4 เป้าหมาย 15 นโยบาย ขับเคลื่อนกระทรวงเกษตร เดินหน้าสู่ปีที่ 130           

  4 เป้าหมาย 15 นโยบาย ขับเคลื่อนกระทรวงเกษตร เดินหน้าสู่ปีที่ 130           

  4 เป้าหมาย 15 นโยบาย ขับเคลื่อนกระทรวงเกษตร เดินหน้าสู่ปีที่ 130           

            "เฉลิมชัย”เดินหน้าไม่หยุด เปิดยุทธศาสตร์ ”4 เป้าหมาย 15 นโยบาย”ขับเคลื่อนกระทรวงเกษตรมุ่งสู่ปีที่130   ดัน จีดีพี.ภาคเกษตรสูงขึ้น หวังเพิ่มรายได้ขจัดความยากจนให้เกษตรกรไทยอย่างยั่งยืน

                นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แถลงวันนี้ว่า ในวาระครบรอบ129ปีแห่งการสถาปนากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในวันที่1เมษายนนี้ และกำลังที่จะก้าวเข้าสู่ปีที่130 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทานสู่มิติใหม่ภายใต้เป้าหมายใหม่ได้แก่

                1) เพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือจีดีพีในประเทศสาขาเกษตรเฉลี่ย 3.8% ต่อปี 2) เพิ่มผลิตภาพการผลิตของภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.2% ต่อปี 3) ลดเกษตรกรที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนไม่น้อยกว่า 10% ต่อปี 4) เพิ่มพื้นที่ชลประทานไม่ต่ำกว่าปีละ 350,000 ไร่

                ทั้งนี้ภายใต้วิกฤติโควิด19 ที่ผ่านมายอมรับว่ามีปัญหาอุปสรรคอย่างมากจึงจำเป็นต้องกลยุทธ์และยุทธศาสตร์บริหารการพัฒนาที่ชัดเจนสามารถปฏิบัติได้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯจึงได้วางแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรกรรม 5 ยุทธศาสตร์ และ15 แนวทางนโยบายหลักเพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารสู่เป้าหมายดังกล่าวได้แก่

            1.ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต

            2. ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0

            3. ยุทธศาสตร์ “3’s” (Safety-Security-Sustainability- เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคงและเกษตรยั่งยืน)

            4. ยุทธศาสตร์การบริหารเชิงรุกแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะโมเดล”เกษตร-พาณิชย์ทันสมัย”

            5. ยุทธศาสตร์เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวทางศาสตร์พระราชา

                นอกจากนั้นยังมีการกำหนด 15 นโยบายหลักที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคการเกษตรอย่างเป็นระบบประกอบด้วย

            1. นโยบาย “ตลาดนำการผลิต” เพิ่มช่องทางตลาดให้หลากหลายทั้งออฟไลน์และออนไลน์

            2. การสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันเกษตรกรและเศรษฐกิจฐานราก

            3. การส่งเสริมสถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการ และ Start up

            4. การส่งเสริมเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming)

            5. การพัฒนาศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC)

            6. การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร

            7. การบริหารจัดการน้ําอย่างเป็นระบบ

            8. การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม และแปลงใหญ่

            9. การส่งเสริมศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)

            10. การประกันภัยพืชผลให้ความคุ้มครองความเสียหายหรือความสูญเสียต่อพืชผล

            11. การส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อเป็นภูมิคุ้มกัน และสร้างความมั่นคงแก่ เกษตรกร

            12. การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน

            13. การวิจัยและพัฒนา เพื่อตอบสนองการพัฒนาภาคเกษตรของประเทศไทย บนพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

            14. การพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศ Big Data โดยศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ

            15. การประกันรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมันและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  ซึ่งทั้งหมดในเบื้องต้นเป็นแนวทางพัฒนาและปฏิรูปภาคการเกษตรไทยที่จะสร้างความมั่นคงให้เกษตรและคาดว่าจะสามารถขจัดความยากจนให้เกษตรกรอย่างยั่งยืนต่อไป

                สำหรับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในชื่อ กระทรวงเกษตรพานิชการ มี เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ขณะมีบรรดาศักดิ์ที่ "พระยาภาสกรวงศ์ "เป็นเสนาบดีคนแรกจนถึงปีนี้ครบ129ปีที่กระทรวงเกษตรมีหน้าที่เกี่ยวกับการเกษตรกรรม การจัดหาแหล่งน้ำและพัฒนาระบบชลประทาน ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ส่งเสริมและพัฒนาระบบสหกรณ์ รวมตลอดทั้งกระบวนการผลิตและสินค้าเกษตรกรรม และราชการอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

You may also like

“มนพร”สุดปลื้ม! สนามบินแม่ฮ่องสอน-เลย-น่านนคร คว้ารางวัล”EIA Monitoring Awards 2024″

“มนพร”สุ