้นเลิศร่วมกัน" (Industry-Academia Collaboration for Joint Innovation and Talent Cultivation)

                ซึ่งสฺวีกล่าวว่า "หัวเว่ยประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เพื่อสร้างแพลตฟอร์มที่เปิดกว้างและเปี่ยมไปด้วยนวัตกรรมสำหรับการวิจัยร่วมกันและการบ่มเพาะบุคลากรชั้นเลิศ โดยอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษาจะทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด 'ความท้าทายสูงสุด' และสร้างนวัตกรรมผ่านการขับเคลื่อนสองปัจจัยด้วยกัน อันได้แก่วิสัยทัศน์และการวิจัยประยุกต์ ความพยายามเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาที่อุตสาหกรรมกำลังเผชิญอยู่ และสร้างความสำเร็จครั้งใหม่ที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม" นอกจากนี้ คุณสฺวียังกล่าวเสริมด้วยว่า เฉพาะในปี 2564 เพียงปีเดียว หัวเว่ยได้ลงทุนไปแล้วกว่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และตั้งใจที่จะเพิ่มการลงทุนเพื่อกระชับความร่วมมือให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นในอนาคต

                เมื่อเจาะลึกถึงแนวทางของหัวเว่ยในการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆนั้น สฺวีอธิบายว่า ขั้นตอนแรกคือการสร้างแพลตฟอร์มที่เปิดกว้างและสร้างสรรค์สำหรับการวิจัยร่วมกันและการบ่มเพาะบุคลากรชั้นเลิศ โดยหัวเว่ยมองว่ามหาวิทยาลัยเปรียบได้กับ "ประภาคาร" ที่ส่องสว่างในอุตสาหกรรมนี้ และต้องการให้มหาวิทยาลัยอุทิศตนเพื่อการวิจัยขั้นพื้นฐาน และจัดการกับความท้าทายในระยะยาวผ่านการประดิษฐ์แบบ "เริ่มจาก 0 ให้เป็น 1" ทั้งนี้ หัวเว่ยมองว่า อุตสาหกรรมเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมที่จะสามารถช่วยเอาชนะความท้าทายด้านอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริงได้ ภายใต้แนวทางของหัวเว่ย มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และธุรกิจต่าง ๆ จะร่วมกันกำหนดนิยามของ "ความท้าทายสูงสุด" เพื่อบรรลุฉันทามติเกี่ยวกับการกำหนดวิสัยทัศน์และความท้าทายของอุตสาหกรรม ตลอดจนการสำรวจเทคโนโลยีแห่งอนาคต อนึ่ง แรงขับเคลื่อนของวิสัยทัศน์และการวิจัยประยุกต์จะพาให้ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาควิชาการได้มีโอกาสมาร่วมกันดำเนินการวิจัยจนเกิดเป็นทฤษฎีพื้นฐานและเทคโนโลยีขั้นสูง ตลอดจนการวิจัยข้ามสาขาวิชา แนวทางความร่วมมือนี้จะช่วยสร้างหลักประกันว่า ทั้งการวิจัยและเหล่าบุคลากรชั้นเลิศจะตามทันเทรนด์การพัฒนาล่าสุดในอุตสาหกรรมได้

                ปัจจุบัน หัวเว่ยทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยกว่า 300 แห่งและสถาบันวิจัยอีกกว่า 900 แห่งทั่วโลก โดยในปี 2564 หัวเว่ยได้ทุ่มเงินลงทุน 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ นอกจากนี้ บริษัทยังเป็นผู้สนับสนุนข้อมูลด้านอุตสาหกรรมในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยและการออกแบบโปรแกรมการศึกษา พร้อมเปิดฝึกอบรมให้กับบุคลากรชั้นเลิศ และการแข่งขันด้านเทคโนโลยี เนื่องจากกิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้อุตสาหกรรมสามารถเฟ้นหาและบ่มเพาะบุคลากรชั้นเลิศได้ในหลายระดับ ในฐานะตัวแทนจากฝั่งอุตสาหกรรม คุณสฺวีได้เสนอ 5 วิธีที่อุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษาจะสามารถทำงานร่วมกันเพื่อกระชับความร่วมมือในเชิงลึก ได้แก่

                (1) เดินหน้าสนับสนุนความก้าวหน้าในการวิจัยและเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน ตลอดจนนวัตกรรมอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง

                (2) ประสานความร่วมมือเพื่อกำหนดและแก้ไขปัญหา พร้อมสร้างความก้าวหน้าเพื่อเอาชนะความท้าทายที่สำคัญของอุตสาหกรรม

                (3) ทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการออกแบบโปรแกรมการศึกษาและหลักสูตรทางวิชาการ พร้อมขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรมและภาควิชาการ เพื่อบ่มเพาะบุคลากรชั้นเลิศซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างเร่งด่วน

                (4) ทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมนวัตกรรม เฟ้นหา และบ่มเพาะบุคลากรชั้นเลิศผ่านการสร้างแพลตฟอร์มต่าง ๆ อาทิ ห้องปฏิบัติการร่วมของหัวเว่ย, การแข่งขันด้านเทคโนโลยี, โครงการชาสปาร์ค (Chaspark), โครงการซีดส์ ฟอร์ เดอะ ฟิวเจอร์ (Seeds for the Future) และโครงการวิจัยหลังจบการศึกษาระดับปริญญาเอก และ

                (5) ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนบุคลากรชั้นเลิศระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านจากภาคทฤษฎีไปสู่ภาคปฏิบัติ

                ปัจจุบัน หัวเว่ยได้เฟ้นหาและบ่มเพาะบรรดาผู้ที่มีความศักยภาพระดับแนวหน้าด้วยการสนับสนุนการแข่งขันด้านเทคโนโลยีระดับนานาชาติ ทั้งในด้านการเงินและโดยการสร้างความท้าทายด้านเทคนิคให้กับการแข่งขันเหล่านี้ ขณะเดียวกัน การแข่งขันเหล่านี้ยังขยายโอกาสให้นักเรียนนักศึกษามีสิทธิ์เข้าร่วมมากขึ้น เพื่อให้พวกเขาได้มีโอกาสนำทฤษฎีที่เรียนรู้มาสู่การปฏิบัติจริง นอกจากนี้ หัวเว่ยยังประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับกระทรวงศึกษาธิการของจีนเพื่อร่วมออกแบบหลักสูตรและโปรแกรมการศึกษา การฝึกอบรมผู้มีความสามารถระดับสูง การฝึกอบรมวิศวกรที่โดดเด่น การสร้างห้องปฏิบัติการแห่งชาติที่สำคัญ การปลดปล่อยความท้าทายในอุตสาหกรรม และการสร้างฐานความร่วมมืออัจฉริยะระหว่างอุตสาหกรรมและมหาวิทยาลัย เพื่อบ่มเพาะเหล่าบุคลากรชั้นเลิศ

 

 

You may also like

TQM ร่วมกับ MSIG ส่งความสุขท้ายปี มอบฟรี “ประกันภัยรถยนต์ตามคน” ขับคันไหนก็คุ้มครอง

TQM ร่วม