“เอเซีย พลัส” รุกหนัก! บริการลงทุนตลาดหุ้นจีน A-Share ผ่านออนไลน์ Global Invest ครอบคลุมบริษัทจดทะเบียนกว่า 700 ตัว ทั้งเซี่ยงไฮ้-เซินเจิ้น  

“เอเซีย พลัส” รุกหนัก! บริการลงทุนตลาดหุ้นจีน A-Share ผ่านออนไลน์ Global Invest ครอบคลุมบริษัทจดทะเบียนกว่า 700 ตัว ทั้งเซี่ยงไฮ้-เซินเจิ้น  

“เอเซีย พลัส” รุกหนัก!

บริการลงทุนตลาดหุ้นจีน A-Share ผ่านออนไลน์ Global Invest

ครอบคลุมบริษัทจดทะเบียนกว่า 700 ตัว ทั้งเซี่ยงไฮ้เซินเจิ้น  

                บล.เอเซีย พลัส รุกหน้าเปิดบริการลงทุนตลาดหุ้นจีน A-Share ผ่านระบบออนไลน์ Global Invest แล้ววันนี้ ครอบคลุมการลงทุนในบริษัทจดทะเบียนประเทศจีนแผ่นดินใหญ่กว่า 700 ตัว ทั้งในตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้และตลาดหุ้นเซินเจิ้น เพิ่มโอกาสเข้าถึงการลงทุนให้กับนักลงทุนได้ง่ายๆ สะดวกสบายเพียงปลายนิ้ว ทำให้ปัจจุบันระบบออนไลน์ Global Invest ของ เอเซีย พลัส มีบริการลงทุนออนไลน์ในหุ้นต่างประเทศชั้นนำครอบคลุมหุ้นหลายหมื่นตัว ทั้งในสหรัฐฯ ยุโรป 10 ประเทศ ฮ่องกง และจีน

                คุณรัชต์ โสดสถิตย์ กรรมการบริหาร บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า แม้ในช่วงนี้จะมีกระแสกดดันราคาหุ้นจีนอยู่บ้างจากประเด็นความตึงเครียดไต้หวัน-จีน-สหรัฐฯ แต่อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์หลายสำนัก มองว่าประเด็นนี้เป็นเพียงปัจจัยกดดันระยะสั้นเท่านั้น และส่วนใหญ่ยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นจีนอยู่ ซึ่งในช่วงระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมาตลาดหุ้นจีนนั้นสามารถสร้างผลตอบแทนได้เหนือตลาดหุ้นทั่วโลก โดยดัชนี MSCI World ที่ปรับลงราว -0.4% ในขณะที่ดัชนี CSI 300 สามรถปรับขึ้นมาราว 6.1% เลยทีเดียว โดยได้รับแรงหนุนจากนักลงทุนที่มีมุมมองเชิงบวกมากขึ้น

                ในช่วงปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นจีนเผชิญกับมรสุมรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาจากภายในประเทศ เช่น นโยบาย Zero-COVID ที่กระทบห่วงโซ่อุปทานเป็นวงกว้างและวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ ยังได้รับแรงกดดันจากภายนอกประเทศด้วย อาทิ ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และประเด็นการถูกถอดถอนจากตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ส่งผลให้ตลาดหุ้นจีนซบเซาในช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นจีนเริ่มส่งสัญญาณที่คลี่คลายขึ้น รัฐบาลมีการลดความเข้มงวดในการควบคุมโรค COVID-19 และเริ่มส่งสัญญาณลดแรงกดดันในการควบคุมอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้สามารถเติบโตบรรลุเป้าหมายปีนี้ที่ 5.5%

                โดยได้ออกมาตรการเร่งกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ เช่น การลดภาษีและการแจกคูปอง ซึ่งนอกจากจะช่วยกระตุ้นการฟื้นฟูของเศรษฐกิจแล้ว อีกแง่หนึ่งเป็นการส่งเสริมนโยบายเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน (Common Prosperity) ของรัฐบาลจีนที่ต้องการขยายการบริโภคภายในประเทศมากขึ้นด้วย ทั้งนี้ ภาคการบริโภคเริ่มส่งสัญญาณที่ฟื้นตัวอย่างเป็นนัยยะหลังเมืองใหญ่อย่างเซินเจิ้นและเซี่ยงไฮ้คลายล็อกดาวน์ สะท้อนผ่านตัวเลขยอดค้าปลีกเดือนมิ.ย. ที่มีการขยายตัวเหนือคาดที่ 3.1% YoY และเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว -6.7% YoY

                นอกจากการบริโภคทั่วไปแล้ว รัฐบาลจีนยังดำเนินตามแผนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาวด้วย โดยมุ่งผลักดันอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตระยะยาวเพื่อรักษาเสถียรภาพและความยั่งยืนภายในประเทศ โดยอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่รัฐบาลจีนมุ่งพัฒนา โดยมีการตั้งเป้าชัดเจนในการลดการปล่อยคาร์บอนให้เหลือ 0 ภายในปี 2060 จึงได้มีการเร่งผลักดันให้ประชากรชาวจีนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าผ่านการลดภาษีอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้า อีกทั้งยังได้ร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านพลังงานสะอาดเช่นกัน

                และหนึ่งทางเลือกในการลงทุนทั้งเทรนด์การบริโภคของประชากรจีนและเทรนด์พลังงานสะอาด ซึ่งคาดว่าจะได้รับอานิสงส์จากการที่ภาครัฐให้การสนับสนุนก็คือการลงทุนผ่านบริษัทจดทะเบียนในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่หรือ A-Share เนื่องจากสัดส่วนหุ้นจีน A-Share ในดัชนีหลักอย่าง CSI 300 ที่ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมบริโภคและพลังงานสะอาดนั้นอยู่ที่ 15% และ 6% ตามลำดับ และอีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือ 6 ใน 10 อันดับบริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดในดัชนี CSI 300 นั้นเป็นบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมบริโภคและพลังงานสะอาด ไม่ว่าจะเป็น Kweichow Moutai  Longi Green Energy และ BYD เป็นต้น

 

You may also like

4NOLOGUE ผนึก Poriin เล่นใหญ่ ปล่อยคอนเสิร์ตแห่งปี “FROSTY VILLAGE” ชวนแฟนๆจอยปาร์ตี้สนุกสุดขั้ว  

4NOLOGUE