Google ให้ข้อมูลดาวเทียมฟรี ช่วยตรวจจับไฟป่า AI ตรวจหาไฟป่าที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว

Google ให้ข้อมูลดาวเทียมฟรี ช่วยตรวจจับไฟป่า AI ตรวจหาไฟป่าที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว

Google ให้ข้อมูลดาวเทียมฟรี ช่วยตรวจจับไฟป่า

AI ตรวจหาไฟป่าที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว

สุทธิชัย ทักษนันต์

Google และพันธมิตรกำลังพัฒนาโครงการ FireSat เพื่อตรวจจับไฟป่าได้เร็วขึ้น แม่นยำยิ่งขึ้น

FireSat มีกลุ่มดาวเทียม 52 ดวงที่ให้ AI ตรวจจับไฟป่า สามารถตรวจจับไฟขนาดเล็กถึง 5×5 เมตรได้ทั่วโลก อัพเดทภาพทุก 20 นาที โดย Google สนับสนุนเงินทุน 13 ล้านดอลลาร์ คาดว่าจะเริ่มส่งดาวเทียมดวงแรกขึ้นสู่วงโคจรโลกต้นปี 2025

การตรวจพบไฟป่าได้เร็วขึ้น ทำให้ดับไฟได้เร็วขึ้นก่อนลุกลามใหญ่โต สามารถอพยพประชาชนได้เร็วขึ้น ช่วยวางแผนการจัดสรรทรัพยากรการดับไฟได้ดีขึ้น และเป็นผลดีต่อการวางแผนระยะยาวเพื่อทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกับไฟป่าได้อย่างปลอดภัยในอนาคต

ข้อมูลจาก FireSat ของ Google จะแจกจ่ายให้ฟรีแก่หน่วยงานดับไฟทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีทรัพยากรจำกัด

NASA ประเมินว่ามีไฟป่าเกิดขึ้นราว 370,000 – 690,000 ครั้งต่อปี

แอฟริกา มีไฟป่าเกิดขึ้นบ่อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในซาวันนาและบริเวณทุ่งหญ้า

อเมริกาเหนือและใต้ มีไฟป่าขนาดใหญ่เกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน

ออสเตรเลีย มีฤดูไฟป่าที่ชัดเจน มักเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนและฤดูแล้ง

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีไฟป่าและไฟจากการแอบเผา เกิดขึ้นบ่อยในช่วงฤดูแล้ง

ไฟป่าถูกมองด้านลบว่าเป็นตัวทำลาย แต่ที่จริงเป็นเรื่องธรรมชาติที่ส่งผลบวกหลายด้าน เช่น การฟื้นฟูระบบนิเวศ การรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้เกิดถิ่นที่อยู่อาศัยใหม่ ควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช ฯลฯ

ไฟป่า และไฟต่างๆ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติเท่านั้น มีการใช้ไฟเผาพืชผลทางเกษตร และยังมีการจุดไฟโดยประมาทด้วย

การแทรกแซงธรรมชาติของมนุษย์ มีส่วนทำให้เกิดไฟป่ามากขึ้นทั่วโลก และส่งผลรุนแรงต่อสภาพแวดล้อมโดยรวม เช่น การสร้างบ้านเรือนใกล้ป่า การทำลายป่าเพื่อการเกษตร การปล่อยก๊าซเรื่อนกระจก การทิ้งขยะในป่า การจุดไฟเล่นหรือทิ้งก้นบุหรี่ การเปลี่ยนแปลงระบบน้ำ การนำพืชต่างถิ่นเข้ามา

การดับไฟป่าที่ไม่มีการบริหารจัดการที่ดี ก็อาจเป็นผลทำให้มีโอกาสเกิดไฟป่าเพิ่มขึ้น เพราะเศษใบไม้สะสมกันมากๆ อาจกลายเป็นเชื้อเพลิงให้ไฟป่าครั้งต่อไปรุนแรงขึ้น

ข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมตรวจจับไฟป่า จะช่วยทำให้การวางแผนรับมือกับปัญหานี้ทำได้ดีขึ้น เช่น การเผาตามกำหนด การจัดการกับเชื้อเพลิงเชิงกล การสร้างแนวกันไฟ การปลูกป่าหลายหลายชนิด การให้ความรู้แก่ชุมชน การใช้เทคโนโลยีในการตรวจจับและคาดการณ์ การจัดการพื้นที่แบบบูรณาการ การฟื้นฟูพื้นที่หลังไฟป่า ฯลฯ

โลกมีระบบการสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่การทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงของมนุษย์ทำให้เกิดความไม่สมดุล

การใช้เทคโนโลยีอย่างดาวเทียมตรวจจับไฟป่า เป็นการแทรกแซงด้านบวกที่อาจช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมของโลกไม่แย่ลงไปมากกว่านี้…

You may also like

คปภ.เดินหน้า! เปิดเวทีสัมมนาวิชาการด้านประกันภัย ประจำปี 2567 “Thailand Insurance Symposium 2024”

 นายชูฉั