เงินบาทอ่อนค่า-หุ้นไทยปิดต่ำกว่าสัปดาห์ก่อน 

เงินบาทอ่อนค่า-หุ้นไทยปิดต่ำกว่าสัปดาห์ก่อน 

เงินบาทอ่อนค่าหุ้นไทยปิดต่ำกว่าสัปดาห์ก่อน 

                                                                …………………………………

                เงินบาทฟื้นตัวขึ้นบางส่วนปลายสัปดาห์ หลังแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 2 เดือนท่ามกลางสัญญาณคุมเข้มของเฟด และแรงขายสุทธิพันธบัตรไทยอย่างหนักของนักลงทุนต่างชาติ

                หุ้นไทยปิดต่ำกว่าสัปดาห์ก่อน ท่ามกลางสถานการณ์โควิดและวิกฤตรัสเซีย-ยูเครนที่ยังไม่คลี่คลาย

                                                                 …………………………………..    

สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท

                เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่า แตะระดับอ่อนค่าสุดรอบกว่า 2 เดือน ก่อนจะฟื้นตัวกลับมาได้บางส่วนปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับสงครามยูเครน-รัสเซียมีสัญญาณตึงเครียดมากขึ้น ขณะที่สหรัฐฯ และกลุ่มนาโตจะตอบโต้รัสเซีย หากรัสเซียมีการโจมตียูเครนด้วยอาวุธเคมีหรืออาวุธชีวภาพ นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ฯ ยังมีแรงหนุนจากการคาดการณ์ว่าเฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 0.25% ในการประชุมเดือนพ.ค. ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดีกรอบการอ่อนค่าของเงินบาทเริ่มจำกัดลงช่วงปลายสัปดาห์ หลังมีแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ซึ่งน่าจะมาจากผู้ส่งออก           

                ในวันศุกร์ (25 มี.ค.) เงินบาทปิดตลาดที่ 33.57 บาทต่อดอลลาร์ฯ (หลังแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 2 เดือนครั้งใหม่ที่ 33.72) เทียบกับระดับ 33.33 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (18 มี.ค.) ขณะที่ระหว่างวันที่ 21-25 มี.ค. นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทยรวม 5.02 พันล้านบาท แต่มีสถานะเป็น NET OUTFLOW ในตลาดพันธบัตร 2.50 หมื่นพันล้านบาท (ขายสุทธิ 1.24 หมื่นล้านบาท และตราสารหนี้หมดอายุ 1.26 หมื่นพันล้านบาท)

                สำหรับสัปดาห์นี้ (28 มี.ค.-1 เม.ย.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 33.30-33.90 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลการประชุม กนง. รายงานเศรษฐกิจการเงินเดือนก.พ. ของธปท. สถานการณ์ยูเครน-รัสเซีย ทิศทางเงินทุนต่างชาติ และแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ ในช่วงปิดไตรมาส ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการว่างงาน ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชน ดัชนี PMI และ ISM ภาคการผลิตเดือนมี.ค. รายได้และการใช้จ่ายส่วนบุคคล และดัชนีราคา PCE Price Index เดือนก.พ. และข้อมูลจีดีพีไตรมาส 4/2564 นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามข้อมูล PMI ภาคการผลิต/ภาคบริการเดือนมี.ค. ของจีนด้วยเช่นกัน

สรุปความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย

                หุ้นไทยเคลื่อนไหวในกรอบแคบตลอดสัปดาห์ ท่ามกลางสถานการณ์โควิด 19 และวิกฤตรัสเซีย-ยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ แม้ในระหว่างสัปดาห์จะมีแรงหนุนจากแรงซื้อของกลุ่มนักลงทุนต่างชาติและตัวเลขส่งออกเดือนก.พ. ของไทยที่ออกมาดีกว่าคาดก็ตาม ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวขึ้นโดดเด่นสุดในสัปดาห์นี้ ขานรับรายงานข่าวความคืบหน้าการควบรวมกิจการของบริษัทด้านการสื่อสาร ในขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคารเผชิญแรงกดดันค่อนข้างมาก หลังจาก S&P ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารพาณิชย์ไทยบางแห่ง               

                ในวันศุกร์ (25 มี.ค.) ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,676.80 จุด ลดลง 0.10% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 70,884.81 ล้านบาท ลดลง 15.97% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 1.22% มาปิดที่ 628.97 จุด    

                สำหรับสัปดาห์นี้(28 มี.ค.-1 เม.ย.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,670 และ 1,660 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,685 และ 1,700 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ การประชุมกนง. สถานการณ์โควิด-19 ทิศทางเงินทุนต่างชาติ สถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครนรวมถึงการทำ Window Dressing ช่วงปลายไตรมาส ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/64 รายได้และรายจ่ายส่วนบุคคล ดัชนี PCE/Core PCE Price Index เดือนก.พ. ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการว่างงาน ดัชนี PMI เดือนมี.ค. ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ ดัชนี PMI เดือนมี.ค. ของจีน ญี่ปุ่นและยูโรโซน รวมถึงดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมี.ค.(เบื้องต้น) ของยูโรโซน

You may also like

คปภ.เดินหน้า! เปิดเวทีสัมมนาวิชาการด้านประกันภัย ประจำปี 2567 “Thailand Insurance Symposium 2024”

 นายชูฉั