กรุงศรีคาดเงินบาทซื้อขายในกรอบ 33.35-33.85 ติดตามผลประชุม กนง.

กรุงศรีคาดเงินบาทซื้อขายในกรอบ 33.35-33.85 ติดตามผลประชุม กนง.

กรุงศรีคาดเงินบาทซื้อขายในกรอบ 33.35-33.85

ติดตามผลประชุม กนง.

 กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 33.35-33.85 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดอ่อนค่าเล็กน้อยที่ 33.63 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในช่วง 33.53-33.82 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทแกว่งตัวออกด้านข้าง เงินดอลลาร์ปรับตัวไร้ทิศทางเมื่อเทียบกับสกุลเงินสำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเดือนมกราคมของสหรัฐฯพุ่งขึ้นเกินคาดที่ 3.3% และประธานาธิบดี ทรัมป์ยังคงกดดันเรื่องมาตรการภาษีสินค้านำเข้าต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ค่าเงินดอลลาร์ตอบรับเชิงบวกจากข่าวดังกล่าวเพียงช่วงสั้นๆเท่านั้น ส่วนเงินเยนแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 2 เดือน โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 19 เดือน ส่งผลให้ตลาดคาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น(บีโอเจ)อาจขึ้นดอกเบี้ยอีกในอนาคตอันใกล้ ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นไทย 2,177 ล้านบาท แต่ขายพันธบัตรสุทธิ 2,461 ล้านบาท

สำหรับภาพรวมในสัปดาห์นี้ ตลาดโลกจะติดตามการเมืองเยอรมันและข้อมูลเงินเฟ้อ PCE พื้นฐานของสหรัฐฯ อนึ่ง แรงขายทำกําไรในเงินดอลลาร์ระยะนี้สะท้อนการมองโลกในแง่ดีของนักลงทุนว่าแผนการค้าของผู้นำสหรัฐฯอาจไม่ก่อให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายตามที่ตลาดกลัว เห็นได้จากการที่ทรัมป์เปิดทางเลือกเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าที่อาจเกิดขึ้นกับจีน ซึ่งช่วยทําให้เงินหยวนกลับมาแข็งค่า ในทางตรงกันข้าม ผู้ร่วมตลาดส่วนใหญ่ได้มองข้ามคำขู่ของทรัมป์เรื่องการขึ้นภาษีเหล็กและอะลูมิเนียม 25% ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม และภาษีรถยนต์ เซมิคอนดักเตอร์ และยา 25% ตั้งแต่ 2 เมษายน นอกเหนือจากแผนที่จะขึ้นภาษี 25% สําหรับการนําเข้าส่วนใหญ่จากแคนาดาและเม็กซิโกตั้งแต่ 4 มีนาคม และการตั้งกำแพงภาษีแบบตอบโต้ซึ่งกันและกัน (Reciprocal Tariffs) กับคู่ค้าทั้งหมดตั้งแต่ 1 เมษายน แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าจะสูงขึ้น โดยค่าเงินดอลลาร์อาจจะดีดตัวขึ้นในไตรมาส 2 หากทรัมป์ปฏิบัติตามแผนของเขา ส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนยังคงมีแนวโน้มผันผวนสูง

สำหรับปัจจัยในประเทศ เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างน่าผิดหวังด้วยอัตราเพียง 2.5% ในปี 67 โดยเฉพาะผลบวกที่จำกัดต่อการบริโภคภาคเอกชนจากโครงการแจกเงินในไตรมาสสุดท้ายของปี เปิดทางให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)อาจตัดสินใจลดดอกเบี้ยลง 25bp สู่ระดับ 2.00% ในการประชุมวันที่ 26 ก.พ.นี้ อย่างไรก็ตาม หากกนง.เลือกที่จะคงดอกเบี้ยไว้ในรอบนี้ เรามองว่าเงื่อนไขต่างๆยังคงเอื้อสำหรับการลดดอกเบี้ยนโยบายลงในระยะข้างหน้า

You may also like

เมืองอัจฉริยะ: การเลือกใช้ AI พร้อมความยั่งยืนเพื่ออนาคตที่ดีกว่า

แนวคิดขอ