เปิดมุมมอง“อินฟลูเอนเซอร์”
ปัจจุบัน-อนาคต และการตลาด
ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ผลสำรวจล่าสุดจากวีโร่ เผยข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ผล สิ่งที่ควรปรับปรุงและทิศทางของการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ในปี 2568
การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายาวนาน แต่กลยุทธ์การทำการตลาดของแต่ละแบรนด์นั้นล้วนแตกต่างกันไป วีโร่ (Vero) บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำด้านการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ และการตลาดดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเพิ่งได้รับรางวัล Influencer Marketing Agency of the Year จาก Campaign Asia ได้สำรวจความเป็นไปของอินฟลูเอนเซอร์ในยุคปัจจุบันและแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในปี 2568
ล่าสุด วีโร่ ได้เปิดตัวเอกสารไวท์เปเปอร์ฉบับใหม่ในหัวข้อ “ผลกระทบ การมีส่วนร่วม และอนาคตของการตลาดอินฟลูเอนเซอร์: มุมมองจากอินฟลูเอนเซอร์ (“Impact, Engagement, and the Future of Influencer Marketing: Insights from Influencers”)” ซึ่งนำเสนอผลสำรวจจากอินฟลูเอนเซอร์เกือบ 150 คนในอินโดนีเซีย ไทย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม โดยครอบคลุมช่วงอายุ ประสบการณ์ กลุ่มเนื้อหา และฐานผู้ติดตาม ผลสำรวจนี้เผยข้อมูลเชิงลึกที่แบรนด์ควรรู้เกี่ยวกับแรงจูงใจและความต้องการของอินฟลูเอนเซอร์ในปัจจุบัน รวมถึงวิธีการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพในปี 2568 และอนาคต
คุณอุมาพร วิทเทเกอร์-ทอมป์สัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการลูกค้า และหัวหน้าแผนก Influence ของวีโร่ เผยว่า “ในโลกดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การวิจัยอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญเพื่อก้าวล้ำหน้ากระแส และปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ผลสำรวจของเราฉบับนี้ สำรวจทั้งสภาพปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงที่คาดหวัง และการปรับกลยุทธ์ของอินฟลูเอนเซอร์ในภูมิภาค เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างแบรนด์และอินฟลูเอนเซอร์”
เนื่องจากการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ยังคงเติบโตและซับซ้อนยิ่งขึ้น ด้วย 72% ของอินฟลูเอนเซอร์ที่สำรวจลงเห็นว่า ความต้องการเนื้อหาสปอนเซอร์เพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในปีหน้า เอกสารไวท์เปเปอร์นี้จึงเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแบรนด์และอินฟลูเอนเซอร์ โดยไม่ทำลายความไว้วางใจระหว่างอินฟลูเอนเซอร์กับผู้ติดตาม
ข้อมูลสำคัญจากการสำรวจของวีโร่ มีดังนี้
ในสนามโลกดิจิทัลที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน การเล่าเรื่องคือสิ่งที่ทำให้เหล่าอินฟลูเอนเซอร์โดดเด่น 78% ของอินฟลูเอนเซอร์ที่เข้าร่วมการสำรวจใช้ Instagram ในขณะที่ 82% ใช้ TikTok เป็นแพลตฟอร์มหลักหรือรองสำหรับคอนเทนต์ของพวกเขา เมื่อแพลตฟอร์มเหล่านี้เต็มไปด้วยผู้ใช้ที่แข่งขันกันอย่างเข้มข้น การเล่าเรื่องที่สามารถดึงดูดและเชื่อมโยงกับผู้ชมได้คือสิ่งที่ทำให้พวกเขาโดดเด่น โดย 34% ของอินฟลูเอนเซอร์เชื่อว่าการเล่าเรื่องคือส่วนสำคัญที่สุดของงานนี้ โดยเฉพาะในหมู่ผู้ตอบจากไทย (43%) และฟิลิปปินส์ (41%) ข้อความสั้นๆ หรือแบบทดสอบได้รับการจัดอันดับเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับอินฟลูเอนเซอร์จากอินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม (15%) และฟิลิปปินส์ ในขณะที่อินฟลูเอนเซอร์ไทยเน้นเนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้น (User-Generated Content: UGC) เป็นอีกหนึ่งรูปแบบคอนเทนต์ที่สำคัญสำหรับการมีส่วนร่วมของผู้ชม
ความเป็นตัวของตัวเองคือสกุลเงินหลักของอินฟลูเอนเซอร์ มากกว่าครึ่งหนึ่ง (58%) ของอินฟลูเอนเซอร์จากการสำรวจของวีโร่ ให้ความสำคัญกับการรักษาสไตล์ส่วนตัวในขณะที่ทำเนื้อหาตรงตามประเด็นสื่อสาร หลักที่แบรนด์ต้องการนำเสนอ พวกเขาทุ่มเทเพื่อให้ทุกโพสต์ยังคงสอดคล้องกับตัวตนของพวกเขา โดย 37% จะเลือกปฏิเสธข้อเสนอในการร่วมมือเมื่อพบว่าอุดมการณ์และค่านิยมไม่ตรงกัน สิ่งที่น่าสังเกตคือ 38% ยังคงพร้อมที่จะเสนอมุมมองใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของแบรนด์ การเปิดใจและการสนทนาที่ดีสามารถช่วยให้แคมเปญแต่ละรายการได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ติดตามของอินฟลูเอนเซอร์ และรักษาความเป็นตัวของตัวเองไว้ได้
อินฟลูเอนเซอร์ต้องการอิสรภาพทางความคิด ควรปล่อยให้พวกเขาได้ทำตามใจ การขาดอิสรภาพทางความคิดคือความท้าทายหลักที่ 29% ของอินฟลูเอนเซอร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เผชิญ โดยตัวเลขนี้สูงถึง 37% ในประเทศไทย อิสรภาพในการแสดงออกไม่ใช่แค่สิทธิในการแสดงความคิดเห็นเท่านั้น ซึ่งสำหรับแบรนด์ นี่ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีสำหรับธุรกิจ นอกจากนี้ ความคาดหวังที่ไม่คำนึงถึงความเป็นจริง (20%) คือความท้าทายที่พบบ่อยเป็นอันดับสอง และยังเป็นความท้าทายหลักสำหรับชาวสิงคโปร์ที่ 29% ในฟิลิปปินส์ (30%) เวียดนาม (23%) สิงคโปร์ (19%) และอินโดนีเซีย (19%) อินฟลูเอนเซอร์ยังได้รับผลกระทบจากการชำระเงินที่ล่าช้า ความท้าทายเหล่านี้เป็นสัญญาณชัดเจนสำหรับแบรนด์ที่ต้องการปรับปรุงความสัมพันธ์กับอินฟลูเอนเซอร์ แต่ข่าวดีคือ อินฟลูเอนเซอร์ยินดีที่จะหาทางออก โดย 69% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า การสื่อสารที่เปิดเผยกับแบรนด์มักช่วยเสริมสร้างความรู้สึกว่าตนเองมีค่าและภักดีต่อแบรนด์มากขึ้น และ 38% พร้อมที่จะเสนอทางเลือกเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นได้
ในการร่วมงานกับแบรนด์ ความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนคือสิ่งสำคัญที่สุด แม้ว่าการได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้นจะเป็นสิ่งที่อินฟลูเอนเซอร์ส่วนใหญ่ปรารถนา โดยเฉพาะในสิงคโปร์ (31%) และอินโดนีเซีย (30%) แต่หลายคนยังให้ความสำคัญกับโอกาสในการร่วมงานระยะยาวกับแบรนด์ ซึ่งในประเทศไทย (32%) เวียดนาม (28%) และฟิลิปปินส์ (26%) ตัวเลขนี้สูงขึ้น และสะท้อนถึงความต้องการของอินฟลูเอนเซอร์ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับแบรนด์ ในขณะที่อินฟลูเอนเซอร์ในเวียดนาม (28%) และสิงคโปร์ (23%) ยังมองว่า การได้รับเชิญไปงานและทริปของแบรนด์เป็นตัวกระตุ้นสำคัญในการร่วมงาน ทั้งนี้ การส่งเสริมความสัมพันธ์ระยะยาวกับอินฟลูเอนเซอร์สามารถช่วยเสริมสร้างความเป็นตัวของตัวเองและรักษาประเด็นสื่อสารหลักแบรนด์ให้สอดคล้องกันได้ในระยะยาว
อินฟลูเอนเซอร์มักคอยจับตามองคอมมูนิตี้ ความเป็นตัวของตัวเอง การขายของออนไลน์ผ่านโลกโซเชียล และ AI ในปี 2568 การสร้างคอมมูนิตี้ที่มีแพสชั่นผ่านกิจกรรมที่จัดโดยอินฟลูเอนเซอร์ (28%) และการร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์คนอื่นๆ (23%) จะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับอินฟลูเอนเซอร์ในปีต่อๆ ไป รวมถึงการเน้นความเป็นตัวของตัวเอง (28%) หลายคนยังจับตามองการเพิ่มขึ้นของปัญญาประดิษฐ์ (36%) และการขายของออนไลน์ผ่านโลกโซเชียล (33%) ในภูมิภาคนี้ รวมไปถึงการจับตามองว่ามันจะมีผลกระทบต่อการตลาดของอินฟลูเอนเซอร์อย่างไร แบรนด์ในวันนี้มีโอกาสที่จะเป็นผู้นำในการกำหนดทิศทางของแนวโน้มเหล่านี้ได้ในอนาคต
ทุกความร่วมมือระหว่างอินฟลูเอนเซอร์และแบรนด์เริ่มต้นด้วยการหาคู่ที่เหมาะสม การหาคู่ที่เหมาะสมระหว่างอินฟลูเอนเซอร์และแบรนด์คือขั้นตอนแรกในการสร้าความสัมพันธ์ที่เป็นธรรมชาติและเป็นประโยชน์ร่วมกัน และเมื่อการแข่งขันเพิ่มขึ้น การเริ่มต้นแคมเปญการตลาดของอินฟลูเอนเซอร์ให้ถูกต้องจึงมีความสำคัญมากกว่าที่เคย เพื่อให้มั่นใจว่ามีการจับคู่ที่เหมาะสม วีโร่ได้สร้าง TrueVibe ซึ่งเป็นโซลูชันที่ใช้ข้อมูลในการทำการตลาดกับอินฟลูเอนเซอร์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของ InFluent ซึ่งเป็นวิธีการและโซลูชันที่วีโร่สร้างขึ้นเอง โดย TrueVibe จะให้คะแนนอินฟลูเอนเซอร์ตามหกเกณฑ์ ได้แก่ การเข้าถึง (Reach) ความสนใจ (Interests) การมีส่วนร่วม (Engagement) คุณภาพเนื้อหา (Content Quality) อำนาจ (Authority) และค่านิยม (Values)
“ในประเทศไทย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียมีการตอบสนองกับอินฟลูเอนเซอร์ที่พวกเขาชื่นชอบอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าตลาดอื่นๆ ซึ่งทำให้เกิดความนิยมของเนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้นเป็นอย่างมาก” คุณรฉัตร พวงเพ็ชร ผู้จัดการอสวุโสฝ่ายผู้ทรงอิทธิพลทางความคิด ของวีโร่ กล่าวเมื่อพูดถึงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ในบริบทท้องถิ่น
“สิ่งนี้ย้ำถึงคุณค่าของการสร้างเนื้อหาที่ร่วมมือกัน ซึ่งสร้างทั้งความรู้สึกเป็นส่วนตัวและการมีส่วนร่วมร่วมกัน ที่อินฟลูเอนเซอร์สามารถสร้างการสนทนาและเปลี่ยนแคมเปญให้กลายเป็นกิจกรรมที่ขับเคลื่อนโดยคอมมูนิตี้ได้อย่างแท้จริง”
เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ดิจิทัลที่รวดเร็ว แบรนด์และอินฟลูเอนเซอร์จำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นและปรับตัวต่อแนวโน้มใหม่ๆ รวมถึงมีการอัปเดตแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญคือต้องยึดมั่นในค่านิยมหลักของทั้งอินฟลูเอนเซอร์และแบรนด์เพื่อให้มั่นใจในความเป็นตัวของตัวเองและความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับผู้ชม สามารถอ่านการศึกษาฉบับเต็มได้ที่เว็บไซต์วีโร่
เกี่ยวกับ วีโร่
วีโร่ เป็นบริษัทที่ปรึกษาผู้ให้บริการด้านการสื่อสารชั้นนำที่ได้รับรางวัลเอเจนซี่ด้านประชาสัมพันธ์แห่งปี โดยให้คำปรึกษาแก่แบรนด์ชั้นนำระดับโลก รวมถึงองค์กรธุรกิจต่าง ๆ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วีโร่ ได้รับการรับรอง B Corp ในสำนักงานทุกแห่ง และยังเป็นผู้ลงนามในคำมั่นสัญญา Clean Creative ตั้งแต่ปี 2565 วีโร่ใช้แนวทางการประชาสัมพันธ์และการตลาดที่มีความคิดก้าวหน้า โดยมุ่งมั่นที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายสำหรับลูกค้าและสังคมโดยรวม
วีโร่มีสำนักงานประจำอยู่ในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม โดยยังคงมีการทำงานร่วมกับพันธมิตรในเมียนมา มีทีมงานกว่า 260 คน ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านประชาสัมพันธ์ โซเชียล ดิจิทัล อินฟลูเอนเซอร์ และครีเอทีฟ โดยทีมงานของวีโร่ ล้วนนำมุมมองที่เป็นเอกลักษณ์มาสู่การดำเนินงานแบบ Earned Media โดยให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีดิจิทัล การเล่าเรื่องอย่างสร้างสรรค์ และการร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ในการสนับสนุนเรื่องราวของความก้าวหน้า ซึ่งรวมถึงหน่วยงานใหม่ล่าสุดของวีโร่ ได้แก่ Vero IQ ซึ่งเจาะข้อมูลเชิงลึก (insights) ที่ขับเคลื่อนด้วยดาต้า นอกจากนี้ ยังมีทีม Vero Xperience ที่อุทิศตนเพื่อกำหนดนิยามใหม่ให้กับกิจกรรมของแบรนด์ในภูมิภาค และ Vero Advocacy ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มุ่งเน้นการให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์กับภาครัฐ
วีโร่ ออกแบบและพัฒนากลยุทธ์ด้านการตลาดและการสื่อสารแบบครบวงจร ที่สอดคล้องกับระบบนิเวศดิจิทัลทั่วทั้งภูมิภาคและตลาดประเทศต่าง ๆ ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
วีโร่ ติดอันดับหนึ่งใน 250 อันดับเอเจนซี่ระดับโลกโดย PRovoke Media และเป็นผู้ชนะรางวัลที่ปรึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งปีหลายรางวัล รวมถึงรางวัล 2024 Influencer Marketing Agency of the Year จาก Campaign Asia โดยวีโร่ได้ออกแบบกลยุทธ์การตลาดและการสื่อสารแบบบูรณาการ ที่สะท้อนทั้งภายในและทั่วทั้งระบบนิเวศดิจิทัลของภูมิภาคที่มีชีวิตชีวาและเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วนี้
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://vero-asean.com/
Social Links