ผ่าแนวคิดบิ๊ก ZTE   Cui Li ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพัฒนา ผลักดันการปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่ร่วมกับผู้ให้บริการดิจิทัล

ผ่าแนวคิดบิ๊ก ZTE   Cui Li ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพัฒนา ผลักดันการปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่ร่วมกับผู้ให้บริการดิจิทัล

ผ่าแนวคิดบิ๊ก ZTE  

Cui Li ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพัฒนา

ผลักดันการปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่ร่วมกับผู้ให้บริการดิจิทัล

                ZTE Corporation ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันโทรคมนาคมและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมือถือสำหรับองค์กรและผู้บริโภค ประกาศวันนี้ว่า Cui Li ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพัฒนาของบริษัท ได้กล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อการปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่ร่วมกับผู้ให้บริการดิจิทัล (Embracing a New Era with Digital Service Providers) ในงานประชุม ZTE Global Analyst Conference

                ด้วยความต้องการบริการด้านข้อมูลที่เพิ่มสูงขึ้น ผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะและผู้ให้บริการโทรคมนาคมจำนวนมากต่างมุ่งพัฒนานวัตกรรมข้ามพรมแดนอย่างแข็งขัน ด้วยความคาดหวังที่จะคว้าโอกาสใหม่ ๆ ตั้งแต่ในระยะแรกเริ่มของการพุ่งทะยานรอบใหม่ของเศรษฐกิจดิจิทัล ในการนี้ ZTE เชื่อว่าการเสริมสร้างรากฐานดิจิทัลควบคู่กับคุณสมบัติของบริการดิจิทัลจะช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถบรรลุการเปลี่ยนแปลง จากการเป็นผู้ให้บริการการสื่อสารแบบดั้งเดิมสู่การเป็นผู้ให้บริการดิจิทัลแห่งอนาคต อีกทั้งยังจะช่วยเร่งการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลและระบบอัจฉริยะของสังคม

                “ZTE มีความมุ่งหวังที่จะเสริมสร้างรากฐานดิจิทัลด้วยสมรรถนะของเครือข่ายที่เพิ่มขึ้น สมรรถนะดิจิทัลที่ขยายขอบเขตกว้างขึ้น และการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ให้บริการบรรลุการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล ตลอดจนเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้ดียิ่งขึ้น และอยู่ในแนวหน้าของการแข่งขันในอนาคต พร้อมทั้งสร้างมูลค่าและได้รับชัยชนะแห่งอนาคตไปด้วยกัน” คุณ Cui กล่าว

                การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลเป็นเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ องค์กรต่าง ๆ จะต้องช่วงชิงจังหวะในการริเริ่ม

                “ขณะนี้การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลเป็นเทรนด์ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ การเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลจะนำมาซึ่งผลประโยชน์เชิงดิจิทัลและความได้เปรียบในการแข่งขันสำหรับเราอย่างแน่นอน” คุณ Cui ย้ำ “ยุคแห่งบริการดิจิทัลจะเป็นจุดเริ่มต้นของการแข่งขันรอบใหม่สู่ตลาดที่กำลังขยายตัว”

                จากมุมมองของสภาพแวดล้อมระดับมหภาค ประการแรก เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นหนึ่งแรงขับเคลื่อนสำคัญสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพสูง และเราต้องปรับตัวตามแนวโน้มใหม่นี้ ประการที่สอง ความไม่แน่นอนที่เพิ่มสูงขึ้นในสภาพแวดล้อมระดับโลกบีบให้องค์กรต่าง ๆ ต้องเพิ่มสมรรถนะในการป้องกันความเสี่ยง ประการที่สาม ผู้คนมีความตระหนักรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลได้กลายเป็นทางออกสำหรับประเทศสำคัญต่าง ๆ ในการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน

                จากมุมมองระดับตลาด ขณะที่บริการการสื่อสารแบบดั้งเดิมมาถึงจุดที่แตะเพดานของรายรับแล้ว ตลาดบริการดิจิทัลที่มุ่งเน้นการทำงานประสานกันของคลาวด์-เครือข่ายกำลังค่อย ๆ ขยายตัวขึ้น

                จากการวิเคราะห์ของคุณ Cui สรุปได้ว่า ประการแรก ในยุคหลังวิกฤตโรคระบาด บ้านอัจฉริยะได้กลายเป็นสภาพแวดล้อมแบบใหม่ที่บูรณาการการทำงาน การศึกษา และความบันเทิงเข้าด้วยกัน การพัฒนาการประยุกต์ใช้บ้านอัจฉริยะ อย่างเช่น วิดีโอ 4K/8K และ VR/AR จะขับเคลื่อนการเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาด ประการที่สอง ระบบอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งอัจฉริยะ (intelligent Internet of everything – IIoE) จะช่วยให้เกิดการเติบโตอย่างฉับพลันของเทอร์มินอลที่เชื่อมต่อกัน การประมวลผลข้อมูลปริมาณมหาศาลจะก่อให้เกิดความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับสมรรถนะของเครือข่ายและพลังของระบบประมวลผลแบบคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ในทุกที่

                ประการที่สาม ในแง่ของโซลูชันไอซีทีแบบบูรณาการที่มีความคุ้มค่าต่อต้นทุน แทนที่จะสร้างศูนย์ข้อมูลด้วยตนเอง ลูกค้าประเภทองค์กรยินดีที่จะหันมาใช้ผู้ให้บริการดิจิทัล (DSP) สำหรับบริการบูรณาการแบบมืออาชีพในราคาที่ถูกกว่า เพื่อที่พวกเขาจะได้หันไปให้ความสนใจกับการพัฒนาธุรกิจได้มากขึ้น นอกจากนี้ การให้บริการแบบบูรณาการในการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลของอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม จะนำมาซึ่งโอกาสการเติบโตใหม่ ๆ สำหรับผู้ให้บริการ

                เนื่องจากขณะนี้ตลาดบริการดิจิทัลยังมีพื้นที่ในการเติบโตอีกมาก คุณ Cui เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลของผู้ให้บริการแบบดั้งเดิม จากผู้ให้บริการการสื่อสารเป็นผู้ให้บริการดิจิทัล เป็นทางเลือกที่จำเป็นในการเพิ่มขีดความสามารถ

                จากมุมมองของการพัฒนาเทคโนโลยี เทคโนโลยีใหม่และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีการพัฒนาอยู่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ได้วางรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับบริการดิจิทัล ตัวอย่างเช่น การเข้าถึงเครือข่ายแบบ dual-gigabit ด้วย 5G และเครือข่ายนำแสง gigabit, ระบบการประมวลผลแบบกระจาย (distributed computing) จากการทำงานประสานกันของคลาวด์-เอดจ์-เทอร์มินอล (cloud-edge-terminal synergy) ระบบคลาวด์เนทีฟ (cloud native) การสร้างแบบจำลองฝาแฝดดิจิทัล (digital twin) และการประยุกต์ใช้ AI ตลอดจนสถาปัตยกรรมแบบ Zero Trust เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

                ในบรรดาเทคโนโลยีที่มีอยู่อย่างหลากหลาย เกิดคำถามที่ว่าผู้ให้บริการจะตัดสินใจเลือกและนำมาประยุกต์ใช้งานอย่างมีประสิทธิผลได้อย่างไร ในแง่นี้ คุณ Cui Li เชื่อว่า ปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจคือ “มูลค่าที่เทคโนโลยีนั้นสามารถสร้างขึ้น” โดยได้แนะนำให้ทำตามหลัก 3 ประการต่อไปนี้

                ประการแรกได้แก่การสร้างมูลค่าให้แก่ลูกค้า ซึ่งบ่งชี้ความสำคัญของการบูรณาการเทคโนโลยี การแยกสมรรถนะ (capability decoupling) การเปิดกว้างด้านระบบนิเวศ และความมั่นคงปลอดภัยพื้นฐาน

                ประการที่สองได้แก่การใช้งานโดยคำนึงถึงอนาคต ซึ่งหมายถึงการเผชิญกับวิวัฒนาการที่รวดเร็วของเทคโนโลยี และการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในเทคโนโลยีสำคัญในอนาคต

                ประการที่สามได้แก่การพัฒนาที่แตกต่าง ซึ่งหมายถึงการพัฒนาความได้เปรียบในธุรกิจหลักอย่างเต็มที่และหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่ควรทำ เพื่อดำเนินบทบาทหลักในระบบนิเวศเชิงคุณค่าในอนาคต

                การบูรณาการเครือข่าย ระบบคลาวด์ และอุตสาหกรรมช่วยให้ผู้ให้บริการอยู่ในแนวหน้าของการแข่งขันในอนาคตหลังจากที่ได้วิเคราะห์สภาพแวดล้อมระดับมหภาค ตลาด และแนวโน้มด้านเทคโนโลยี คุณ Cui กล่าวว่า “ผู้ให้บริการควรเริ่มการเปลี่ยนผ่านจากการเป็น CSP สู่ DSP ทันที ด้วยความได้เปรียบที่มีอยู่แล้ว ผู้ให้บริการสามารถสร้างรากฐานดิจิทัลที่แข็งแกร่ง ซึ่งมีการบูรณาการเครือข่าย คลาวด์ และอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน อันจะนำไปสู่การอยู่ในแนวหน้าของการแข่งขันในอนาคต”

                เครือข่ายเป็นพื้นฐานสำคัญของระบบอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง ขณะที่คลาวด์แบบกระจายทำให้สามารถมีการประมวลผลแบบคอมพิวเตอร์ได้ในทุกที่และทุกเวลา ด้วยการผนวกรวมเทคโนโลยีบิ๊กดาต้าเข้ากับเครือข่ายและคลาวด์แบบกระจาย เราสามารถบรรลุการเก็บและการบูรณาการข้อมูลได้ ยิ่งไปกว่านั้น เราสามารถบรรลุมุมมองที่มีมิติในระดับสูงและการตัดสินใจอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ในแง่ของอุตสาหกรรม สิ่งสำคัญคือการให้บริการดิจิทัลที่มุ่งเน้นลูกค้าซึ่งมีการออกแบบให้เข้ากับอุตสาหกรรมแนวดิ่งที่หลากหลายโดยเฉพาะ กล่าวคือ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกัน เราควรบูรณาการสมรรถนะที่มีอยู่ของเครือข่ายและคลาวด์อย่างยืดหยุ่น เพื่อให้บริการดิจิทัลที่คุ้มต้นทุนและเป็นมิตรต่อผู้ใช้ เช่นนี้จึงจะสร้างความแตกต่างได้

                “ด้วยการทำงานประสานกันของเครือข่าย-คลาวด์-อุตสาหกรรม ผู้ให้บริการสามารถดำเนินบทบาทในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลของอุตสาหกรรมแนวดิ่ง ตลอดจนธุรกิจแบบ ToC, ToH และ ToB ซึ่งจะไปสู่การครองสถานะผู้นำในยุคดิจิทัล” คุณ Cui กล่าวเน้นย้ำ

                ยกระดับสมรรถนะเครือข่าย เราเน้นย้ำเรื่องการยกระดับสมรรถนะเครือข่าย กล่าวคือการสำรวจทรัพยากรและลดต้นทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราควรแสวงหาการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่องและการค้นพบที่สำคัญในแง่ของประสบการณ์การใช้งานและประสิทธิภาพที่ดีที่สุด

                ประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดจากการ “สำรวจทรัพยากร” เพื่อความสำเร็จในตลาด จำเป็นต้องนำประสบการณ์แบบใหม่ ๆ มามอบให้กับลูกค้า ตัวอย่างเช่น ผู้บริโภคระดับบุคคลคาดหวังความครอบคลุมของเครือข่ายความเร็วสูง ขณะที่ผู้ใช้ประเภทใช้งานในบ้านคาดหวังประสบการณ์การใช้งานที่มีการแสดงผลบนหลายหน้าจอ การใช้งานอัจฉริยะ และการใช้งานแบบอินเทอร์แอคทีฟเสมือนจริง ส่วนลูกค้าประเภทอุตสาหกรรมต้องการแบนด์วิดท์สัญญาณดาวเทียมขนาดใหญ่ การใช้งาน URLLC และการจัดแบ่งเครือข่ายแบบ hard slicing ที่มี granularity ขนาดเล็ก

                ยิ่งไปกว่านั้น ลูกค้ายินดีที่จะจ่ายเพื่อให้ได้ประสบการณ์ใหม่เหล่านี้ซึ่งจะสร้างมูลค่าที่สูงกว่าให้แก่พวกเขา ในแง่ของประสิทธิภาพที่ดีที่สุด หัวใจสำคัญคือการลดต้นทุน เรามุ่งสร้างการค้นพบที่จะเป็นความสำเร็จสำคัญในแง่ของประสิทธิภาพด้านสเปกตรัม การปฏิบัติงาน และพลังงาน เพื่อลดต้นทุนและปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวม

ต่อมาคือการขยายสมรรถนะดิจิทัล ผู้ให้บริการควรให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และการประยุกต์ใช้ที่ขับเคลื่อนด้วย edge เพื่อส่งเสริมการขยายสมรรถนะดิจิทัลในยุคใหม่

                ดังที่เราเห็น องค์กรต่าง ๆ กำลังยกระดับกระบวนการดิจิทัลในระบบการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และเพื่อตอบสนองความต้องการด้านต่าง ๆ อย่างเช่นความหน่วงที่ต่ำพิเศษและความมั่นคงปลอดภัยด้านข้อมูล การประมวลข้อมูลปริมาณมหาศาลจะเกิดขึ้นที่ edge เพราะฉะนั้นการแข่งขันด้านนวัตกรรม edge จะมีความเข้มข้นอย่างมาก

                จาก “คลาวด์ศูนย์กลาง” สู่ “คลาวด์แบบกระจาย” ประการแรก ผู้ให้บริการโทรคมนาคมควรนำความได้เปรียบที่มีอยู่ในปัจจุบันมาใช้พัฒนาการดำเนินงานต้นทุนต่ำและการใช้งานที่คล่องตัวที่ edge ตัวอย่างเช่น พวกเขามีเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง สถานที่แบบกระจายตัวจำนวนมาก และศูนย์ข้อมูล นอกจากนี้ควรให้บริการลูกค้าด้วยบริการดิจิทัลในท้องถิ่นที่มีความคล่องตัวและมีการออกแบบมาโดยเฉพาะ ประกอบกับงานบริการซ่อมบำรุง จากนั้นผู้ให้บริการควรพัฒนาความได้เปรียบด้านไอซีทีอย่างเต็มที่ ตลอดจนการผนวกรวมฮาร์ดแวร์-ซอฟต์แวร์เพื่อการสร้างแพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนด้วย edge เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรที่สูงขึ้น และเสริมสร้างการสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมอย่างรวดเร็วที่ edge

                “การสร้างแพลตฟอร์มกลางที่ขับเคลื่อนด้วย edge” คือการใช้งานองค์ประกอบที่มี granularity ละเอียดกว่าในแนวนอน และสร้างเลเยอร์ PaaS ที่บางลง เพื่อให้เกิดการแยกระหว่างเลเยอร์ของบริการเชิงเทคนิคกับเลเยอร์ของบริการทั่วไปในแนวดิ่ง สถาปัตยกรรมเช่นนี้จะช่วยให้เกิดระบบการหมุนเวียนแบบคู่ ด้วยการทำงานประสานกันของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพสูง เลเยอร์การบริการเชิงเทคนิคและเลเยอร์ IaaS จะช่วยสนับสนุนเลเยอร์ของแอปพลิเคชันในชั้นบนได้อย่างมีประสิทธิผล

                สถาปัตยกรรมเช่นนี้ยังช่วยให้เกิดการใช้งานทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยการทำงานประสานกันระหว่างเลเยอร์บริการทั่วไปกับเลเยอร์แอปพลิเคชัน โดยเฉพาะด้วยสถาปัตยกรรมแบบ low-code เลเยอร์บริการทั่วไปช่วยให้การพัฒนาเลเยอร์แอปพลิเคชันในชั้นบนเป็นไปอย่างคล่องตัว ในขณะเดียวกัน ตรรกะและอัลกอริทึมสาธารณะที่สะสมจากเลเยอร์แอปพลิเคชันสามารถนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาความไม่สอดคล้องระหว่างการปรับแต่งและการขยายขนาด ซึ่งจะเอื้อต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของผู้ให้บริการ

                ด้วยสมรรถนะเครือข่ายที่เพิ่มขึ้นและสมรรถนะดิจิทัลที่ขยายตัว เงื่อนไขต่าง ๆ ในขณะนี้พร้อมแล้วสำหรับการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลของอุตสาหกรรมต่าง ๆ สิ่งสำคัญที่สุดคือการมุ่งให้ความสำคัญกับคุณค่าและสภาวการณ์ใช้งานต่อไปในการปรับบริการดิจิทัลให้เข้ากับอุตสาหกรรมแนวดิ่ง

                เป้าหมายคือการพัฒนาสมรรถนะเครือข่ายและคลาวด์ด้วยเทคโนโลยีแกนหลักทั่วไป ในการทำเช่นนี้ สมรรถนะเหล่านั้นสามารถบูรณาการเข้ากับหลากหลายอุตสาหกรรม องค์กร สภาวการณ์ และแอปพลิเคชันได้อย่างยืดหยุ่น ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรมและการบ่มเพาะแนวคิดการพัฒนาแอปพลิเคชัน

                ในตอนท้ายของสุนทรพจน์นี้ คุณ Cui สรุปว่า “ขณะที่อนาคตกำลังใกล้เข้ามา มีโอกาสและความท้าทายต่าง ๆ ในยุคดิจิทัลนี้ ZTE มุ่งให้ความสำคัญกับการบูรณาการเครือข่าย คลาวด์ และอุตสาหกรรมเพื่อเสริมสร้างสถานะของบริษัทในอุตสาหกรรมและเอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลสำหรับผู้ให้บริการ เพื่อก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลและบรรลุความสำเร็จแบบวิน-วินสำหรับคู่ค้าทุกราย”

 

You may also like

“เฉลิมชัย-ประชาธิปัตย์“ห่วงปัญหาเหลื่อมล้ำ จัดเวทีนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจเดโมแครต ฟอรั่ม” ขจัดการผูกขาด: ลดเหลื่อมล้ำแก้จน”

“เ