“เอเซีย พลัส”วิเคราะห์กลยุทธลงทุน พย. เผยวัฏจักรความกลัวเริ่มอ่อนแรง-เงินเฟ้อขาลง ฟันธง ศก.ไทยเด่นกว่าหลายประเทศ

“เอเซีย พลัส”วิเคราะห์กลยุทธลงทุน พย. เผยวัฏจักรความกลัวเริ่มอ่อนแรง-เงินเฟ้อขาลง ฟันธง ศก.ไทยเด่นกว่าหลายประเทศ

เอเซีย พลัส”วิเคราะห์กลยุทธลงทุน พย.

เผยวัฏจักรความกลัวเริ่มอ่อนแรง-เงินเฟ้อขาลง

ฟันธง ศก.ไทยเด่นกว่าหลายประเทศ

                บล.เอเซีย พลัส ออกบทวิเคราะห์กลยุทธ์ลงทุน ระบุว่า วัฎจักรความกลัวค่อยๆ อ่อนแรง และตลาดการเงินโลกดูดซับไว้ในราคาหุ้นมากระดับหนึ่งแล้ว เริ่มจาก

                1) เงินเฟ้อขาลงชัดเจน ทั้งในสหรัฐฯ และไทย ซึ่งเงินสหรัฐเดือน ก.ย. 8.2% ชะลอลงติดต่อกัน 3 เดือน และฝ่ายวิจัยคาดมีแนวโน้มลดลงจนอยู่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ตลาดคาด 5.0% ในกลางปีหน้า เช่นเดียวกับเงินเฟ้อไทยที่ธปท. คาดจะเข้าสู่กรอบเป้าหมาย 1-3% ในปีหน้า

                2) ดอกเบี้ยเริ่มเข้าใกล้จุดที่เหมาะสม แม้ตลาดคาด Fed จะขึ้นดอกเบี้ย 0.75% มาอยู่ที่ 4% ใน เดือนพ.ย. แต่ในปีหน้ากรอบบนการขึ้นดอกเบี้ยถูกจำกัดอยู่ที่ระดับ 5% เห็นได้ว่าระดับการขยับขึ้นค่อนข้างจำกัด

                3) แม้มีความกังวล Recession ในสหรัฐฯ แต่ไทยยังห่างไกลสะท้อนได้จากการเกิด Inverted Yield Curve ของ Bond 10 ปี และ 2 ปีของสหรัฐที่ยาวนาน แตกต่างกันกับ Bond Yield ไทยที่ยังเป็นลักษณะ Upward Slope คือ Bond Yield 10 ปี ยังสูงกว่า 2 ปี ถึง 1.3%

                เศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มฟื้นเด่นกว่าหลายประเทศ ดังนี้  

                1) สภาพัฒน์ฯ คาดเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ขยายตัวราว 3% แสดงว่าในช่วง 2H65 น่าจะเห็นการเติบโตของ GDP ในอัตรา 3.6%YoY (สูงกว่า 1Q65 และ 2Q65 ที่ 2.3% และ 2.5% ตามลำดับ) และปี 2566 โตต่อเนื่องอีก 3.7% สวนทางกับเศรษฐกิจโลกที่ IMF คาดโตเพียง 2.7%

                2) คาดดุลบัญชีเดินสะพัดมีสัญญาณการขาดดุลลดลง ทั้งจากดุลการค้าดีขึ้นจากการนำเข้าต้นทุนพลังงานที่ราคาเริ่มลดลงในช่วง 2-3 เดือนนี้ และดุลบริการปรับตัวดีขึ้นจากภาคการท่องเที่ยว หลังหลายประเทศผ่อนคลายมาตรการเดินทางข้ามพื้นที่

                3) ช่วงที่เหลือของปี คาดหวังแพ็คเกจใหญ่กระตุ้นเศรษฐกิจจากทางภาครัฐ อาทิ คนละครึ่งเฟส 6, ช้อปช่วยชาติ เป็นต้น

                4) เป็นปีที่ไทยเป็นเจ้าภาพงานประชุม APEC 2022 หวังเป็นโอกาสสำคัญที่จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ

                ในมุม Valuation ตลาดหุ้นไทยยังดูน่าสนใจ และอยู่ใน Zone สะสมหุ้น ทั้งในมุม P/E 17 เท่ากว่าๆ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 19.5 เท่า และ PBV ต่ำเพียง 1.5 เท่า ลงมาในบริเวณใกล้กับ -1SD ที่ 1.66 เท่า ซึ่งในอดีตเคยเป็นแนวรับสำคัญพลิกเปลี่ยนแนวโน้มเป็นขาขึ้นในช่วงต้นปี 2559 พร้อมกับแรงกดดันต่างๆ ที่ตลาดหุ้นซึมซับไปในระดับหนึ่งแล้ว น่าจะเป็นจังหวะในการเข้าสะสมหุ้นอีกครั้งได้

                โดยฝ่ายวิจัยฯ คงเป้าหมายปลายปีที่ 1730 จุด ขณะที่ Fund Flow ต่างชาติเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่สามารถกำหนดทิศทางของตลาดหุ้นไทย สะท้อนได้จากข้อมูลปีนี้ ในวันที่ต่างชาติซื้อสุทธิ SET ปรับตัวขึ้นเฉลี่ยต่อวัน 0.3% (มีโอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวก 80%) ส่วนช่วงเวลาที่เหลือของปี ฝ่ายวิจัยฯ ยังเชื่อว่า Fund Flow ยังมีโอกาสไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อ ทั้งจากสัดส่วนการถือครองทางตรงระดับต่ำไม่ถึง 22% พร้อมกับปัจจัยลบเริ่มคลาย เศรษฐกิจไทยเดินหน้าเร็วกว่าประเทศพัฒนาแล้ว ล้วนเป็น แรงจูงใจในการเข้าลงทุนที่ดี ส่วนหุ้นเด่นเดือนพ.ย. แนะนำหุ้นธีม Domestic Consumption หลีกเลี่ยงความผันผวนจากปัจจัยภายนอก บวกกับผลประกอบการทยอยฟื้นตัวในงวด 4Q65 ต่อเนื่องปี 2566 อย่าง CBG, CRC, CK, BBL, PLANB, GULF, SCGP

 

 

You may also like

TQM ร่วมกับ MSIG ส่งความสุขท้ายปี มอบฟรี “ประกันภัยรถยนต์ตามคน” ขับคันไหนก็คุ้มครอง

TQM ร่วม