เอเซีย พลัส”สรุปกลยุทธ์การลงทุน มิย. การกระจายวัคซีนยังเป็นโจทย์ใหญ่

เอเซีย พลัส”สรุปกลยุทธ์การลงทุน มิย. การกระจายวัคซีนยังเป็นโจทย์ใหญ่

เอเซีย พลัส”สรุปกลยุทธ์การลงทุน มิย.

การกระจายวัคซีนยังเป็นโจทย์ใหญ่

หุ้นไทย

                การกระจายวัคซีนอย่างเป็นเชิงรุกมากขึ้น บวกกับแผนที่จะนำเข้าวัคซีนชนิดอื่นๆ ในเร็ววัน เชื่อว่าจะจำกัด Downside ต่อตลาดหุ้นไทยในระยะถัดไป ขณะที่สภาพคล่องสวนเกินยังมีโอกาสไหลเข้า ตลาดหุ้นไทยหากปัจจัยลบดังกล่าวคลี่คลายลง ดังนั้น คงน้ำหนักหุ้นไทยไว้ที่ 35% (Overweight) กลยุทธ์เลือกหุ้นเปิดเมืองราคา Laggard และมีแนวโน้มการเติบโตชัดเจนขึ้นในช่วงที่เหลือของปี  AOT, BDMS, MAJOR, MINT, MTC, STEC, SAT

การลงทุนต่างประเทศ

                แม้สถานการณ์ระบาดของ COVID-19 ยังดูน่ากังวล อย่างไรก็ตามความคืบหน้าวัคซีนที่มีการกระจายตัวในหลายประเทศ ถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อเศรษฐกิจในอนาคต โดยฝ่ายวิจัยฯ คงน้ำหนักหุ้นต่างประเทศไว้ที่ 35% ของพอร์ตการลงทุน (Overweight) กลยุทธ์เน้นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่าง JPMorgan (JPM US) และ Airbnb (ABNB US)

ตราสารหนี้

                เศรษฐกิจโลกมีสัญญาณฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น หลังการเดินหน้าฉีดวัคซีน COVID-19 ช่วยให้นโยบายการเงินที่ปัจจุบันอยู่ในระดับผ่อนคลายมากเริ่มมีความจำเป็นลดลง ดังนั้นจึงคงน้ำหนักตราสารหนี้ไว้ 15% ของพอร์ตรวม (Underweight) เน้นตราสารหนี้ที่มี Rating ระดับ Investment Grade ขึ้นไป Top picks คือ MQDC222A และ TUC27NA

กลยุทธ์การลงทุน

                ภาพรวมผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกเริ่มลดน้อยลง แม้จะมีกระจุกตัวอยู่บ้างในแถบทวีปเอเชีย แต่ตัวเลขก็เริ่มทรงตัวไม่ได้เร่งตัวขึ้นอย่างมีนัยฯ ส่วนประเทศไทยในเดือน มิ.ย. คาดมีการกระจายวัคซีนล็อตใหญ่กว่าที่ผ่านๆ มา หนุนด้วยวัคซีน Astrazeneca เพิ่มเข้ามากว่า 6 ล้านโดส ซึ่งรัฐบาลคาดว่าจะมีการฉีดวัคซีนได้ 12% ของประชากรภายในสิ้นเดือน โดยเน้นการกระจายไปในพื้นที่เสี่ยง และพื้นที่เศรษฐกิจขนาดใหญ่ก่อน ส่วนผลกระทบ COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ฝ่ายวิจัยฯ ปรับลด GDP Growth ปี 2564 เหลือ 1.7% ขณะเดียวกันรัฐบาลเล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการกู้เงิน พรก. ฉุกเฉินเพิ่มอีก 5 แสนล้านบาท พร้อมกับเพิ่มมาตการฟื้นฟูเศรษฐกิจตลอดช่วงที่เหลือของปี

            แนวโน้มของ Fund Flow ทั้งผลกระทบ COVID-19 ระลอกที่ี 3 รวมถึง MSCI ปรับลดน้ำหนักดัชนีหุ้นไทยยังกดดันให้ Fund Flow ไหลออกในเดือน พ.ค. สูงถึง 3.3 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตามทิศทาง Fund Flow ในเดือน มิ.ย. มีแนวโน้มดูดีขึ้นหลังกองทุนไทยและต่างประเทศปรับพอร์ตตาม MSCI เสร็จสิ้น (1 สัปดาห์ให้หลังหุ้นมักขึ้นแรง 3 – 7%) รวมถึงการกระจายวัคซีนที่เร่งตัวขึ้น ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่จะผลักดันให้ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อเทียบเคียงกับตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว ในเดือน มี.ค. พบว่า มีผู้คนในประเทศดังกล่าวได้รับวัคซีนเร่งขึ้น 2 เท่าจากเดือนก่อนหนุนการกระจายวัคซีนผ่านสัดส่วน 10% ขึ้นไปถึง 28% ของประชากร ณ สิ้นเดือน เม.ย. ขณะที่ตลาดหุ้นในประเทศพัฒนาแล้ว (MSCI World) ตอบสนองเชิงบวก และปรับตัวขึ้นแรงถึง 10% ในช่วงเวลาเดียวกัน

                ส่วนมุมมองกำไรบริษัทจดทะเบียน ในงวด 1Q64 ที่ผ่านมา (ดีกว่าตลาดคาดมาก โดยมีกำไรสูงถึง 2.62 แสนล้านบาท หลักๆ ได้แรงหนุนมาจากหุ้นในกลุ่ม Commodity ที่ีฟื้นตัวตามภาพรวมเศรษฐกิจโลก และหนุนฝ่ายวิจัยฯ ทยอยปรับประมาณการกำไรปี 2564 ขึ้นเป็น 8.05 แสนล้านบาท (EPS64F 71.2 บาท/หุ้น)และมีการเติบโตสูงถึง 34% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งในอดีตปีไหนที่กำไรบริษัทจดทะเบียนเติบโตเกิน 30% SET Index มีโอกาสปรับตัวขึ้นเกิน 20% และหากพิจารณาความถูกแพงของ SET Index ณ ปัจจุบัน ที่ 1,600 จุด มีการซื้อขายบน Market Earning Yield Cap ที่ระดับ 4% ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ระดับ 3.90% แสดงว่าดัชนียังอยู่ในระดับที่น่าลงทุนและหวังขึ้นไปทดสอบดัชนีเป้าหมายที่ 1,670 จุด

                หุ้นเด่นประจำเดือน มิ.ย. 64 แนะนำหุ้นเปิดเมือง ราคา Laggard และมีแนวโน้มการเติบโตชัดเจนขึ้นในช่วงที่เหลือของปี AOT, BDMS, MAJOR, MINT, MTC, STEC, SAT น่าจะ Outperform ได้ดี เช่นเดียวกับหุ้น Commodity ในช่วงที่ผ่านมา

 

 

 

You may also like

“เฉลิมชัย-ประชาธิปัตย์“ห่วงปัญหาเหลื่อมล้ำ จัดเวทีนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจเดโมแครต ฟอรั่ม” ขจัดการผูกขาด: ลดเหลื่อมล้ำแก้จน”

“เ