‘โลกหนึ่งเดียว สุขภาพหนึ่งเดียว‘
จำเป็นที่ผู้มีส่วนได้เสียหลักต้องทำงานร่วมกัน
ด้านสุขภาพมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
รายงานฉบับใหม่จากเจพีเอ เฮลธ์ (JPA Health) ชื่อว่า “โลกหนึ่งเดียว สุขภาพหนึ่งเดียว: สำรวจความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม” (One World, One Health: Exploring the Connectability between Human, Animal and Environmental Health) เผยปัญหาที่น่ากังวลเกี่ยวกับการขาดการสื่อสารและการทำงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ทรงอิทธิพลระดับโลกในด้านสุขภาพมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) ซึ่งสนับสนุนโดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (Centers for Disease Control and Prevention) ตระหนักถึงความจำเป็นของการทำงานร่วมกันมากขึ้นระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในด้านสุขภาพมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม หลักการสุขภาพหนึ่งเดียวยังสะท้อนอยู่ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ทั้งการยุติความหิวโหย (เป้าหมายที่ 2) สุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดี (เป้าหมายที่ 3) น้ำสะอาดและสุขาภิบาล (เป้าหมายที่ 6) ระบบนิเวศชีวิตใต้น้ำ (เป้าหมายที่ 14) และระบบนิเวศชีวิตบนบก (เป้าหมายที่ 15)
“เราหวังว่าการวิเคราะห์นี้จะเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยจุดประกายให้เกิดการสนทนาและการลงมือทำงานร่วมกันที่สร้างแรงบันดาลใจสู่อนาคตที่มีการโอบรับสุขภาพหนึ่งเดียวเป็นรากฐานของการจัดการกับความท้าทายด้านสุขภาพที่ซับซ้อนในยุคสมัยของเรา” ศาสตราจารย์ ดร. ไมเคิล แลร์มอร์ (Michael Lairmore) สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต ศาสตราจารย์พิศิษฐ์ (กิตติคุณ) และอดีตคณบดี มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส (UC Davis) ผู้มีส่วนร่วมในรายงานฉบับนี้ กล่าว
เพื่อสร้างรายงานฉบับนี้ มีการใช้เครื่องมือมุมมองเชิงลึกของเจพีเอ เฮลธ์ อย่างเกรเทล (GRETEL®) เพื่อประเมินความเชื่อมโยงและอิทธิพลระหว่างองค์กรและปัจเจกบุคคล (โดยใช้การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมเป็นตัวแปรแทน) ข้อค้นพบที่สำคัญมีดังนี้
การสนทนาว่าด้วยสุขภาพหนึ่งเดียวเกิดขึ้นในฟองอากาศเฉพาะกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเด็นว่าด้วยสุขภาพหนึ่งเดียวพูดคุยเฉพาะกับฝ่ายของตนเอง และไม่ได้มีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญในภาคส่วนสุขภาพสัตว์ มนุษย์ และสิ่งแวดล้อม
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านสภาพภูมิอากาศและการอนุรักษ์แทบจะขาดหายไปจากการสนทนาและปฏิสัมพันธ์ว่าด้วยสุขภาพหนึ่งเดียว ขณะที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายหลักสองกลุ่ม ได้แก่ด้านสุขภาพสัตว์และสุขภาพมนุษย์ มีส่วนร่วมในการหารือว่าด้วยสุขภาพหนึ่งเดียว (คะแนนความเชื่อมโยง 2.76 และ 1.44 ตามลำดับ) แต่ยังมีการมีส่วนร่วมน้อยจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านสภาพภูมิอากาศและการอนุรักษ์ในการสนทนาและปฏิสัมพันธ์ว่าด้วยสุขภาพหนึ่งเดียว (คะแนนความเชื่อมโยง 0.21 และ 0.33 ตามลำดับ)
ผู้ออกนโยบายขาดการเชื่อมโยงกับแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว ในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่ทรงอำนาจและทรงอิทธิพลสูงสุด ผู้ออกนโยบายโดยทั่วไปขาดการเชื่อมโยงกับการสนทนาว่าด้วยสุขภาพหนึ่งเดียว (คะแนนความเชื่อมโยง 0.11)
เพื่อสร้างข้อค้นพบเหล่านี้ เจพีเอ เฮลธ์ ใช้ ‘คะแนนความเชื่อมโยง’ (Connectability Score) และการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประเมินประสิทธิผลของการสร้างความเชื่อมโยงทางสังคมและการเผยแพร่ประเด็นสื่อสารโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ โดยคะแนนความเชื่อมโยง 1.0 คะแนนขึ้นไปหมายถึงแนวโน้มที่สูงกว่าสำหรับการเผยแพร่ประเด็นสื่อสารในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม การได้คะแนน 2.0 คะแนนขึ้นไปเป็นที่พึงประสงค์สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดของการเข้าถึงประเด็นสื่อสารและความตระหนักรู้โดยรวม
“เราพัฒนารายงานนี้ขึ้นเพื่อเน้นย้ำความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย รวมถึงซีอีโอและผู้บริหารระดับสูง เพื่อที่จะชูความสำคัญของแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียว และทำงานอย่างมีความมุ่งหมายมากขึ้นเพื่อปกป้องสุขภาพของทั้งคนและสัตว์ ตลอดจนความยั่งยืนในระยะยาวของโลกของเรา” คุณแคร์รี โจนส์ (Carrie Jones) ซีอีโอของเจพีเอ เฮลธ์ กล่าว “เราสนับสนุนให้ผู้นำธุรกิจสร้างแบบอย่าง ชูการสื่อสารข้ามภาคส่วน ประกอบกับยึดถือความมุ่งมั่นร่วมกันสู่โลกที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น สิ่งนี้มิใช่เพียงภาระหน้าที่ทางศีลธรรมเท่านั้น แต่เป็นความจำเป็นเชิงกลยุทธ์สำหรับความสำเร็จทางธุรกิจที่ยั่งยืนในระยะยาว”
ช่องว่างในการสนทนาว่าด้วยสุขภาพหนึ่งเดียว ซึ่งบ่งชี้โดยการวิเคราะห์ของเจพีเอ เฮลธ์ สามารถจัดการได้ในหลายวิธี ตัวอย่างเช่น นโยบายระดับรัฐบาลกลาง รัฐ และท้องถิ่นที่มีการบูรณาการและยกระดับ แคมเปญการสื่อสารแบบมุ่งเป้า ความร่วมมือข้ามภาคส่วนที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และความพยายามส่งเสริมความหลากหลาย ความเสมอภาค และความครอบคลุมทั่วถึงที่จริงจังมากขึ้น
…………………………..
แนวทาง
เจพีเอ เฮลธ์ ใช้เครื่องมือมุมมองเชิงลึกขับเคลื่อนด้วยเอไอซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ขององค์กร ได้แก่เกรเทล (GRETEL®) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเครือข่ายทางสังคมระหว่างเดือนสิงหาคม 2565 ถึงเดือนกรกฎาคม 2566 การวิเคราะห์ดังกล่าวนี้เผยให้เห็นมุมมองเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) รวมถึงคุณภาพของการสื่อสารระหว่างภาคส่วนด้านสุขภาพมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ขณะที่โครงการริเริ่มสุขภาพหนึ่งเดียวมีผลกระทบระดับโลก รายงานนี้ชี้ว่าผู้เล่นรายหลักในวงการสุขภาพ การแพทย์ และวิทยาศาสตร์ยังไม่มีการสนทนาว่าด้วยสุขภาพหนึ่งเดียวที่ดำเนินต่อเนื่องในเชิงลึก อีกทั้งยังฉายให้เห็นการสื่อสารที่จำกัดระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านั้น โดยเน้นย้ำความจำเป็นเร่งด่วนของการทำงานร่วมกันที่ดีขึ้นเพื่อจัดการกับความท้าทายด้านสุขภาพระดับโลกที่ซับซ้อน
เกี่ยวกับเจพีเอ เฮลธ์
เจพีเอ เฮลธ์ (JPA Health) เป็นหน่วยงานอิสระที่ได้รับรางวัล ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2550 มีสำนักงานในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร โดยให้บริการเต็มรูปแบบในด้านการตลาด ประชาสัมพันธ์ และการรณรงค์ เมื่อไม่นานมานี้ เจพีเอ เฮลธ์ ได้รับรางวัลหน่วยงานแห่งปี (Agency of the Year) ประจำปี 2566 ของพีอาร์เดลี (PR Daily) บริษัทเป็นผู้นำในภาคสุขภาพสำหรับการทำงานที่ได้รับรางวัลในการออกแบบแคมเปญรณรงค์ด้านสุขภาพที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและมอบผลลัพธ์ที่วัดประเมินได้ ทีมงานเจพีเอ เฮลธ์ มีใจรักในการช่วยให้ผู้คนมีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพยิ่งขึ้น ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.jpa.com
Social Links