เปิดศักราชใหม่ ความร่วมมือ BRICS บทใหม่ในการพัฒนาก้าวหน้าของมนุษยชาติ

เปิดศักราชใหม่ ความร่วมมือ BRICS บทใหม่ในการพัฒนาก้าวหน้าของมนุษยชาติ

เปิดศักราชใหม่ ความร่วมมือ BRICS

บทใหม่ในการพัฒนาก้าวหน้าของมนุษยชาติ

        วันที่ 22-24 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนได้เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม BRICS Business Forum ในกรุงปักกิ่งผ่านทางวิดีโอและกล่าวปาฐกถา  และเป็นประธานในการประชุมผู้นำกลุ่ม BRICS ครั้งที่ 14 การประชุมระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาของโลก กรอบความร่วมมือ BRICS Plus และกล่าวสุนทรพจน์

        ปีนี้เป็นปีครบรอบ 16 ปีของการก่อตั้งกลไกความร่วมมือ BRICS และก็เป็น “ปีแห่งประเทศจีน” สำหรับ BRICS ด้วย ประเทศจีนเป็นเจ้าภาพจัดงาน BRICS มากกว่า 170 งานในด้านต่าง ๆ ตลอดทั้งปี เฉพาะในช่วงครึ่งปีแรก มีการจัดประชุมระดับรัฐมนตรีมากกว่า 20 ครั้ง งาน “BRICS+” แต่ละงานดึงดูดประเทศที่ไม่ใช่กลุ่ม BRICS มากกว่า 50 ประเทศเข้าร่วมกิจกรรม ในปีนี้กิจกรรมในกลุ่ม BRICS จะบรรลุความสำเร็จ 37 รายการซึ่งจะเป็นการยกระดับของความร่วมมือ BRICS สูงขึ้นอีกระดับหนึ่งทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ

        ปัจจุบัน โลกกำลังเข้าสู่ช่วงใหม่แห่งความปั่นป่วนและการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในรอบร้อยปีผสมผสานกับโรคระบาดแห่งศตวรรษ ทำให้เกิดปัญหาความมั่นคงของโลกที่สลับซับซ้อน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีความยากลำบาก และการพัฒนาของโลกกำลังเผชิญกับการพัฒนาที่ทวนกระแส ดังนั้น การส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน การพิทักษ์สันติภาพและความมั่นคงของโลกเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 ของสหประชาชาติคือความปรารถนาร่วมกันของประชาชนทุกประเทศ ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง มีวิสัยทัศน์กว้างไกลโดยยึดความผาสุกของมนุษยชาติเป็นเป้าหมาย มุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนของมนุษยชาติ และได้นำให้การประชุม BRICS สร้างผลสำเร็จที่มีลักษณะเป็นการบุกเบิก ชี้นำ และเป็นไปตามกลไก ผลักดันการขยายความร่วมมือของ BRICS ในเชิงกว้างและลงลึกอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเสริมพลังให้มีเสถียรภาพ สร้างสรรค์ให้กับ BRICS สร้างคุณูปการใหม่ ๆ ต่อสันติภาพและการพัฒนาของโลก

ตอบโจทย์ยุคสมัยอย่างลึกซึ้ง ร่วมกันสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติ

       โลกจะไปทางไหน? สันติภาพหรือสงคราม? พัฒนาหรือเสื่อมถอย? เปิดกว้างหรือปิดกั้น? ร่วมมือหรือเผชิญหน้า? นี่คือโจทย์ของยุคเรา ไม่ว่าสถานการณ์ระหว่างประเทศจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร แนวโน้มทางประวัติศาสตร์ของการพัฒนาแบบเปิดกว้างจะไม่เปลี่ยนแปลง เราต้องเข้าใจกฎแห่งการพัฒนาทางประวัติศาสตร์อย่างถูกต้อง กล้าเผชิญกับความท้าทาย และผลักดันการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติอย่างแน่วแน่

        ภูมิภาคเอเชียตะวันออกที่เราอยู่นั้นมีการพัฒนาอย่างมีเสถียรภาพโดยภาพรวมมาโดยตลอด มีการสร้างกรอบความร่วมมือด้านความมั่นคงและความร่วมมือระดับภูมิภาคโดยมีอาเซียนเป็นศูนย์กลาง และได้กลายเป็นโอเอซิสแห่งสันติภาพของโลก อีกทั้งเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาในอัตราสูง สถานการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่ายดาย จีนจะสนับสนุนความเป็นปึกแผ่นของอาเซียนและการสร้างประชาคมอาเซียนอย่างแน่วแน่ สนับสนุนความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในโครงสร้างภูมิภาค และทำงานร่วมกับประเทศอาเซียน เพื่อดำเนินการตามฉันทามติที่สำคัญที่บรรลุถึงในการประชุมสุดยอดฉลองครบรอบ 30 ปีของความสัมพันธ์คู่เจรจาจีน-อาเซียนเมื่อปีที่แล้ว โดยมีความเข้าใจแนวโน้มการพัฒนาของโลก ขจัดการแทรกแซง แบ่งปันโอกาส และเอาชนะความท้าทายร่วมกันเพื่อนำความสัมพันธ์หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันระหว่างจีน-อาเซียนที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นและทำงานร่วมกันเพื่อสร้างบ้านเมืองแห่งสันติภาพ สงบสุข เจริญรุ่งเรือง สวยงาม และมีมิตรไมตรีต่อกัน

ปกป้องความยุติธรรมและความเป็นธรรมระหว่างประเทศ ร่วมกันพิทักษ์สันติภาพและความสงบสุขของโลก

        ประสบการณ์ในอดีตย่อมเป็นสิ่งที่เตือนใจคนรุ่นหลังที่ดี ประวัติศาสตร์อันน่าสลดใจของสงครามโลกสองครั้งและการเผชิญหน้าในสงครามเย็นแสดงให้เห็นว่า ลัทธิครองความเป็นเจ้า การเมืองแบบแบ่งกลุ่มและการเผชิญหน้าโดยการแบ่งค่ายจะไม่ทำให้เกิดสันติภาพและความมั่นคง แต่จะนำไปสู่สงครามและความขัดแย้งเท่านั้น วิกฤตการณ์ในยูเครนส่งเสียงเตือนชาวโลกอีกครั้งว่าความหลงเชื่อสถานะอำนาจของตนและการขยายพันธมิตรทางทหาร การแสวงหาความมั่นคงของตนเองโดยแลกกับความมั่นคงของประเทศอื่น ๆ จะนำไปสู่ภาวะที่ยากลำบากด้านความมั่นคงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบัน บางประเทศได้เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 โดยร่างกาย แต่หัวสมองยังอยู่ในยุคสงครามเย็น เมื่อเจอกับการขาดความสมดุลในการปกครองภายในประเทศ ความเหลื่อมล้ำขยายกว้างมากขึ้น และการแบ่งขั้วทางการเมือง พวกเขาไม่สามารถทำอะไรได้ แต่เร่งดำเนินยุทธศาสตร์การกีดกันในระดับโลก ยั่วยุการเผชิญหน้าระหว่างประเทศมหาอำนาจ รังแกประเทศขนาดกลางและขนาดเล็ก และก่อกวนโลกทั้งใบจนไม่มีความสงบสุข

       ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เสนอข้อริเริ่มว่าด้วยความมั่นคงระดับโลกในสุนทรพจน์ที่ประชุมเอเชียโป๋อ๋าว (Boao Forum for Asia) ประจำปีนี้ จีนยินดีที่จะทำงานร่วมกับหุ้นส่วนกลุ่ม BRICS เพื่อส่งเสริมการดำเนินการตามข้อริเริ่มว่าด้วยความมั่นคงระดับโลก และเพื่อบุกเบิกเส้นทางการรักษาความมั่นคงแบบใหม่ที่เน้นการเจรจา แต่ไม่ใช่การเผชิญหน้า การเป็นหุ้นส่วนแต่ไม่ใช่การเป็นพันธมิตร และชนะด้วยกันแต่ไม่ใช่ผลรวมกันเป็นศูนย์  จีนส่งเสริมค่านิยมร่วมกันของมนุษยชาติที่มีสันติภาพ การพัฒนา ความยุติธรรม  ความเป็นธรรม ประชาธิปไตยและเสรีภาพ  ปฏิบัติตามความรับผิดชอบและพันธกรณีระหว่างประเทศอย่างแข็งขัน ยึดมั่นในระบบพหุภาคีอย่างแท้จริง และปกป้องระบบระหว่างประเทศที่มีสหประชาชาติเป็นศูนย์กลางและระเบียบระหว่างประเทศที่ถือกฎหมายระหว่างประเทศเป็นพื้นฐานอย่างแน่วแน่ เราจะยังคงเป็นผู้สร้างสันติภาพของโลก ผู้มีส่วนสนับสนุนในการพัฒนาของโลก และผู้พิทักษ์ระเบียบระหว่างประเทศ

มุ่งเน้นการพัฒนา ร่วมมือเพื่อสร้างยุคใหม่ของการพัฒนาระดับโลก

       การพัฒนาเป็นประเด็นที่มีนัยสำคัญตลอดกาลของสังคมมนุษย์ และเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสุขของประชาชน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เสนอข้อริเริ่มว่าด้วยการพัฒนาระดับโลกในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเมื่อปีที่แล้ว โดยเรียกร้องให้มีการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 แห่งสหประชาชาติ เพื่อผลักดันในการสร้างความสัมพันธ์หุ้นส่วนการพัฒนาระดับโลกที่สามัคคี เสมอภาค สมดุล และมีผลประโยชน์ร่วมกัน และผลักดันในการสร้างประชาคมการพัฒนาระดับโลก ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก 100 กว่าประเทศและองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ เป็นต้น ฝ่ายจีนเพิ่งเปิดตัว “รายงานการพัฒนาระดับโลก” ซึ่งในรายงานได้เสนอแนะนโยบาย 8 ด้านเกี่ยวกับการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030  บนพื้นฐานของช่วงการพัฒนาใหม่ จีนจะใช้แนวคิดการพัฒนาใหม่ สร้างรูปแบบการพัฒนาใหม่อย่างแข็งขัน และมุ่งมั่นที่จะบรรลุการพัฒนาที่มีคุณภาพ

        ฝ่ายไทยสนับสนุนข้อริเริ่มว่าด้วยการพัฒนาระดับโลกอย่างแข็งขัน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาของโลก กรอบความร่วมมือ BRICS Plus และนายดอน ปรมัตถ์วินัย  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมระดับสูงของกลุ่มเพื่อนมิตรของข้อริเริ่มว่าด้วยการพัฒนาระดับโลก โมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่ไทยส่งเสริมนั้นสอดคล้องกับแนวคิด “น้ำใสและเขาเขียวเป็นภูเขาเงินภูเขาทอง” ที่ประธานาธิบดี สี จิ้นผิงเสนอ จีนยินดีที่จะทำงานร่วมกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยและกลุ่มประเทศ BRICS เพื่อเร่งดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 ขององค์การสหประชาชาติ พัฒนาข้อริเริ่มว่าด้วยการพัฒนาระดับโลกอย่างต่อเนื่อง และร่วมกันสร้างประชาคมการพัฒนาระดับโลกเพื่อช่วยให้บรรลุการพัฒนาระดับโลกที่แข็งแกร่ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีสุขภาวะที่ดี

สอดคล้องกับแนวโน้มของยุคสมัย ร่วมกันปรับปรุงธรรมาภิบาลโลกให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น

       ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ชี้ให้เห็นอย่างลึกซึ้งว่า การยอมรับความแตกต่างโดยไม่แบ่งแยก เอื้อผลประโยชน์ร่วมกันนั้น เป็นเส้นทางที่ถูกต้องของสังคมโลก ข้อเท็จจริงได้พิสูจน์ครั้งแล้วครั้งเล่าว่า การคว่ำบาตรเป็น “บูมเมอแรง” และ “ดาบสองคม” และทำเศรษฐกิจโลกให้เป็นการเมือง เป็นเครื่องมือและอาวุธสงครามและใช้ประโยชน์จากระบบการเงินระหว่างประเทศเพื่อการคว่ำบาตร ในที่สุดจะเป็นการทำร้ายคนอื่นและตัวเอง และทำให้ประชาชนชาวโลกต้องได้รับผลกระทบอย่างสาหัส เราต้องยึดมั่นในการเปิดกว้าง ยอมรับซึ่งกันและกัน  ชี้นำและส่งเสริมการพัฒนาที่ดีของโลกาภิวัตน์ รักษาระบบการค้าพหุภาคีโดยมีองค์การการค้าโลกเป็นแกนหลัก และส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจโลกที่เปิดกว้าง ยึดมั่นในการหารือร่วมกัน พัฒนาร่วมกันและแบ่งปัน และเพิ่มการเป็นตัวแทนและอำนาจของประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้มั่นใจในความเสมอภาคของสิทธิประโยชน์ กฎเกณฑ์ และโอกาสของแต่ละประเทศ

       การผลักดันและเป็นผู้นำในการปฏิรูประบบธรรมาภิบาลโลก เป็นภาระหน้าที่อันชอบธรรมของความร่วมมือ BRICS จีนยึดมั่นในการพัฒนาอย่างสันติและสนับสนุนความร่วมมือแบบเอื้อประโยชน์ร่วมกัน จีนได้กลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของ 130 กว่าประเทศและภูมิภาค และได้ลงนามร่วมกับ 149 ประเทศและ 32 องค์การระหว่างประเทศในเอกสารว่าด้วยความร่วมมือการสร้าง “สายแถบและเส้นทาง” มากกว่า 200 ฉบับ ประชาชนจีนได้เริ่มเดินทางครั้งใหม่บนเส้นทางการสร้างประเทศสังคมนิยมสมัยใหม่อย่างรอบด้าน เราจะเร่งสร้างรูปแบบการพัฒนาใหม่โดยมีวัฏจักรภายในประเทศเป็นหลักและมีวัฏจักรคู่ทั้งในประเทศและต่างประเทศเสริมกำลังซึ่งกันและกัน เพื่อผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจคุณภาพ และแบ่งปันโอกาสในการพัฒนากับประเทศต่าง ๆ รวมประเทศเพื่อนบ้าน เช่นประเทศไทย เพื่อแสดงบทบาทมากขึ้นในการปรับปรุงธรรมาภิบาลโลกให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น

ส่งเสริมการขยายสมาชิกของกลไก BRICS เริ่มการเดินทางครั้งใหม่ของความร่วมมือ BRICS

       “ดอกไม้ดอกเดียวไม่ใช่ฤดูใบไม้ผลิ และห่านฟ้าเพียงตัวเดียวไม่สามารถเดินทางเป็นกลุ่มได้” ความสำคัญของความร่วมมือ BRICS ได้เกินขอบเขตของ 5 ประเทศไป ได้แบกรับความคาดหวังของประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาและตลอดจนสังคมโลกด้วย กลุ่มประเทศ BRICS ไม่ใช่สโมสรปิดกั้นหรือ “ก๊วนเล็ก” ที่กีดกันคนนอก แต่เป็นครอบครัวใหญ่ที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันและเป็นหุ้นส่วนที่ดีเพื่อความร่วมมือแบบเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน 16 ปีที่ผ่านมา กลไกความร่วมมือของ BRICS ได้พัฒนาเป็นกลไกที่นำโดยการประชุมของผู้นำ และเสริมด้วยการประชุมระดับรัฐมนตรี เช่น การประชุมผู้แทนระดับสูงด้านกิจการความมั่นคงและการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ และขับเคลื่อนด้วย “สามล้อ” ซึ่งประกอบด้วย ความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจ การค้า การเงิน และการแลกเปลี่ยนสังคม วัฒนธรรม กลายเป็นเวทีสำคัญของความร่วมมือสำหรับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เข้มแข็งและความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน และกลายเป็นกำลังสำคัญในการปรับปรุงธรรมาภิบาลโลกและส่งเสริมการพัฒนาร่วมกัน

       จีนเสนอให้เริ่มกระบวนการขยายสมาชิกกลุ่ม BRICS หารือมาตรฐานและขั้นตอนการขยายสมาชิก และบรรลุฉันทามติอย่างเป็นลำดับ ซึ่งจะช่วยแสดงให้เห็นถึงการเปิดกว้างและความครอบคลุมของกลุ่มประเทศ BRICS ตอบสนองต่อความคาดหวังของประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา และจะเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับความเป็นตัวแทนและอำนาจของกลุ่มประเทศ BRICS ซึ่งจะมีส่วนสนับสนุนให้เกิดสันติภาพและการพัฒนาของโลก ใน 5 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การนำเสนอแนวคิดของความร่วมมือ “BRICS+”  BRICS ได้กลายเป็นต้นแบบที่ดีสำหรับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาในการดำเนินการความร่วมมือใต้ใต้ และบรรลุความเป็นหุ้นส่วนและพัฒนาตนเอง ในปีนี้ การประชุมในกลุ่ม “BRICS+” ได้รับการยกระดับเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศเป็นครั้งแรก “ปฏิญญาปักกิ่ง” เน้นย้ำถึงความพยายามของประเทศในกลุ่ม BRICS ในการขยายความร่วมมือกับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ และสนับสนุนการส่งเสริมการหารือนอกสมาชิกและความร่วมมือ “BRICS+”  การประชุมระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาของโลกสะท้อนให้เห็นถึงการเปิดกว้างและความครอบคลุมของความสัมพันธ์หุ้นส่วน BRICS รวมทั้งการหารือนอกกลุ่มสมาชิกและความร่วมมือ “BRICS+”  ซึ่งจะเป็นการเสริมแรงผลักดันใหม่ในการเสริมสร้างความสามัคคีระหว่างประเทศ  และดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี 2030

      ในฐานะที่เป็นประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาที่สำคัญ ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในกิจการระหว่างประเทศและภูมิภาค เป็นผู้มีส่วนร่วมและผู้ผลักดันการพัฒนาระหว่างประเทศอย่างแข็งขัน จีนและไทยเป็นเพื่อนบ้านที่ดี เพื่อนที่ดี หุ้นส่วนที่ดีและญาติที่ดี ทั้งสองฝ่ายมีความไว้เนื้อเชื่อใจทางการเมืองอย่างลึกซึ้ง มีผลประโยชน์ร่วมกันในหลากหลายมิติ และมีศักยภาพในความร่วมมือสูง จีนยินดีร่วมมือกับไทยและประเทศตลาดเกิดใหม่ตลอดจนประเทศกำลังพัฒนา เพื่อร่วมมือร่วมใจกัน เคียงบ่าเคียงไหล่กัน สร้างรูปแบบการพัฒนาที่มีผลประโยชน์ที่ร่วมกัน ความสมดุล ครอบคลุมและการไม่แบ่งแยก ความร่วมมือแบบเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน สร้างประชาคมที่มีชะตาร่วมกันของมนุษยชาติ และสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับมนุษยชาติ

 

You may also like

รุกแก้ปัญหาตั๋วเครื่องบินแพง “สุริยะ”จับมือ“6 สายการบิน”นำร่องของขวัญปีใหม่ เพิ่ม 50,000 ที่นั่ง พร้อมจัดโปรฯลด 30%

รุกแก้ปั