เปิดตัวทีมบุคลากรดิจิทัลไทยเจนใหม่ “หัวเว่ย”จัดให้ จาก “พลเมืองดิจิทัล” สู่ “บุคลากรดิจิทัล”

เปิดตัวทีมบุคลากรดิจิทัลไทยเจนใหม่ “หัวเว่ย”จัดให้ จาก “พลเมืองดิจิทัล” สู่ “บุคลากรดิจิทัล”

เปิดตัวทีมบุคลากรดิจิทัลไทยเจนใหม่

“หัวเว่ย”จัดให้ จาก “พลเมืองดิจิทัล” สู่ “บุคลากรดิจิทัล”

   จากจุดเริ่มต้นในการเดินทางของการแข่งขัน Huawei ICT Competition 2022-2023 (ประจำปี พ.ศ. 2565-2566) ที่บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เปิดตัวโครงการการแข่งขันทักษะด้านดิจิทัลในระดับนักศึกษามหาวิทยาลัย โดยมีผู้แข่งขันเข้าร่วมกว่า 200 คนจากทั่วประเทศ นับตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา   

เมื่อไม่นานมานี้ หัวเว่ย ประเทศไทย พร้อมพันธมิตรจากภาครัฐและเอกชน ได้ร่วมกันจัดพิธีปิดการแข่งขัน Huawei ICT Competition 2023  พร้อมฉลองความสำเร็จของทีมนักศึกษาไทยที่ได้รับทุนการศึกษาและรางวัลรวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท รวมถึงสนับสนุนด้านอุปกรณ์อันทันสมัยเพื่อประโยชน์ด้านการศึกษา และโอกาสที่จะได้เข้าฝึกงานกับหัวเว่ยต่อไป

นอกจากความสำเร็จในการคว้าชัยชนะเลิศระดับประเทศแล้ว น้อง ๆ เยาวชนทีมชนะเลิศได้เผยถึงความรู้สึกที่ได้เข้าร่วมตลอดเส้นทางการแข่งขัน รวมถึงความภูมิใจในการเป็นตัวแทนทีมนักศึกษาของประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันชิงชนะเลิศในรอบ Huawei ICT Competition 2022-2023 Regional Final round ระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ณ กรุงจาร์กาตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

น้อง ๆ นักศึกษาทีม “First Timer” – จากความภูมิใจ สู่แรงบันดาลใจในการยกระดับเทคโนโลยีเน็ตเวิร์ก และ IoT เพื่อคนทั้งโลก

……………………………..

นายณัฐพัชร์ บัวคำโคตร์ นายธีรวีร์ ฐิติวัฒนากรศิริ และนายนพณัฐ คำเมือง นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จากทีม “First Timer” ผู้คว้ารางวัลชนะเลิศ ในสาขา Network Track ได้เปิดใจถึงชัยชนะและสิ่งที่ได้จากการเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ “ถือเป็นครั้งแรกของพวกเราทั้งสามคนในการรวมตัวกันเพื่อลงแข่งขันด้านเน็ตเวิร์กในเวทีระดับประเทศ พวกเราทุกคนจึงรู้สึกดีใจมากกับการคว้าชัยชนะในครั้งนี้ ซึ่งมีความท้าทายในทุกรอบของการแข่งขัน ตั้งแต่การเข้าเวิร์กชอป การแข่งขัน การตัดสินของคณะกรรมการ รวมไปถึงการแข่งขันรอบ Final ในระดับภูมิภาคที่ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งโจทย์ที่ได้คือการออกแบบโซลูชันไอที เพื่อตอบโจทย์และครอบคลุมความต้องการขององค์กร ในการวางระบบเน็ตเวิร์กภายในให้กับองค์กรทั้งสำนักงานใหญ่และสาขา ด้วยการใช้ Wi-Fi การออกแบบและติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ การวางระบบ Firewall และการเชื่อมต่อ ด้วยเทคโนโลยีที่กำหนดให้ เพื่อสร้างความปลอดภัยสูงสุดให้กับองค์กร”

“สำหรับความสำเร็จในการคว้าชัยชนะสาขา Network Track ครั้งนี้ เราขอขอบคุณคณะอาจารย์ที่คอยให้คำปรึกษา โดยเฉพาะในช่วงการแข่งขันรอบไฟนอลที่ประเทศอินโดนีเซีย รวมถึงหัวเว่ยที่ให้ความรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ โดยเฉพาะหลักสูตร “We Know How” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเวิร์กชอปอีกด้วย”

“การแข่งขันในเวทีนี้ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า การต่อยอดความรู้และทักษะด้านไอทีในตลาดเป็นอย่างไร และได้สร้างแรงบันดาลใจสำคัญ ทำให้เราเป็นมากกว่า “พลเมืองดิจิทัล” และพร้อมก้าวสู่ “บุคลากรดิจิทัล” ที่มีทักษะ เพื่อยกระดับเทคโนโลยีให้กับคนทั่วโลกได้มีโอกาสเข้าถึง เราตั้งปณิธานในการร่วมกันพัฒนา IoT  (Internet of Things) หรือการเชื่อมต่อถึงกันและแบ่งปันข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตของอุปกรณ์ เทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์กับระบบคลาวด์ให้กับประเทศไทยและโลกของเราได้ในอนาคต”

ทีม “FASCINATOR” ทีมชนะเลิศในสาขา Cloud Track – ความหลงใหลในเทคโนโลยี คลาวด์ คอมพิวติ้ง จุดประกายสู่ชัยชนะ และการก้าวสู่บุคลากรดิจิทัลที่มีคุณภาพในอนาคต

………………………………………

ขณะที่ทีม “FASCINATOR” ทีมชนะเลิศสาขา Cloud Track ซึ่งประกอบด้วย น.ส.ดุษฎี เลิศอภิรักษ์วงศ์ และ น.ส.ทัตพิชา วงษา นักศึกษาปริญญาตรีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ น.ส.ภัทรวรินทร์ ลูกน้ำเพชร นักศึกษาปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้กล่าวถึงการคว้าชัยชนะในครั้งนี้ว่า “ด้วยความหลงใหลในเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ พวกเราทั้งสามคนจึงมองว่า เราสามารถเป็นมากกว่า “พลเมืองดิจิทัล” ของประเทศได้ นอกจากใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อเอื้อกับการใช้ชีวิตแล้ว เรายังต้องการเป็น “บุคลากรดิจิทัล” ให้ได้ เราจึงตัดสินใจฟอร์มทีม “FASCINATOR” ซึ่งหมายถึงความหลงใหลที่มีร่วมกัน และเข้าร่วมแข่งขัน Huawei ICT Competition 2022-2023”

“พวกเราได้รับโจทย์ในการทำโปรเจคด้านเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง จึงมีโอกาสเรียนรู้ทฤษฎีเชิงลึก การฝึกอบรม เวิร์กชอป รวมถึงการทำแล็บ และที่ท้าทายที่สุดคือการเข้าร่วมแข่งขันรอบไฟนอลในระดับภูมิภาคที่ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเราได้เรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมากมายผ่านภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยเฉพาะการใช้หัวเว่ยคลาวด์ในการทำแล็บ และออกแบบโซลูชันคลาวด์ตามโจทย์ที่ได้รับโดยประยุกต์ใช้หัวเว่ยคลาวด์ รวมถึงทรัพยากรด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ของหัวเว่ย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด”

“เราขอขอบคุณหัวเว่ย ที่สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งความรู้ด้านเทคโนโลยีให้กับนิสิตนักศึกษาได้เป็นอย่างดีและเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมแข่งขัน Huawei ICT Competition 2022-2023 ได้เสริมองค์ความรู้ครบทุกด้าน ทำให้เราเห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งของหัวเว่ย ที่สามารถนำมาตอบโจทย์ความต้องการให้กับผู้ใช้ได้จริงในทุกระดับ ชัยชนะของเราในครั้งนี้ได้จุดประกายให้เราต่อยอดองค์ความรู้ สู่การเป็นบุคลากรดิจิทัลที่เปี่ยมด้วยคุณภาพขององค์กร และยังจะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลได้อย่างไร้รอยต่ออีกด้วย”

ด้านอาจารย์ที่ปรึกษาของทีม “First Timer” และทีม“FASCINATOR” ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.โชติพัชร์ ภรณวลัย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเมธ ประภาวัต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลภัส ประดิษฐ์ทัศนีย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา กิ้มปาน ได้กล่าวเสริมถึงการแข่งขัน Huawei ICT Competition 2022-2023 ในครั้งนี้ว่า “ในยุคเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี เราทุกคนตระหนักว่าเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งเทคโนโลยีด้านเน็ตเวิร์ก คอมพิวเตอร์ และ AI ซึ่งเทคโนโลยีต่าง ๆ ต้องทำงานร่วมกัน หากเราสอดประสานเทคโนโลยีทั้งหมด จะส่งผลให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และการเอื้อในการใช้ชีวิตที่ดียิ่งขึ้น เราขอขอบคุณหัวเว่ย ที่จัดการแข่งขัน Huawei ICT Competition 2022-2023 ขึ้น ถือเป็นการสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างภาครัฐ สถาบันการศึกษา และเอกชน นำไปสู่การพัฒนาเครือข่ายดิจิทัลของประเทศให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนั้น ยังสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษาในการพัฒนาตนเอง ซึ่งจากการแข่งขันที่ผ่านมาเราได้เห็นความสนใจของนักศึกษาในเทคโนโลยีของหัวเว่ยด้านเน็ตเวิร์ก คลาวด์ คอมพิวติ้ง โทรคมนาคม และ AI เป็นพิเศษ

อาจารย์ที่ปรึกษากล่าวต่อว่า “ประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากรดิจิทัลอีกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากตลาดงานด้านไอทีต้องการแรงงานเฉพาะทาง ซึ่งสิ่งนี้เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลของประเทศ ดังนั้น สถาบันฯ จึงมุ่งมั่นให้ความรู้และพัฒนานักศึกษา รวมถึงสนับสนุนให้เข้าร่วมแข่งขันในเวทีต่าง ๆ เพื่อเปิดโอกาสในการรับความรู้และพัฒนาทักษะใหม่ ๆ และก้าวสู่การเป็นแรงงานทักษะดิจิทัลที่มีศักยภาพและมีประสิทธิภาพ และเราหวังว่าจะช่วยความสมบูรณ์ในอีโคซิสเต็มของตลาดงานของประเทศต่อไปในอนาคต”

หัวเว่ยมุ่งมั่นในการพัฒนาบุคลากรดิจิทัล เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มไอซีทีที่สมบูรณ์ให้กับประเทศไทย สอดคล้องกับพันธกิจ “เติบโตพร้อมกับประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย (Grow in Thailand, Contribute to Thailand)” โดยตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ฝึกอบรมบุคลากรที่ดิจิทัลไปกว่า 70,000 คน สำหรับปี พ.ศ. 2566 หัวเว่ยตั้งเป้าสร้างนักพัฒนาด้านไอซีทีอีก 10,000 คน และภายใน 3 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2566-พ.ศ. 2568) หัวเว่ยตั้งเป้าสร้างนักพัฒนาด้านคลาวด์อีกกว่า 20,000 คน เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มไอซีทีที่แข็งแกร่งให้กับประเทศ

………………..

เกี่ยวกับหัวเว่ย

หัวเว่ยคือผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และสมาร์ทดีไวซ์ ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2530 โดยหัวเว่ยมีพนักงานกว่า207,000คน ดำเนินธุรกิจในกว่า170ประเทศทั่วโลก ให้บริการผู้คนมากกว่า 3,000 ล้านคนทั่วโลก   

วิสัยทัศน์และพันธกิจของหัวเว่ยคือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่การใช้งานทุกระดับเพื่อทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อวางรากฐานให้แก่โลกอัจฉริยะ หัวเว่ยได้ส่งมอบการประมวลผลคอมพิวเตอร์หลากหลายรูปแบบทุกที่ ทุกเวลาที่คุณต้องการ เพื่อนำเทคโนโลยีคลาวด์และความอัจฉริยะเข้าสู่ทั่วทุกมุมโลก สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลที่จะช่วยทุกภาคอุตสาหกรรม ทุกองค์กร ให้มีความยืดหยุ่น มีประสิทธิภาพ และมีพลวัตร รวมทั้งสร้างนิยามใหม่ให้แก่ประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ด้วย AI เพื่อเสริมสร้างความชาญฉลาดและออกแบบให้ตอบรับกับความต้องการเฉพาะของผู้คนในทุกแง่มุมของชีวิต ทั้งการใช้ชีวิตที่บ้าน ระหว่างการเดินทาง ที่ออฟฟิศ ในการสันทนาการ หรือแม้แต่ระหว่างการออกกำลัง

You may also like

เปิดตัวดัชนีชี้วัดความปลอดภัยของเด็ก บนโลกออนไลน์ทั้งในระดับชาติและระดับโลก

เปิดตัวด