“เอเซีย พลัส”สรุปกลยุทธ์การลงทุนเดือนพฤษภาคม
หุ้นไทย
มาตรการเยียวยาและการกระจายวัคซีน COVID-19 คาดช่วยให้เศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง อีกทั้งมีสภาพคล่องส่วนเกินคอยพยุงตลาดฯ อีกแรง ดังนั้น คงน้ำหนักหุ้นไทยไว้ที่ 35% (มากกว่าตลาดฯ) กลยุทธ์เลือกหุ้นฟื้นตัวเด่น ทั้งในปีนี้ และไตรมาส 1 อย่าง SCC, PTTGC, MTC, ASK MCS รวมถึงหุ้นที่มีเกราะป้องกัน COVID-19 หนุนด้วยปัจจัยบวกเฉพาะตัว ADVANC, AS
การลงทุนต่างประเทศ
แม้สถานการณ์ระบาดของ COVID-19 ยังดูน่ากังวล อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้าวัคซีนที่มีการกระจายตัวในหลายประเทศ ถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อเศรษฐกิจในอนาคต โดยฝ่ายวิจัยฯ เพิ่มน้ำหนักหุ้นต่างประเทศอีก 5% เป็น 35% ของพอร์ตการลงทุน (น้อยกว่าตลาดฯ) กลยุทธ์เน้นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว อย่าง JPMorgan (JPM US) และ Travel Services (AWAY US)
ตราสารหนี้
เศรษฐกิจโลกมีสัญญาณผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว ขณะที่ทิศทางอัตราดอกเบี้ยโลกเริ่มทรงตัวและมี Downside จำกัดนับจากนี้ ดังนั้นจึงคงน้ำหนักตราสารหนี้ไว้ 15% ของพอร์ตรวม (น้อยกว่าตลาดฯ) เน้นตราสารหนี้ที่ Duration เฉลี่ยไม่เกิน 5 ปี และมี Rating ระดับ Investment Grade ขึ้นไป Top picks คือ WHA264B และ BAM264A
กลยุทธ์การลงทุน
มาตรการภาครัฐที่ออกมาป้องกันการแพร่ระบาด บวกกับเยียวยาผลกระทบ หนุนสถานการณ์ระบาด Covid-19 คลายตัวลง และน่าจะเห็นได้ชัดเจนขึ้นหลังมีการกระจายตัวของ Vaccine ในวงกว้างตามการร่วมมือของทางภาครัฐและเอกชน ช่วง 2H64 ขณะที่ประเทศหัวเรือหลักทางเศรษฐกิจโลก สหรัฐฯ จีน ยุโรป สามารถรับมือ COVID-19 รอบนี้ได้ดี ส่งผลเศรษฐกิจไทยมี Downside จำกัด
สภาพคล่องในระบบการเงินที่มีอยู่จำนวนมาก ยังมีปัจจัยสนับสนุนให้ไหลเข้าหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นในตลาดหุ้นไทย คือ 1) เห็น Momentum ของการ Search For Yield จากมูลค่าซื้อขายหุ้นต่อวันที่อยู่ในระดับสูงราว 1 แสนล้านบาท พร้อมกับการเร่งตัวของการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นใหม่มากกว่า 2 แสนบัญชีต่อเดือน 2) ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง ดีราคาและหุ้น Community ที่เป็นสัดส่วนกำไรหลักในหุ้นไทยถึง 1 ใน 3 รวมทั้งนักลงทุนยังมีโอกาสได้ Fx Gain จากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่ม 3) กระแสการขึ้นภาษีนิติบุคคลฝั่งสหรัฐฯ น่าจะหนุนให้ Fund Flow ไหลเข้าตลาดหุ้นเอเชียรวมถึงไทยมากขึ้น ดังนั้นการที่ SET Index ย่อตัวลงมาน่าจะเป็นโอกาสในการสะสม
มุมมองกำไรบริษัทจดทะเบียนงวด 1Q64 ฝ่ายวิจัยฯ คาดว่าสดใส และไม่น่าผิดหวังเหมือนกับในอดีต หนุนให้เกิดการลงทุนเพิ่มมากกว่าขายทำกำไรเพื่อลดความเสี่ยง เนื่องจากฐานกำไรไตรมาสแรกของปีที่แล้วต่ำสุดในรอบ 12 ปี เพียง 9.1 หมื่นล้านบาทเท่านั้น บวกกับเบื้องต้นนักวิเคราะห์พื้นฐาน ASPS ได้ทำ Earning Preview 1Q64 รวมถึง Real Sector ทยอยประกาศออกมาดีกว่าคาด น่าจะหนุนให้กำไรงวด 1Q64 ยืนระดับ 2 แสนล้านบาทได้ จนทำให้นักวิเคราะห์อยู่ระหว่างทบทวนปรับเพิ่มประมาณการทั้งปีหลายบริษัท ทั้งสภาพคล่องส่วนเกิน บวกกับปัจจัยบวกที่หลากหลายเกือบทุกกลุ่มฯ พร้อมกับแนวโน้มกำไรบริษัทจดทะเบียนปี 2564 คาดฟื้นตัวเด่นกว่า 32% อีกทั้งปลายเดือน เม.ย. 2564 มักจะมีแรงเข้ามาเก็งกำไรในหุ้นปันผลเสมอ โดยทั้งหมดทั้งมวลทำให้ทาง ASPS มีมุมมองตลาดหุ้นไทยเดือน เม.ย. มีโอกาส Outperform ได้ตามสถิติในอดีตย้อนหลัง 10 ปี ที่ปรับตัวขึ้น เฉลี่ยสูงสุดเมื่อเทียบกับเดือนอื่นๆที่ 3.1% โดย ASPS วางเป้าหมายดัชนีปี 2564 ที่ 1670 จุด
เช่นเดียวกับทาง Consensus ที่ปรับ EPS64F ตลาดขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ 81.15 บาท/หุ้น (นับตั้งแต่ต้นปีเพิ่มขึ้นมา 5 บาท/หุ้น) ฝ่ายวิจัยฯ เองอยู่ระหว่างทบทวนและปรับประมาณการขึ้นเช่นกัน หนุนดัชนีเป้าหมายมีโอกาสปรับขึ้นจากเดิมที่ 1670 จุด โดยล่าสุดมีกำไรบริษัทจดทะเบียนอยู่ที่ 8.2 แสนล้านบาท และ EPS64F ขยับขึ้นเหนือ 72 บาท/หุ้น เติบโตเกิน 32% (กระบวนการปรับจะเสร็จสมบูรณ์หลังประกาศงบ 1Q64 จบช่วงกลาง พ.ค.64) ซึ่งในอดีตปีไหนที่กำไรบริษัทจดทะเบียนเติบโตเกิน 30% SET Index มีโอกาสปรับตัวขึ้นเกิน 20% และหากพิจารณาความถูกแพงของ SET Index ณ ปัจจุบัน ที่ 1600 จุด มีการซื้อขายบน Market Earning Yield Cap ที่ระดับ 4% คิดเป็นระดับ Percentile ที่ 53% หรือยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ระดับ 3.90% แสดงว่าดัชนียังอยู่ในระดับที่น่าลงทุน
กลยุทธ์เดือน พ.ค. 64 แนะนำ 7 หุ้นมีโอกาส Outperform ตลาดสูง คือ SCC, PTTGC, MTC, ASK, MCS กำไรฟื้นเด่นในปีนี้ รวมถึงงวด 1Q64 และ ADVANC, AS เป็นหุ้นช่วยลดความผันผวนจากปัญหา COVID-19
Social Links