“เจเนอเรชัน”เปิดรายงานการจ้างงาน พบผู้ว่าจ้างต้องปรับวิถีปฏิบัติในการจ้างงาน เพื่อดึงดูดบุคลากรสายเทคโนโลยีในตำแหน่งระดับเริ่มต้น

“เจเนอเรชัน”เปิดรายงานการจ้างงาน พบผู้ว่าจ้างต้องปรับวิถีปฏิบัติในการจ้างงาน เพื่อดึงดูดบุคลากรสายเทคโนโลยีในตำแหน่งระดับเริ่มต้น

“เจเนอเรชัน”เปิดรายงานการจ้างงาน

พบผู้ว่าจ้างต้องปรับวิถีปฏิบัติในการจ้างงาน

เพื่อดึงดูดบุคลากรสายเทคโนโลยีในตำแหน่งระดับเริ่มต้น

………………………………………………….

แม้จะมีกระแสแนวทางการจ้างงานโดยมุ่งเน้นทักษะ แต่ผู้ว่าจ้าง 61% ได้เพิ่มข้อกำหนดการคัดกรองคุณสมบัติด้านการทำงานหรือการศึกษาสำหรับการจ้างงานตำแหน่งระดับเริ่มต้นในช่วงสามปีที่ผ่านมา

บริษัทที่ยกเลิกการกำหนดคุณสมบัติด้านวุฒิการศึกษาหรือการทำงานมีจำนวนผู้สมัครเพิ่มขึ้นโดยมีคุณภาพการดำเนินงานในการทำงานที่เทียบเคียงกันได้

……………………………………………

ข้อมูลใหม่จากเจเนอเรชัน (Generation) เครือข่ายไม่แสวงกำไรระดับโลกด้านการจ้างงาน เผยว่าองค์กรต่าง ๆ ต้องปรับวิถีปฏิบัติในการจ้างงานสำหรับบุคลากรผู้มีความสามารถสายเทคโนโลยีในตำแหน่งระดับเริ่มต้น พร้อมเสนอสิ่งที่ต้องดำเนินการในขั้นแรก ๆ

 บริษัทจำนวนหนึ่งได้ทลายกรอบเดิม ๆ และยกเลิกการกำหนดคุณสมบัติด้านวุฒิการศึกษาหรือการทำงานแล้วในช่วงสามปีที่ผ่านมานี้ และขณะนี้กำลังได้รับประโยชน์เกือบ 60% ขององค์กรที่ยกเลิกการกำหนดคุณสมบัติเช่นนั้นมีจำนวนผู้สมัครเพิ่มขึ้น ทำให้สามารถจ้างบุคลากรจำนวนมากขึ้นได้รวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังได้เข้าถึงกลุ่มผู้สมัครที่สามารถส่งเสริมความหลากหลายของบุคลากร ยิ่งไปกว่านั้น องค์กรเหล่านี้ยังเผชิญกับการได้อย่างเสียอย่างเพียงเล็กน้อยในแง่ของคุณภาพการดำเนินงาน เมื่อผู้สมัครเข้าทำงาน โดยบริษัท 84% ระบุว่าบุคลากรที่บริษัทจ้างโดยไม่มีการกำหนดคุณสมบัติด้านวุฒิการศึกษาหรือการทำงานมีการดำเนินงานในระดับเดียวกันหรือดีกว่าบุคลากรที่จ้างโดยใช้แนวทางแบบเดิม

ข้อค้นพบเหล่านี้มาจากรายงานเริ่มการปฏิวัติการจ้างงานวงการเทคโนโลยี (Launching a Tech Hiring Revolution) ซึ่งเป็นการศึกษาผู้ว่าจ้าง พนักงานสายเทคโนโลยีตำแหน่งระดับเริ่มต้น และผู้หางานหลายพันราย ครอบคลุม 8 ประเทศ ได้แก่ บราซิล แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย เม็กซิโก สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา งานศึกษาวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนโดยมูลนิธิเดอะเอชจี (The Hg Foundation) ร่วมกับแบงก์ ออฟ อเมริกา (Bank of America), เคลย์ตัน (Clayton), ดูบิเลียร์ แอนด์ ไรซ์ (Dubilier & Rice) และมูลนิธิเม็ทไลฟ์ (MetLife Foundation)

ในระดับโลก 86% ของผู้ว่าจ้างที่ได้รับการสำรวจระบุว่าพวกเขาจ้างงานในตำแหน่งระดับเริ่มต้นในสายเทคโนโลยี องค์กรต่าง ๆ ในหลากหลายหมวดธุรกิจ ทั้งการธนาคาร การผลิต และค้าปลีก ล้วนมีความต้องการด้านเทคโนโลยี ทำให้ต้องแข่งขันกันดึงดูดบุคลากรผู้มีความสามารถ ซึ่งประสบกับความท้าทาย โดยผู้ว่าจ้าง 62% ระบุว่ากระบวนการสรรหาบุคลากรสายเทคโนโลยีในตำแหน่งระดับเริ่มต้นจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง

งานสายเทคโนโลยีในตำแหน่งระดับเริ่มต้นแท้จริงได้หดหายไป เพราะผู้ว่าจ้าง 94% กำหนดคุณสมบัติการจ้างงานสำหรับ “ตำแหน่งระดับเริ่มต้น” (entry-level) ในสายเทคโนโลยีไว้ว่า ผู้สมัครต้องมีประสบการณ์การทำงานก่อนหน้าในด้านที่เกี่ยวข้อง

แม้จะมีกระแสแนวทางการจ้างงานโดยมุ่งเน้นทักษะ เกือบสองในสามของผู้ว่าจ้างในระดับโลก (61%) ได้เพิ่มการกำหนดคุณสมบัติด้านการศึกษาหรือการทำงานสำหรับตำแหน่งระดับเริ่มต้นในสายเทคโนโลยีในช่วงสามปีที่ผ่านมานี้ และไม่ใช่เฉพาะทักษะเชิงเทคนิคเท่านั้น 40% ยังได้เพิ่มการกำหนดคุณสมบัติสำหรับทักษะเชิงพฤติกรรมด้วย

ดังที่ผู้ว่าจ้างที่ท้าทายกระแสแนวโน้มดังกล่าวได้แสดงให้เห็น การเปลี่ยนการจ้างงานให้หันมามุ่งเน้นทักษะแทนที่จะเป็นวุฒิการศึกษาเป็นหนทางในการเข้าถึงบุคลากรผู้มีความสามารถกลุ่มใหม่ ๆ การมุ่งเน้นเทคนิคเชิงทักษะเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จของผู้ว่าจ้างสำหรับกลุ่มที่ยกเลิกการกำหนดคุณสมบัติ โดยการรับรองคุณสมบัติในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในแง่นี้ อย่างไรก็ตาม ขณะที่การรับรองช่วยเพิ่มความเท่าเทียมในกระบวนการในแง่ของชาติพันธุ์ อคติทางเพศยังคงอยู่ ผู้ชายที่ไม่มีการรับรองได้รับข้อเสนอการจ้างงานต่อการสัมภาษณ์แต่ละครั้งมากกว่าผู้หญิงที่มีการรับรอง

แม้ผู้ว่าจ้างจะมีแรงจูงใจอย่างมากที่จะขยายทรัพยากรบุคคลสายเทคโนโลยีในตำแหน่งระดับเริ่มต้น แต่ผู้ว่าจ้างที่ประสบความท้าทายในการเปลี่ยนแปลงระบุว่างบประมาณที่จำกัดประกอบกับการขาดการสนับสนุนจากฝ่ายบริหารเป็นอุปสรรคสำคัญ รายงานสรุปว่ามี 4 ปัจจัยที่จะช่วยปลดล็อกการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นต้องเกิดขึ้น ประกอบด้วย

ขยายกลุ่มผู้สมัครด้วยการยกเลิกการกำหนดคุณสมบัติด้านประสบการณ์ทำงานและวุฒิการศึกษา และหันมาให้ความสำคัญกับการรับรองคุณสมบัติและสิ่งบ่งชี้ทักษะประเภทอื่น ๆ

ระหว่างกระบวนการจ้างงาน ใช้การประเมินทางเทคนิคเพื่อทดสอบว่าผู้สมัครมีทักษะที่จำเป็นสำหรับงานนั้น ๆ ตลอดกระบวนการ ให้ความสนใจกับทักษะทั้งเชิงพฤติกรรมและเชิงเทคนิค ปรับวิธีการจ้างทีมงานเพื่อลดอคติแฝงและเพิ่มความหลากหลายของบุคลากร

เจเนอเรชันจะรวบรวมแนวร่วมผู้ว่าจ้างระดับโลกที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงดังที่งานวิจัยนี้มุ่งผลักดัน และเผยแพร่ผลลัพธ์ต่อสาธารณะเพื่อสร้างทางออกที่ยั่งยืนซึ่งสามารถนำไปใช้ในหมวดธุรกิจต่าง ๆ และทั่วโลก เพื่อก้าวต่อไปในการสำรวจความเป็นไปได้ของแนวทางแบบมุ่งเน้นทักษะ

คุณโมนา มัวร์เชด ( Mona Mourshed) ซีอีโอผู้ก่อตั้งเจเนอเรชัน กล่าวว่า”บันไดขั้นแรกของงานสายเทคโนโลยีผุพังไปแล้ว ทุก ๆ วันที่เจเนอเรชัน เราอยู่ท่ามกลางจุดตัดระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้เรียนรู้หลายพันราย และเห็นความไม่สอดคล้องในกระบวนการจ้างงานที่ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะได้เข้าทำงานสำหรับบุคคลผู้มีความสามารถที่มาจากพื้นเพซึ่งถูกละเลยในประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้เราจึงดำเนินการวิจัยนี้เพื่อช่วยผู้ว่าจ้างและสังคมขจัดการอุดตันในสายท่อของงานสายเทคโนโลยีในตำแหน่งระดับเริ่มต้นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งนี้ ขั้นต่อไปคือการสำรวจลงลึกยิ่งขึ้นว่าแนวทางใดใช้ได้ผล ดิฉันตื่นเต้นที่ได้ร่วมมือกับแนวร่วมผู้ว่าจ้างระดับโลกที่มุ่งมั่นในการเปิดโอกาสในสายเทคโนโลยีสำหรับผู้คนจำนวนมากขึ้น”

คุณมาร์ตินา ซานาว ( Martina Sanow) ผู้ควบคุมดูแลมูลนิธิเดอะเอชจี องค์กรการกุศลผู้มอบเงินทุนโดยให้ความสำคัญกับการขจัดอุปสรรคต่อการศึกษาและทักษะด้านเทคโนโลยี และหุ้นส่วนของเอชจี กล่าวว่า

ผู้ที่มาจากพื้นเพที่หลากหลายและไม่ได้ดำเนินตามเส้นทางแบบดั้งเดิมถือเป็นกลุ่มผู้มีศักยภาพที่จะเป็นบุคลากรผู้มีความสามารถกลุ่มใหญ่สำหรับภาคเทคโนโลยี งานวิจัยชิ้นสำคัญนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในความเข้าใจของเราเกี่ยวกับตลาดบุคลากรผู้มีความสามารถในตำแหน่งระดับเริ่มต้นในระดับโลก ตลอดจนแหล่งของความท้าทายและโอกาส ก้าวต่อไปที่สำคัญคือการดำเนินการต่อตามข้อเสนอแนะของรายงาน และทดลองแนวทางการสรรหาบุคลากรเชิงนวัตกรรมกับผู้ว่าจ้าง โดยใช้ประโยชน์จากทักษะของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส”

………………………

หมายเหตุ

ระเบียบวิธี ข้อค้นพบในรายงานฉบับนี้มาจากการสำรวจที่สั่งดำเนินการโดยเจเนอเรชัน ซึ่งดำเนินการในภาคสนามระหว่างวันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 ถึง 9 มกราคม 2566 การศึกษานี้ประกอบด้วยบุคคลผู้ได้รับการว่าจ้าง (อายุ 18 ปีขึ้นไป) บุคคลผู้ว่างงาน (อายุ 18 ปีขึ้นไป) และผู้จัดการฝ่ายการจ้างงานและฝ่ายเทคนิคขององค์กรผู้ว่าจ้าง

การสำรวจได้รับคำตอบ 4,023 รายการจากบุคคลผู้ได้รับการว่าจ้างและผู้ว่างงาน และ 1,325 รายการจากผู้ว่าจ้าง ในบราซิล แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย เม็กซิโก สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

……………………….

เกี่ยวกับเจเนอเรชัน

เจเนอเรชัน (Generation) คือเครือข่ายไม่แสวงกำไรระดับโลกด้านการจ้างงานซึ่งสนับสนุนผู้คนให้บรรลุการขยับสถานะทางเศรษฐกิจเพื่อที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของตน เราฝึกและนำบุคคลวัยผู้ใหญ่เข้าสู่อาชีพที่มิเช่นนั้นแล้วจะไม่สามารถเข้าถึงได้ ประกอบกับมุ่งปรับปรุงพัฒนาการทำงานของระบบการศึกษาสู่การจ้างงาน เจเนอเรชันก่อตั้งเมื่อปี 2558 ประกอบด้วยศูนย์กลางระดับโลกและเครือข่ายองค์กรในเครือภายในประเทศซึ่งกระจายตัวอยู่ใน 17 ประเทศ จนถึงปัจจุบัน เจเนอเรชันมีผู้จบการศึกษากว่า 80,000 คนที่ได้รับค่าจ้างรวมกว่า 630 ล้านดอลลาร์ เจเนอเรชันทำงานกับผู้ว่าจ้าง พันธมิตรผู้ดำเนินการ และผู้ให้ทุนกว่า 11,000 ราย ดูเพิ่มเติมได้ที่ generation.org

 

เกี่ยวกับมูลนิธิเดอะเอชจี

มูลนิธิเดอะเอชจี (The Hg Foundation) มีวิสัยทัศน์มุ่งให้กำลังแรงงานสายเทคโนโลยีแห่งอนาคตใช้ประโยชน์จากความสามารถของทุกคนโดยไม่แบ่งแยกพื้นเพ ด้วยการสนับสนุนโครงการด้านการศึกษาและการจ้างงานในสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และยุโรป ที่ซึ่งมูลนิธิเดอะเอชจีสามารถแสดงผลกระทบระยะยาวที่วัดขนาดได้และขยายได้ พร้อมทั้งสร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่ผู้ที่ต้องการมากที่สุด จนถึงปัจจุบันมูลนิธิเดอะเอชจีได้มอบการสนับสนุนรวม 14 ล้านดอลลาร์สำหรับโครงการที่จะเข้าถึงคนรุ่นใหม่และผู้ใหญ่ 10,000 คนจากภูมิหลังด้อยโอกาส มูลนิธิเดอะเอชจีเป็นองค์กรการกุศลจดทะเบียนหมายเลข 1189216 ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.thehgfoundation.com/

 

 

You may also like

เปิดตัวดัชนีชี้วัดความปลอดภัยของเด็ก บนโลกออนไลน์ทั้งในระดับชาติและระดับโลก

เปิดตัวด