ปลุกกระแสศิลปะร่วมสมัย “บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2024” โชว์ผลงานกว่า 200 ชิ้น จาก 76 ศิลปินชั้นนำทั่วโลก

ปลุกกระแสศิลปะร่วมสมัย “บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2024” โชว์ผลงานกว่า 200 ชิ้น จาก 76 ศิลปินชั้นนำทั่วโลก

ปลุกกระแสศิลปะร่วมสมัย

บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2024”

โชว์ผลงานกว่า 200 ชิ้น จาก 76 ศิลปินชั้นนำทั่วโลก

ปักหมุด 11 แลนด์มาร์คท่องเที่ยวระดับโลก ใจกลางมหานคร 24 ต.ค.67 – 25 ก.พ.68 นี้

เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ที่กำหนดจัดขึ้นในทุก ๆ 2 ปี “บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2024” โดย มูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) โดยการผสานความร่วมมือครั้งสำคัญกับ กรุงเทพมหานคร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB) เครือข่ายพันธมิตรภาครัฐ และเอกชนทุกภาคส่วน จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 ภายใต้แนวคิด “รักษา กายา (Nurture Gaia)” จัดเต็มผลงานศิลปะจาก 76 ศิลปิน 39 สัญชาติ ชั้นนำทั่วโลก โดยเป็นสุดยอดผลงานศิลปะร่วมสมัยมากกว่า 200 ผลงาน ที่มาร่วมจัดแสดงบนสถานที่สำคัญใจกลางกรุงเทพมหานครทั้งหมด 11 แห่ง ได้แก่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม  ราชวรมหาวิหาร / วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร / วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร / วัดบวรนิเวศวิหาร / พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร / พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  หอศิลป หรือ หอศิลป์เจ้าฟ้า / หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร / มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้  / วันแบงค็อก / ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ถึง 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการ และผู้ก่อตั้งมูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ เผยว่า “เรามีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งกับการประกาศเปิดตัวอย่างเป็นทางการของเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2024 ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 ภายใต้แนวคิด รักษา กายา (Nurture Gaia) ซึ่งจะจัดแสดงในสถานที่สำคัญใจกลางกรุงเทพมหานคร โดยงาน Bangkok Art Biennale หรือ BAB เป็นส่วนหนึ่งในการเชื่อมโยงต้นทุนทางศิลปวัฒนธรรมของเมืองกับศิลปกรรมสมัยใหม่ที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร โดยครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อปี 2018 และจัดต่อเนื่องทุก 2 ปี ในปี 2020 และ ปี 2022 ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งมาโดยตลอด การจัดงานเป็นการเสริมสร้างพลังเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และต้นทุนทางวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานคร และโลกเข้าด้วยกัน ซึ่งนอกจากจะสร้างรายได้ในเชิงการท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นการสร้างโอกาสให้ศิลปินไทย และศิลปินจากทั่วโลกได้แสดงผลงานในกรุงเทพมหานคร ให้คนไทยและชาวโลกได้ร่วมชื่นชม

เมื่อครั้งที่จัดเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ  Bangkok Art Biennale 2022 ที่จัดแสดงขึ้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2565        ถึง 23 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมานั้น เราสามารถทุบสถิติจำนวนผู้เข้าร่วมชมงานทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ จำนวน 17,592,321 คน แบ่งเป็น ผู้เข้าร่วมงาน Onsite จำนวน 992,321 คน และผู้เข้าร่วมงาน Online จำนวน 16,600,000 คน

และสามารถกระตุ้นให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการจัดงานเป็นจำนวนมูลค่าถึง 6,298 ล้านบาท (อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ TCEB)  เรียกได้ว่ากระแสการตอบรับดีเกินคาด จากประชาชนและนักท่องเที่ยวผู้ที่รักงานศิลปะ  อีกทั้งสื่อมวลชนในไทยและต่างประเทศ ให้การตอบรับอย่างดีเยี่ยม ศิลปินและภัณฑารักษ์จากทั่วโลก ต่างชื่นชมในความสำเร็จของการจัดงานที่ผ่านมา

สำหรับปีนี้ การจัดงานเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ตเบียนนาเล่ 2024 โดย มูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้ผสานความร่วมมือครั้งสำคัญกับ กรุงเทพมหานคร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB) กรุงเทพมหานคร เครือข่ายพันธมิตรภาครัฐ และเอกชนทุกภาคส่วน ร่วมกันจัดงานขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 โดยเป็นการจัดแสดงผลงานศิลปะจาก 76 ศิลปิน 39 สัญชาติ ชั้นนำจากทั่วโลก ที่จะมาสร้างความตื่นตา ตื่นใจ และความยิ่งใหญ่ให้กับวงการศิลปะไทย ด้วยผลงานศิลปะร่วมสมัยมากกว่า 200 ผลงาน บนแลนด์มาร์คการท่องเที่ยวระดับโลกใจกลางกรุงเทพมหานคร ทั้งหมด 11 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ถึง 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

ภายใต้ธีมหลักของเราในปีนี้ “รักษา กายา (Nurture Gaia)” ที่มุ่งเน้นที่จะถ่ายทอดความหมายที่แตกต่างของธรรมชาติ การเลี้ยงดู ความเป็นผู้หญิง และการครุ่นคิดเกี่ยวกับนิเวศวิทยา การเมือง หรืออำนาจเหนือธรรมชาติต่าง ๆ ผ่านผลงานศิลปะร่วมสมัยจากทั่วโลกด้วยสื่อศิลปะที่หลากหลาย เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงสภาพปัจจุบัน กระตุ้นให้ฉุกคิด รวมทั้งมองหาวิธีใหม่ในการจัดการกับประเด็นปัญหาของอนาคตในด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม

สำหรับความพิเศษในปีนี้ เราได้เพิ่มพื้นที่จัดแสดงงานแห่งใหม่ขึ้นที่ One Bangkok ปักหมุดแลนด์มาร์คระดับโลก ที่ล้ำด้วยเทคโนโลยี ศิลปะ วัฒนธรรม และความยั่งยืน ที่จะยกระดับภาพลักษณ์และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้โดดเด่นบนเวทีโลก พร้อมกันนี้ยังเพิ่มพื้นที่ใหม่จัดแสดงงานซึ่งเป็นสถานที่ที่งดงาม และมีคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์ เช่น วัดบวรนิเวศวิหาร และตามเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยาอย่าง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป หรือ หอศิลป์เจ้าฟ้า ที่พร้อมเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยว ผู้รักงานศิลปะที่จะเดินทางมาจากทั่วทุกมุมโลก”

ศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ในนามประธานอำนวยการและผู้อำนวยการศิลป์ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่  กล่าวว่า “เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2024 มีศิลปินที่เข้าร่วมแสดงผลงานทั้งสิ้น 76 ท่าน เป็นศิลปินไทยจำนวน 22 ท่าน และศิลปินจากนานาชาติ จำนวน 54 ท่าน สำหรับรายชื่อ 30 ศิลปินนานาชาติกลุ่มสุดท้ายที่ได้ร่วมแสดงผลงานศิลปะทั่วเมืองกรุงเทพมหานคร นำโดย บู้ซือ อาจอ (ประเทศไทย) บรูซ แอสเบสตอส (สหราชอาณาจักร) ลีน่า บุย (เวียดนาม) กัญญา เจริญศุภกุล (ประเทศไทย) วิริยะ โชติปัญญาวิสุทธิ์ (ประเทศไทย) ดาเนียลลา โกมานิ (อิตาลี) โทนี แคร็กก์ (ออสเตรเลีย) ร็อบ ครอส (สหราชอาณาจักร) กิม ฮงซอก (เกาหลีใต้) แอกกี้ เฮนส์ (สหราชอาณาจักร) เมลล่า จาร์สมาร์  (เนเธอร์แลนด์ / อินโดนีเซีย) จอร์จ เค. (อินเดีย) อนิช คาพัวร์ (สหราชอาณาจักร) จิตติ เกษมกิจวัฒนา (ประเทศไทย) โคล หลู (ไต้หวัน) มาเรีย มาเดร่า (ติมอร์-เลสเต) ซุล มาห์มุด (สิงคโปร์) นักรบ มูลมานัส (ประเทศไทย) โศภิรัตน์ ม่วงคำ (ประเทศไทย) มัดหมี่ พิมดาว พานิชสมัย (ประเทศไทย) ดีเนธ ปิอูมัคชี เวดาราชชิเก  (ศรีลังกา) โม สัท (สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า) ถวิกา สว่างวงศากุล (ประเทศไทย) ลาตัย เตาโมเอเปอาว (ออสเตรเลีย) คมกฤษ เทพเทียน (ประเทศไทย) เถียน เสี่ยว เหล่ย (สาธารณรัฐประชาชนจีน) อเล็กซานเดอร์ ทิโมทิช (เซอร์เบีย) จัสมิน โตโก-บริสบี (ออสเตรเลีย) หวัง ซีเหยา (สาธารณรัฐประชาชนจีน) ปกฉัตร วรทรัพย์ (ประเทศไทย) ที่จะสร้างความตื่นตัวและแรงบันดาลใจให้กับวงการศิลปะไทย ตลอดจนช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ

ในส่วนกิจกรรมพิเศษในช่วงสัปดาห์เฉลิมฉลองเปิดงาน พบกับการแสดงสดจากศิลปินชั้นนำ อาทิ การแสดงของศิลปิน Kira O’Reilly (ฟินแลนด์-ไอร์แลนด์) ซึ่งเป็นผลงานที่ถ่ายทอดประสบการณ์ความเป็นผู้หญิง ผลงานศิลปิน Amanda Coogan (ไอร์แลนด์) ที่ทำงานร่วมกับชุมชนผู้ใช้ภาษามือ ผลงานศิลปิน ไอแซค ชอง ไว วิดีโอจัดวางที่พูดถึงผลกระทบจากสงคราม และความเศร้าโศกที่สังคมร่วมแบ่งปันกัน ผลงานศิลปิน Elmgreen & Dragset จัดแสดงประติมากรรมที่ละเอียดอ่อน บอบบาง และชุดผลงานจัดวางเฉพาะพื้นที่ หรือตอบสนองกับพื้นที่สาธารณะทั่วกรุงเทพ โดยศิลปินหลากหลายท่าน รวมถึง ชเวจองฮวา และการจัดประชุมสัมมนาวิชาการ เป็นต้น

ติดตามข่าวสาร และตารางกิจกรรมของเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2024 Bangkok Art Biennale 2024 (BAB 2024) เพิ่มเติมได้ทาง  Facebook และ Instagram : Bkkartbiennale 

You may also like

คปภ.เดินหน้า! เปิดเวทีสัมมนาวิชาการด้านประกันภัย ประจำปี 2567 “Thailand Insurance Symposium 2024”

 นายชูฉั