99% คนบนโลกกำลังสูดอากาศพิษ
มลพิษทางอากาศทำให้คนขี้เกียจขึ้น
ไม่อยากทำกิจกรรมอะไร สุขภาพแย่
สุทธิชัย ทักษนันต์
ผลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์สหราชอาณาจักรพบว่า มลพิษทางอากาศทำให้ผู้คนเกียจคร้านมากขึ้น
ซึ่งผลการวิจัยพบว่า อากาศพิษทำให้คนในสหราชอาณาจักรมีเวลาที่สูญเปล่าไม่ทำอะไรเลยเพิ่มขึ้นอีก 22 นาที
มลพิษทางอากาศส่งผลต่อการทำกิจกรรมทางด้านกายภาพ มีแนวโน้มที่ทำให้คนจำนวนมากไม่อยากออกกำลังทำอะไร
การสัมผัสอากาศในระดับที่เป็นมลพิษเหมือนอย่างที่เป็นอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ ส่งผลทำให้ผู้คนใช้เวลาอยู่เฉยๆเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน
การอยู่เฉยๆ หรือไม่มีกิจกรรมหมายถึงการใช้เวลาในการนอน นั่ง เอนหลัง หรือยืนโดยไม่ขยับตัว
การศึกษาหลายครั้งของหลายองค์กรมีข้อสรุปว่า มลพิษทางอากาศมีส่วนทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด และระบบทางเดินหายใจ
ในปี 2019 องค์การอนามัยโลกประมาณการว่า 99% ของประชากรโลกกำลังสูดอากาศที่มีมลพิษในระดับสูง
อากาศพิษกระทบต่อความเต็มใจหรือความสามารถในการออกกำลังกายของผู้คน ไม่อยากออกไปใช้เวลาทำอะไรในพื้นที่กลางแจ้ง ทำให้ผู้คนรู้สึกแย่ ไม่เพลิดเพลิน
Air Pollution เป็นตัวกระตุ้นให้คนอยากใช้เวลาอยู่ในบ้านมากขึ้น ใช้เวลาออกไปนอกบ้านน้อยลง กลายเป็นวงจรอุบาทว์ที่ทำให้ผู้คนเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่างๆมากขึ้นเพราะไม่ได้ออกกำลังกาย
การใช้เวลาอยู่ในบ้านมากขึ้น อาจลดความเสี่ยงจากอากาศพิษได้บ้าง แต่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงกับอีกหลายโรคที่เกิดจากการไม่ใช้งานร่างกายตัวเอง หรือใช้น้อยเกินไป
คนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานมากกว่า
ผลการวิจัยของ LEICESTER, UK ครั้งนี้พบว่า ความเข้มข้นของไนโตรเจนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศที่เพิ่มขึ้น 1 ไมโครกรัม มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของเวลาที่มีอยู่ประจำประมาณ 1.52 นาทีต่อวัน
ในบางกรณี การได้รับไนโตรเจนไดออกไซด์ในประมาณสูง เชื่อมโยงกับการไม่มีกิจกรรมพิเศษอะไรมากถึง 22 นาทีต่อวัน
ผลสรุปจากการศึกษาครั้งนี้ คือ มลพิษทางอากาศเป็นตัวกระตุ้นทำให้ผู้คนจำนวนมากไม่มีกิจกรรมใดๆเพิ่มขึ้น
มลพิษทำให้ผู้คนขี้เกียจมากขึ้น ไม่อยากออกกำลังกายหรือทำอะไร การอยู่เฉยๆมากเกินไป มีผลกระทบทำให้เกิดปัญหาสุขภาพของประชาชน
Social Links