“ทางออก” ของประเทศไม่ใช่ “ลาออก” หรือ “ไม่ลาออก” แต่ “ม็อบ” กับ “ลุงตู่” เป็นของคู่กัน??

“ทางออก” ของประเทศไม่ใช่ “ลาออก” หรือ “ไม่ลาออก” แต่ “ม็อบ” กับ “ลุงตู่” เป็นของคู่กัน??

"ทางออก" ของประเทศไม่ใช่ "ลาออก" หรือ "ไม่ลาออก" แต่ "ม็อบ" กับ "ลุงตู่" เป็นของคู่กัน??

นายจักรยาน

                การประชุมรัฐสภา ร่วมกันระหว่าง ส.ส. และ ส.ว.ที่ผ่านมา เพื่อหา "ทางออก" ในการดับวิกฤติของสถานการณ์การเมือง  ก็ยังไม่มี "ทางออก" ที่เป็นรูปธรรมให้เห็นว่าจะออกกันอย่างไร

            เนื่องจาก "ฝ่ายค้าน" มุ่งเน้นให้ "ลุงตู่" พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีที่นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีมา 6 ปีเศษ ๆ เกือบจะ 7 ปี "ลาออก" ประการเดียว

                ส่่วน "รัฐบาล" และผู้ที่สนับสนุน "ลุงตู่" ว่าไม่ต้อง "ลาออก"!!

                เมื่อแต่ละขั้วยืนยันเสียงแข็งในเรื่อง "ออก" กับ "ไม่ออก"  ก็เลยไม่มีทางออก  เพราะต่างฝ่ายใช้เวลาหาเรื่องแสดงโวหารวาทะกรรมเพื่อให้ประชาชนที่เฝ้าติดตามชมดูดี

                แต่ทว่าความจริงก็คือ  "ไม่เข้าท่า" อะไรเลย   เสียเวลาเปิดประชุมสมัยวิสามัญ  เสียดายน้ำลายของคนที่พูด  เสียค่าน้ำค่าไฟในการประชุมรัฐสภา  และที่สำคัญสุด ๆ เสียเวลาของประชาชนที่ตั้งหน้าตั้งตาฟังว่าจะมี "ทางออก" อย่างไรในการดับชนวนปัญหาความขัดแย้งในสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้

                ก็ไม่รู้ว่าประชาชนทั้งประเทศจะสมหวังหรือผิดหวังบรรดาท่านผู้ทรงเกียรตินักการเมืองที่ ส.ส. และ ส.ว.??

                หรือปัญหาทั้งหมดมาจาก "นักการเมือง" ที่มองแต่พวกฝ่ายตนเอง  โดยไม่มองถึงประเทศชาติเป็นที่ตั้ง!!

                แม้ว่่า "ท่านชวน หลีกภัย" ประธานรัฐสภา จะให้รัฐสภาเป็นเจ้าภาพในการแก้ไขวิกฤติดังกล่าว โดยให้สถาบันพระปกเกล้าเสนอรูปแบบตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ขึ้นมา ประกอบด้วยทุกฝ่ายที่เกี่ยวพันกับปัญหายุ่ง ๆ อีรุงตุงนังของบ้านเมืองในเวลานี้

                ปรากฎว่า "ฝ่ายค้าน" รีบประกาศก่อนทั้ง ๆ ที่ยังไม่เห็นความชัดเจนของรูปแบบคณะกรรมการสนานฉันท์จะเป็นแบบไหนว่า "ไม่ขอร่วมเป็นคณะกรรมการ" !?!

                ก็ไม่อยากสรุปทันทีว่า ปัญหาที่แก้ไขไม่ได้เป็นเพราะ "ฝ่ายค้่าน" ไม่ยอมร่วมมือ  เนื่องจากเอาแต่ "แค้น" ที่ "ลุงตู่" ไม่ลาออกตามใจฝ่ายค้าน??

                ดังนั้น คณะกรรมการสมานฉันทฺ์ที่จะจัดตั้งขึ้นมานั้น  ต้องรอดูกันต่อไปว่าหน้าตาจะเป็นอย่างไร  และจะสามารถทำให้เกิดความสมานฉันท์จริงของคนทุกรุ่นทุกกลุมในชาติได้หรือไม่

                ส่วนเรื่องเรียกร้องให้ "แก้ไขรัฐธรรมนูญ" นั้นกำลังเดินหน้าเกิดขึ้นจริงตามขั้นตอนของการศัลยกรรมรัฐธรรมนูญปี 2560 ให้มีหน้าตาดีไม่ขึ้เหร่ที่ซุกซ่อนอยู่ในเนื้อหา  โดยจะคิกอ๊อฟตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป

                โดยทุกฝ่ายตั้งความหวังว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ  การทำประชามติ  และการเลือกตั้งใหม่ตามรัฐธรรมนูญที่แก้ไขใหม่จะสำเร็จเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2564!!

                ซึ่ง "ลุงตู่" ได้เปรย ๆ ในที่ประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญให้ ส.ส.รัฐบาล ส.ส.ฝ่ายค้าน และ ส.ว.ซ รวมทั้ง "ม็อบ" ได้ยินกับรูหูว่าพร้อมที่จะ "ยุบสภา" เมื่อรัฐธรรมนูญที่แก้ไขแลัวได้มีผลบังคับใช้แล้ว

                มีผู้ปรารถนาดีถึง "ลุงตู่" ฝากบอกมาว่า  ถ้า "ลุงตู่"  ประกาศย้ำชัดเจนอย่างแน่ชัดว่า เมื่อ่กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วจะ "ยุบสภา" ทันทีไม่รีรอขอเวลาอีกไม่นาน  เพื่อให้นักการเมืองทุกฝ่ายได้เตรียมเนื้อเตรียมตัวกระโดดลง่สนามเลือกตั้งได้เต็มที่ตามสไตล์การหาเสียงของตนเอง

                นับแต่วันนี้ไปจนถึงปลายปี 2563 "ลุงตู่" ยังไม่่เอ่อเอื้อนชัด ๆ เรื่อง "ยุบสภา" เพื่อให้เลือกตั้งภายในปี 2564  ก็อยากให้ "ลุงตู่" ประกาศชัดเจนไปเลยตอนต้นปี 2564  เพื่อให้ปี 2564 เป็นปีแห่งการเลือกตั้งของประเทศชาติ

                ไม่มีใครสามารถคาดเดาได้ว่าภายหลังเลือกตั้งใหม่แล้ว  จะเกิดวิกฤติอะไรอุบัติขึนมารอีกหรือไม่??

                ที่แน่ ๆ "นายกรัฐมนตรี" คนใหม่ตามรัฐธรรมนูญที่่ปรุงสำเร็จแล้วจะต้องมาจาก ส.ส.เขตหรือปาร์ตี้ลิสต์เท่านั้น  ห้าม "คนนอก" เขัามาจุ้นเด็ดขาด

                ถ้ารัฐธรรมนูญใหม่ยังให้มี ส.ว. อีก ก็คงต้องมาจาการเลือกตั้ง หรือผสมผสานกันระหว่างเลือกตั้งกับแต่งตั้งจากสาขาอาชีพต่าง ๆ  แต่เชื่อว่า ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งจะมีมากกว่าการแต่งตั้ง

                ซึ่งจำนวน ส.ว.จะมีเพียง 150-200 ท่านผู้มีเกียรติ  รับรองได้ว่าไม่มีมากมายถึง 250 คนแน่ และก็ห้าม ส.ว.ยกมือหนุนใครเป็น "นายกรัฐมนตรี" ปล่อยให้เป็นหน้าที่มือ ส.ส.ของพรรคการเมืองเพียงฝ่ายเดียว

                หลายคนเฝ้าจับตาดูว่า การเลือกตั้งครั้งหน้าจะมีอะไร "เซอร์ไพร้เบิ้ม ๆ " หรือไม่ที่ทำให้วงการเมืองฮือฮา

                ถ้า "ลุงตู่" ขอเวลาน้่งเก้าอี้ "นายกรัฐมนตรี" ต่อไปอีก  ก็ต้องสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมือง  สมัครลง ส.ส. เขตหรือปาร์ตี้ลิสต์ ของพรรคพลังประชารัฐ ก็จะเป็นอะไรที่เซอร์ไพร้แบบเบิ้ม ๆ ได้ในทางการเมือง

                ถ้าอีกที   "ลุงตู่" ขอล้างมือในอ่างทองคำปลีกวิเวกไม่เล่นการเมืองต่อไปอีก  ก็ต้องมองกันหลายช็อตวิเคราะห์กันหลายชั้นจากรายชื่อของผู้สมัครลงเลือกตั้งของทุกพรรคการเมืองว่าคนไหนเหมาะที่จะนั่งเก้าอี้ "นายกรัฐมนตรี" คนต่อไป

                วันนี้ยังไม่รู้  แต่ใกล้ถึงวันเลือกตั้งก็จะถึงจะรู้ว่าใครคนไหนหน้าตาเป็นอย่างไร จากรายขื่อของผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่เข้าสู่สัปยุทธการเลือกตั้ง

                และไม่มีใครทำนายล่วงหน้าได้ว่า "นายกรัฐมนตรี "คนใหม่จากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญที่แก้ไขใหม่จะต้องผจญกับ "ม็อบ" รายวันหรือไม่??

                ถ้าสมมติว่า "ลุงตู่" ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. และคัมแบ็กกลับมาเป็น "นายกรัฐมนตรี" จากกฎกติกามารยาทของรัฐธรรมนูญใหม่

            รับรองว่า "ลุงตู่" จะต้องเผชิญกับ "ม็อบ" อีกแน่??

            เพราะ "ม็อบ" กับ "ลุงตู่" เป็น "บุพเพสันนิวาส" ที่่พรมได้ลิขิตให้อยู่คู่กันตามระบอบประชาธิปไตยแบบไทย ๆ !!

 

 

You may also like

มาสเตอร์การ์ดเปิดตัว Pay Local เพิ่มช่องทางผู้ให้บริการกระเป๋าเงินดิจิทัลในเอเชีย รับชำระเงินจากผู้ถือบัตรมาสเตอร์การ์ดกว่า 2 พันล้านราย

มาสเตอร์