“เบตง”ขับเคลื่อนแก้หนี้-สร้างรายได้-ลดเหลื่อมล้ำ
คณะกรรมการธิการแก้ไขปํญหาหนี้สิน ความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ ลงพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา รับฟังแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สิน ความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในพื้นที่
ณ ห้องประชุมด่านศุลกากรเบตง อ.เบตง จ.ยะลา นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ ประธานคณะคณะกรรมการธิการแก้ไขปํญหาหนี้สิน ความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ เป็นประธานการประชุม การสร้างรายได้เพื่อลดปัญหาหนี้สิน ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมศึกษาดูงาน ในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา โดยมีส่วนราชการในพื้นที่ให้การต้อนรับ
นายบุญชัย เลี้ยงภิรมย์ภักดี ปลัดอำเภอเบตง กล่าวว่า สำหรับปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดหนี้สินภาคครัวเรือน ในพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างเขตเมืองกับนอกเขตเมืองสิ่งที่พบเห็น คือ คุณภาพชีวิตประชาชนแตกต่างกัน เกิดความยากจน ด้วยสาเหตุหลักคือ อาชีพ ในพื้นที่ แบ่งเป็น อาชีพทำการเกษตร เช่นทำสวนยาง ไม้ผล เลี้ยงสัตว์ ปัญหาที่พบ ส่วนหนึ่งไม่มีที่ดินทำกินของตนเอง เป็นลูกจ้าง และอาชีพนอกภาคเกษตร เป็นลูกจ้างทำงานตามโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ หรือภาคการท่องเที่ยวและภาคการบริการ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร สถานบริการ คาราโอเกะ เป็นต้น รายได้ที่ได้รับไม่เพียงพอต่อการครองชีพของพื้นที่อำเภอเบตงในภาวะปัจจุบัน ส่วนความเป็นอยู่ด้านที่อยู่อาศัย พบปัญหาความไม่มั่นคง ขาดงบในการซ่อม สร้าง ที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐ ให้การสนับสนุนวัสดุในลักษณะซ่อม ครัวเรือนมีบุตรหลายคน ส่งผลต่อรายได้-จ่ายในครัวเรือน ทำให้ด้านการศึกษา มีครัวเรือนที่มีรายได้ไม่เพียงพอ
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการมีรายได้ของประชาชนในพื้นที่ เช่น ภูมิอากาศของพื้นที่ เกิดฝน บางปีฝนมาก หรือฝนทิ้งช่วงนานส่งผลต่อการประกอบอาชีพ ส่วนภาคเกษตรของประชาชน ราคาสินค้าผลผลิตการเกษตร ส่งผลต่อรายได้ของประชาชน ค่าครองชีพในพื้นที่สูง เนื่องจากขนส่งของเข้าสู่เบตง ใช้เส้นทางสาย 410 ยะลา-เบตง ใช้ ระยะเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงกว่า ทำให้ราคาของเพื่ออุปโภคบริโภคที่นำเข้ามีราคาสูง ส่งผลต่อการใช้จ่ายภาคครัวเรือน มีไม่เพียงพอ โดยเฉพาะกลุ่มลูกจ้าง/ครัวเรือนยากจน รายได้ไม่เพียงพอทำให้ภาคครัวเรือนเกิดการกู้เงิน ทั้งในระบบ-นอกระบบ โดยในระบบ ส่วนใหญ่กู้ผ่านจากธนาคาร ทั้งเรื่องกู้สร้างที่อยู่อาศัย ส่วนหนี้นอกระบบส่วนใหญ่ กู้ใช้จ่ายในครัวเรือน ผ่านบุคคลที่รู้จัก หรือญาติพี่น้อง
ส่วนแนวทางส่งเสริมการมีรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่ แยกเป็น 2 มิติ ได้แก่
1.มิติภาคเกษตร .การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เพื่อรองรับการผลิตและการขนส่งภาคการเกษตร เช่น ถนน ปัจจัยการผลิตที่จำเป็นที่ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากและศักยภาพของประชาชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้มีชีวิตที่ยั่งยืน เช่น น้อมนำ ขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น กิจกรรมการเกษตรผสมผสานเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร กิจกรรมผลิตไม้ดอกไม้ประดับเสริมสร้างรายได้ กิจกรรมด้านปศุสัตว์ ประมง ฯลฯ และสนับสนุนให้ประชาชนพึ่งพาตนเอง เช่น ปลูกผักลดรายได้ เพิ่มรายได้ , รวมกลุ่มจัดตั้ง วิสาหกิจอาชีพ เช่น กลุ่มผลิตไม้ดอกเมืองหนาว กลุ่มกองทุนยางพารา กลุ่มอาชีพ
2.มิติท่องเที่ยวและบริการ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ปรับภูมิทัศน์ และสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องน้ำ ร้านจำหน่ายสินค้า ร้านอาหาร เพื่อรองรับการขยายตัวการท่องเที่ยว และเชื่อมโยงการท่องเที่ยว กับอำเภออื่น ๆ ภายในจังหวัดยะลา พร้อม.ส่งเสริมและพัฒนาสินค้าและการบริการ เช่น ผลิตภัณฑ์ชุมชน
Social Links