เอเซีย พลัส”ชี้กลยุทธ์การลงทุน สค.64 หุ้นไทย 25% ลงทุน ตปท.35% ตราสารหนี้ 15%

เอเซีย พลัส”ชี้กลยุทธ์การลงทุน สค.64 หุ้นไทย 25% ลงทุน ตปท.35% ตราสารหนี้ 15%

เอเซีย พลัส”ชี้กลยุทธ์การลงทุน สค.64

หุ้นไทย 25% ลงทุน ตปท.35% ตราสารหนี้ 15%

หุ้นไทย

                ความกังวลจากการแพร่ระบาด COVID-19 ที่เร่งตัวขึ้นในหลายพื้นที่ ทำให้เกิด Downside ทั้งประมาณการ GDP Growth และกำไรบริษัทจดทะเบียนในปีนี้ ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯแนะนำลดน้ำหนักหุ้นไทยลง 5% เหลือ 25% (Underweight) ขณะที่กลยุทธ์เน้นหุ้นงบ 2Q64 เติบโตดี พร้อมกับมีการจ่ายปันผลระหว่างกาลสูง (MCS, TVO, SAPPE, SAT) หรือได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ระลอกใหม่ค่อนข้างจำกัด (GPSC, JMART, DOHOME)

การลงทุนต่างประเทศ

                แม้สถานการณ์ COVID-19 ทั่วโลกกลับมาสร้างความกังวลหลังสายพันธ์ Delta ระบาดในหลายประเทศ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ประเทศพัฒนาแล้วมีการฉีด Vaccine ในสัดส่วนประชากรที่สูง จึงส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจน้อยกว่าประเทศที่มีการฉีด Vaccine ในสัดส่วนประชากรต่ำกว่า ฝ่ายวิจัยฯ คงน้ำหนักหุ้นต่างประเทศไว้ที่ 35% ของพอร์ตการลงทุน (Overweight) กลยุทธ์เน้นหุ้นพื้นฐานดีในแถบประเทศพัฒนาแล้ว อย่าง Facebook Inc (FB US) และ United Health (UNH US)

ตราสารหนี้

                นักลงทุนยังอยู่ในช่วง Wait & See เพื่อรอดูการมุมมองการปรับ QE ของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จึงแนะนำยังคงน้ำหนักตราสารหนี้ไว้ 15% ของพอร์ตรวม (Underweight) เน้นตราสารหนี้ที่ มี Rating ระดับ Investment Grade ขึ้นไป Top picks คือ WHAUP267A

กลยุทธ์การลงทุน

                ในเดือน ส.ค. น่าจะการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างเกิดขึ้น ให้นักลงทุนต้องคอยระวังอยู่เสมอ และในปีนี้ก็เช่นกัน เริ่มจาก 1) อาจเห็นการส่งสัญญาณเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของ Fed จากการประชุมช่วงกลางเดือน หรือการประชุม Jackson Hole ช่วงปลายเดือน กดดันให้นักลงทุนน่าจะอยู่ในสภาวะ Wait and See เพื่อรอการส่งสัญญาณของ Fed ที่ชัดเจนขึ้น 2) บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นฝั่งเอเซียยังผันผวนจากความไม่แน่นอน ถ้าทางการจีนยังเพิ่มความเข้มงวดการกำกับดูแลธุรกิจ 3) โควิดสายพันธเดลต้าแพร่ระบาดหนักในไทย โดยช่วงปลายเดือน ก.ค. มีตัวเลขผู้ติดเชื้อสูงถึง 1.7 หมื่นราย/วัน และถ้าเทียบต่อสัดส่วนประชากร ยังสูงสุดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สร้าง Downside ทางเศรษฐกิจทั้งในมุมมองสำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจในไทยที่เคยคาดว่า GDP ไทยปี 2564 จะขยายตัวเฉลี่ยราว 2% เริ่มทยอยปรับลดประมาณการลงมาเหลือเฉลี่ยราว 1% (ASPS ประเมืน GDP64F มีโอกาสติดลบ) รวมถึงมุมมองต่างชาติอย่าง IMF ก็ปรับลด GDP64F ไทยลงเช่นกัน ล่าสุดเหลือ 2.1% โดยทั้ง 3 ปัจจัยที่มากระจุกตัวรวมกันในเดือนส.ค. ล้วนกดดัน Fund Flow ต่างชาติยังมีโอกาสไหลออกจากตลาด หุ้นไทยต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 หรือขายสุทธิทุกเดือนในปีนี้ และเดือน ส.ค. ยังเป็นฤดูกาลรายงานงบ 2Q64 เบื้องต้นฝ่ายวิจัยฯ ประเมินจากข้อมูลการทำ Earning Preview 48 บริษัท พบว่า กำไรสุทธิรวมเพิ่มขึ้นถึง 67%yoy แต่ลดลง -5%qoq แสดงว่า มีโอกาสที่ผลประกอบการยังดี แต่น่าจะผ่านจุดสูงสุดในงวด 1Q64 ไปแล้ว แม้ส่วนใหญ่บริษัททำผลประกอบการงวด 2Q64 ดี และเติบโต yoy แต่นักลงทุนจะต้องระวังกับดักงบ 2Q64 เนื่องจากช่วงเดือน ส.ค. น่าจะมีการทยอยปรับลดประมาณการลงหลายบริษัท จากความเสี่ยง Covid-19 กลับมาระบาดแรงในช่วงนี้ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนัก คือ กลุ่มท่องเที่ยว, ขนส่ง, รับเหมาฯ, บันเทิง และศูนย์การค้า และที่สำคัญคือ มุมมองของ Bloomberg Consensus

                ยังแทบไม่มีการใส่ผลกระทบ Covid-19 ระลอกใหม่เข้าไปเลย ล่าสุดมี EPS64F ทรงตัวอยู่ระดับสูง 83.5 บาท/หุ้น (สูงกว่าที่ฝ่ายวิจัย ASPS ประเมิน 71.2 บาท/หุ้น มาก) โดยเบื้องต้นฝ่ายวิจัย ASPS ลองประเมินผลกระทบ Covid-19 ระลอกใหม่ว่าสร้าง Downside ต่อดัชนีราวกี่จุด โดยการกำหนดให้กำไรช่วง 2H64 = กำไรงวด 2Q63+3Q63 พบว่า ประมาณการกำไรทั้งปีมี Downside ราว 6-7 หมื่นล้านบาท คิดเป็น EPS64F ลดลงราว 6 บาท/หุ้น หรือส่งผลให้ดัชนีเป้าหมายมีโอกาสลดลงได้ถึง 140 จุด ภายใต้ความเสี่ยงต่างๆ ในเดือน ส.ค. กดดันให้การลงทุนจำเป็นต้องกระชับพอร์ต แนะนำถือเงินสดราว 20-30% ส่วนกลยุทธ์การลงทุนแนะนำเลือกหุ้นงบ 2Q64 เติบโตดี พร้อมกับมีปันผลสูง (MCS, TVO, SAPPE, SAT) หรือได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ระลอกใหม่ค่อนข้างจำกัด (GPSC, JMART, DOHOME)

 

You may also like

“มนพร”สั่งการวิทยุการบินฯ ยกระดับความปลอดภัยรันเวย์ที่ 3 เร่งพัฒนาเทคโนโลยี รองรับเที่ยวบินเติบโต

“มนพร”สั