เศรษฐกิจโลกโงหัว ส่งออกไทยฟื้น คาดปี 64 โตฉิว 7%

เศรษฐกิจโลกโงหัว ส่งออกไทยฟื้น คาดปี 64 โตฉิว 7%

เศรษฐกิจโลกโงหัว ส่งออกไทยฟื้น

คาดปี 64 โตฉิว 7%

                 จากรายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทยถึงตัวเลขการส่งออกในเดือนมี.ค.64 ซึ่งพบว่าเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธ ยุทธปัจจัย ขยายตัวได้ถึงร้อยละ 8.47 YoY สอดคล้องกับตัวเลขการส่งออกในภูมิภาคที่เติบโตดี ซึ่งสะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มดีกว่าคาดการณ์ การเติบโตที่แข็งแกร่งของตัวเลขส่งออกในเดือนมี.ค.ช่วยหนุนให้ในไตรมาสแรกของปีการส่งออกของไทยพลิกกลับมาเติบโตได้ที่ร้อยละ 2.27 YoY

                การควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด รวมถึงอัตราการฉีดวัคซีนในบางประเทศที่มีความคืบหน้ามาก ส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจบางประเทศมีแนวโน้มดีกว่าคาดซึ่งเป็นปัจจัยหนุนสำคัญต่อตัวเลขส่งออกของไทย โดยในเดือนมี.ค. การส่งออกไปสหภาพยุโรป (15) ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากอยู่ที่ร้อยละ 32 จากที่ขยายตัวร้อยละ 0.2 ในเดือนก.พ. ซึ่งสินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ สินค้าประเภทคอมพิวเตอร์ฯ รถยนต์และส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น ด้านตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวได้ต่อเนื่อง 10 เดือนติดต่อกัน โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัวดี ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น ส่วนญี่ปุ่นยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน ได้รับปัจจัยหนุนจากสินค้าประเภทรถยนต์ส่วนประกอบและผลิตภัณฑ์ยาง ขณะที่การส่งออกไปในตลาดโซนเอเชียฟื้นตัวได้ดี นำโดยการส่งออกไปมาเลเซียที่ขยายตัวได้ถึงร้อยละ 70.6 และจีนที่ขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ร้อยละ 35.4 รวมถึงการส่งออกไปประเทศใน CLMV สามารถพลิกกลับมาเป็นบวกได้ที่ร้อยละ 2.0

                ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นต่อการส่งออกในปี 2564 โดยปรับประมาณการเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 7.0 จากร้อยละ 4.5 จากปัจจัยหนุนหลักยังคงเป็นเรื่องของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศคู่ค้าสำคัญที่เร็วกว่าคาดการณ์ ประกอบกับมีการชดเชยอุปสงค์ที่ค้างจากช่วงก่อนหน้า (pent-up demand) ทั้งนี้ เมื่อมองไปในระยะข้างหน้าอัตราการฉีดวัคซีนที่เร็วกว่าคาดในประเทศพัฒนาแล้ว นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีออกมาต่อเนื่องรวมถึงนโยบายการเงินยังมีแนวโน้มผ่อนคลายจะยังคงส่งผลบวกต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้การส่งออกไทยจะยังมีทิศทางเติบโตได้ดีต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามการส่งออกของไทยยังคงเผชิญความเสี่ยงอีกหลายปัจจัย เช่น การระบาดของ             โควิด-19 ในบางประเทศที่จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันยังเพิ่มขึ้น ประสิทธิผลและความเชื่อมั่นของวัคซีน รวมถึงความเสี่ยงในเรื่องของการขาดแคลนตู้สินค้า และค่าระวางเรือที่มีแนวโน้มที่สูงขึ้นยังคงมีอยู่

 

You may also like

“เฉลิมชัย-ประชาธิปัตย์“ห่วงปัญหาเหลื่อมล้ำ จัดเวทีนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจเดโมแครต ฟอรั่ม” ขจัดการผูกขาด: ลดเหลื่อมล้ำแก้จน”

“เ