Artmarket.com เผยตลาดศิลปะโลกปี 64 มูลค่าการประมูลโตพรวด 60% ชี้ NFT เป็นปัจจัยหนุน

Artmarket.com เผยตลาดศิลปะโลกปี 64 มูลค่าการประมูลโตพรวด 60% ชี้ NFT เป็นปัจจัยหนุน

Artmarket.com เผยตลาดศิลปะโลกปี 64

มูลค่าการประมูลโตพรวด 60% ชี้ NFT เป็นปัจจัยหนุน

             รายงานประเมินตลาดศิลปะ (Art Market Report) ฉบับที่ 24 รวบรวมข้อมูลวิเคราะห์การประมูลงานศิลปะทั่วโลก ประกอบด้วยภาพจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพพิมพ์ วีดิทัศน์ ศิลปะการจัดวาง งานพรมผนัง และ NFT โดยไม่นับรวมโบราณวัตถุ ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมและเฟอร์นิเจอร์ ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564

                ราคางานศิลปะทั้งหมดที่ระบุในรายงานนี้อ้างอิงจากผลการประมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะ รวมถึงค่าธรรมเนียมที่ผู้ซื้อต้องชำระ โดยมีการอ้างอิงเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ($) ผลการดำเนินงานของตลาดศิลปะทั่วโลกในปี 2564 นั้นอยู่ในระดับที่เหนือความคาดหมาย แม้เบื้องหลังนั้นยังคงมีการระบาดของโควิด-19 อันเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์

                ข้อมูลในตลาดแสดงให้เห็นว่ามูลค่าการประมูลเพิ่มขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ระดับ 60% ในปี 2564 เทียบกับปี 2563 แม้จะมีการระบาดอย่างต่อเนื่องก็ตาม การเคลื่อนย้ายตลาดศิลปะไปสู่โลกเสมือนจริงบนอินเทอร์เน็ตนั้นได้เกิดขึ้นแล้วทั้ง 5 ทวีป ซึ่งแทบจะลดความจำเป็นของห้องประมูลจริงให้กลายเป็นอดีตไปเลยทีเดียว

                ยอดขายจากการแสดงผลงานทางออนไลน์โดยสำนักประมูลต่าง ๆ เพิ่มขึ้น 720% ทั่วโลกในช่วงสองปีที่โควิด-19 ระบาด ซึ่งแนวโน้มการเติบโตระดับนี้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปี 2568-2570 ด้วย

ข้อมูลที่สำคัญในตลาดปี 2564:

                มูลค่าการประมูลงานศิลปะทั่วโลกสูงถึง 1.708 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 60% เมื่อเทียบปี 2563

                มูลค่าการซื้อขายงานวิจิตรศิลป์ในฝั่งตะวันตกเพิ่มขึ้น 68% โดยมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 1.09 หมื่นล้านดอลลาร์

                รายได้จากการขายงานวิจิตรศิลป์ในจีนเพิ่มขึ้น 43% รวมอยู่ที่ 5.9 พันล้านดอลลาร์

                จำนวนล็อตผลงานที่ส่งต่อในการประมูลทั่วโลกทำสถิติสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 663,900 ล็อต เพิ่มขึ้น 29%

                ราคาเฉลี่ยของล็อตอยู่ที่ 25,730 ดอลลาร์ และราคากลางอยู่ที่ 930 ดอลลาร์

                อัตราผลงานที่ประมูลไม่ได้ลดลงมาอยู่ที่ 31% เนื่องจากส่วนใหญ่ได้แรงหนุนจากยอดขายออนไลน์

                ดัชนีศิลปะร่วมสมัยบ่งชี้การเติบโตเพิ่มขึ้น 3%

                ศิลปะร่วมสมัยมีสัดส่วนคิดเป็น 20% ของตลาดงานศิลปะ เทียบกับ 3% ในปี 2543

มูลค่าการซื้อขายทั่วโลกจากการประมูลงานวิจิตรศิลป์

                จีนมีมูลค่าการประมูลงานวิจิตรศิลป์รวม 5.95 พันล้านดอลลาร์ (35% ของยอดรวมทั่วโลก) แซงสหรัฐอเมริกาซึ่งมีมูลค่าการซื้อขายรวม 5.79 พันล้านดอลลาร์ (34%)

                สหราชอาณาจักรมีมูลค่าการซื้อขายจากการประมูลลดลง 10% เมื่อเทียบกับปี 2562 โดยมีมูลค่ารวม 1.99 พันล้านดอลลาร์

                สามประเทศแรกที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุดในตลาดงานศิลปะโลก มีสัดส่วน 80% ของมูลค่าการประมูลงานศิลปะทั่วโลก

                นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สำหรับฝรั่งเศส ซึ่งมีมูลค่าการประมูลทั้งปีเกิน 1 พันล้านดอลลาร์ ได้กลายเป็นผู้เล่นหลักในตลาดงานศิลปะระดับโลกด้วย

                ตลาดเยอรมนีครองอันดับ 5 ในการจัดอันดับโลกและดึงดูดให้ซอเธอร์บีส์ (Sotheby's) มาที่เมืองโคโลญจน์

                ยอดการประมูลศิลปะของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้น 4 เท่า สร้างเม็ดเงินได้ 237 ล้านดอลลาร์

จีนครองอันดับหนึ่ง

                รายงานนี้แสดงให้เห็นว่าจีนคว้าอันดับสูงสุดในการจัดอันดับระดับโลกอีกครั้ง ในแง่ของพลวัตสำหรับการประมูลงานศิลปะ ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างขัดเจนถึงสถานะ "คู่แข่งตัวฉกาจ" เมื่อเทียบกับสหรัฐ แม้ตลาดจีนจะมีกฎเกณฑ์ของตัวเอง แต่นั่นก็ยิ่งทำให้จีนมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น และยังเป็นเหตุผลว่าทำไมการเป็นหุ้นส่วนด้านบรรณาธิการระหว่างอาร์ตไพรซ์ (Artprice) กับอาร์ตทรอน (Artron) จึงน่าตื่นเต้นและสอดคล้องอย่างยิ่งกับความเป็นจริงทั่วโลกของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ประเทศ 10 อันดับแรกจากการประมูลงานวิจิตรศิลป์และ NFT (พัฒนาการเทียบกับปี 2563)

                1. จีน (อาร์ตทรอน):               5,953,355,500 ดอลลาร์ (+43.0%)

                2. สหรัฐ:                 5,794,793,900 ดอลลาร์ (+102.3%)

                3. สหราชอาณาจักร:            1,996,657,600 ดอลลาร์ (+28.6%)

                4. ฝรั่งเศส:             1,008,464,700 ดอลลาร์ (+71.8%)

                5. เยอรมนี:             356,967,400 ดอลลาร์ (+18)

                6. เกาหลีใต้:          237,290,600 ดอลลาร์ (+369.90%)

                7. อิตาลี:                212,554,100 ดอลลาร์ (+49.1%)

                8. สวิตเซอร์แลนด์:                193,884,700 ดอลลาร์ (+74.7% )

                9. ญี่ปุ่น:                 167,464,400 ดอลลาร์ (+75.6%)

                10. โปแลนด์:         142,070,800 ดอลลาร์ (+66.5%)

สำนักประมูล

                ยอดประมูลของซอเธอบีส์และคริสตีส์ (Christie's) ซึ่งคิดเป็น 49% ของตลาดการประมูลงานศิลปะทั่วโลก แตะ 4.4 พันล้านดอลลาร์ และ 4 พันล้านดอลลาร์ตามลำดับ

                โพลี (Poly) และไชนา การ์เดียน (China Guardian) ซึ่งยังห่างไกลจาก 2 อันดับแรก มียอดประมูล 824 ล้านดอลลาร์ และ 677 ล้านดอลลาร์

                โพลีและฟิลิปส์ (Phillips) ผนึกกำลังกันในฮ่องกง และคว้ายอดประมูลไป 175 ล้านดอลลาร์

                เคตเทเรอร์ (Ketterer) มียอดประมูล 97 ล้านดอลลาร์ในปี 2564 และกลายเป็นบริษัทประมูลชั้นนำในยุโรปภาคพื้นทวีป

                อาร์ตคูเรียล (Artcurial) บริษัทประมูลชั้นนำของฝรั่งเศส ขายผลงานศิลปะได้ 3,800 ชิ้น ยอดประมูลแตะ 91 ล้านดอลลาร์

ศิลปินและการประมูล

                ในปี 2564 มีอยู่หนึ่งล็อตที่ทำเงินประมูลได้กว่า 100 ล้านดอลลาร์ ได้แก่ ภาพวาด Seated Woman (ค.ศ. 1932) ของปาโบล ปิกัสโซ่ (Pablo Picasso) ที่สถาบันประมูลคริสตีส์ ณ มหานครนิวยอร์ก

                ในปี 2540 ภาพเดียวกันขายได้ 7.5 ล้านดอลลาร์

                ในปี 2564 ปิกัสโซ่ (Picasso), บาสเกีย (Basquiat), วอร์ฮอล (Warhol), ริตช์เตอร์ (Richter) และ จาง ต้าเฉียน (Zhang Daqian) เป็นศิลปินที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในการประมูลทั่วโลก

                บีเพิล (Beeple) เป็นศิลปินที่ยังมีชีวิตอยู่ที่มีผลงานมูลค่าสูงที่สุดแห่งปี โดยคว้าเม็ดเงินประมูลถึง 69.4 ล้านดอลลาร์ในล็อตเดียว

                แกร์ฮาร์ด ริตช์เตอร์ (Gerhard Richter) และแบงก์ซี (Banksy) เป็นศิลปินที่ยังมีชีวิตอยู่ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลกในการประมูล

                แบงก์ซีมียอดขายผลงาน 1,186 ชิ้นมูลค่ารวม 206 ล้านดอลลาร์ รวมถึงสถิติใหม่ที่ 25.4 ล้านดอลลาร์

                ยาโยอิ คุซามะ (Yayoi Kusama) เป็นผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ติดโผศิลปิน 10 อันดับแรกในการจัดอันดับของอาร์ตไพรซ์ เมื่อพิจารณาจากยอดประมูล

                ฌอง มิเชล บาสเกีย (Jean-Michel Basquiat) กลายเป็นศิลปินที่ประสบความสำเร็จมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากปิกัสโซ่

                นับเป็นครั้งแรกที่มีการขายผลงานสำคัญ 5 ชิ้นของบาสเกียในฮ่องกง

เทรนด์สำคัญ

                1. NFT นำเสนอวิธีการการสะสมแบบใหม่

                ผลลัพธ์จากงานของบีเพิล, พัก (Pak), ลาร์วา แล็บส์ (Larva Labs), ยูกา แล็บส์ (Yuga Labs) ทำให้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงตลาดใหม่นี้ได้

                ทันทีที่นำขึ้นประมูล NFT รวม 279 ล็อตมีมูลค่ารวม 232.4 ล้านดอลลาร์ (มากกว่ากลุ่มรูปถ่าย)

                2. ศิลปินรุ่นเยาว์ทำลายสถิติเกินวัย (เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "ชิปแดง")

  บีเพิล วัย 40 ปี, เอเวอรี ซิงเกอร์ (Avery Singer) วัย 34 ปี, ฟีโวเชียส (Fewocious) วัย 18 ปี กวาดเม็ดเงินประมูลสูงลิ่ว

                3. ผลงานของศิลปินชาวแอฟริกันและศิลปินชาวแอฟริกันพลัดถิ่นเป็นที่ต้องการอย่างมาก

  ตลาดศิลปะ 3.0: NFT, เมตาเวิร์สและบล็อกเชน

                คุณเธียร์รี เออร์มานน์ (thierry Ehrmann) ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Artmarket.com และแผนกอาร์ตไพรซ์ กล่าวว่า "อินเทอร์เน็ต 2.0 ทำให้อะไรก็เป็นไปได้บนอินเทอร์เน็ต และบัดนี้เรากำลังเข้าสู่ยุคอินเทอร์เน็ต 3.0 โดยในช่วงปี 2564 โควิดได้คร่าชีวิตผู้คนไปมากมาย ทั้งยังครอบงำชีวิตประจำวันและคำศัพท์ของเราไปอย่างสิ้นเชิง พจนานุกรมคอลลินส์อันโด่งดังยังคงพิจารณาให้คำว่า "NFT" เป็นคำแห่งปีที่มีความสำคัญที่สุด คำนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมาก ไม่ใช่แค่ติดปากใครต่อใครเท่านั้น แต่เพราะเป็นต้นกำเนิดของการปฏิวัติดิจิทัลที่ส่งผลกระทบต่อตลาดศิลปะในแบบที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนตลอด 5 ศตวรรษที่ผ่านมา นั่นคือเหตุผลที่รายงานตลาดศิลปะปี 2564 ของเราเริ่มต้นด้วยคำ ๆ นี้"

                เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบทางประวัติศาสตร์ที่ NFT มีต่อโลกศิลปะในปี 2564 อย่างเต็มที่ เราต้องย้อนกลับไปที่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งเป็นช่วงที่การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ที่คล้ายคลึงกันเกิดขึ้น ต้องขอบคุณโรงพิมพ์ของโยฮันเนส กูเตนเบิร์ก (Johannes Gutenberg) เพราะทำให้เหล่าศิลปินสามารถพิมพ์งานรุ่นแรกออกมาได้ โดยสิ่งนี้ถือเป็นการถ่ายโอนอำนาจไปยังมือของศิลปินครั้งสำคัญ

                วิวัฒนาการนี้เปิดทางให้เหล่าศิลปินสามารถสร้างรายได้และควบคุมการผลิตของตนเองในเวิร์กช็อปและโรงงานของพวกเขาได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และด้วยการปรากฎขึ้นของ NFT ในปัจจุบัน เราจึงมีโอกาสสัมผัสกับการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ที่คล้ายคลึงกัน โดยมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ไม่แตกต่างกัน

                เมตาเวิร์สไม่ใช่เรื่องของ 3 มิติ หรือ 2 มิติ แต่เป็นเรื่องของการทำให้ทุกคนสามารถเข้าสู่โลกใหม่ ซึ่งครั้งหนึ่งเป็นไปไม่ได้ แต่ทุกวันนี้เป็นไปได้แล้ว

                ในยุคเรืองปัญญาของศตวรรษที่ 21 นี้ โลกศิลปะจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านการสร้างสรรค์และเศรษฐกิจเสมือน (แต่มีอยู่จริง) โดยในที่สุดก็สามารถให้การสนับสนุนที่จำเป็นแก่กลุ่มผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะได้มากขึ้น

                ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวยังคงเป็นซิกเนเจอร์ที่งดงามที่สุด แม้แต่ในโลกเสมือนอย่างเมตาเวิร์ส

                การผลักดันให้ตลาดศิลปะกลายเป็นนามธรรมผ่านอินเทอร์เน็ตนั้นต้องอุทิศเวลาถึง 30 ปี โดยโลกของ NFT และเมตาเวิร์สจะทำให้อินเทอร์เน็ตไม่ใช่เพียงแค่พาหนะเคลื่อนย้ายสำหรับตลาดศิลปะอีกต่อไป… แต่จะเป็นสถานที่ในการรังสรรค์และแลกเปลี่ยนงานศิลปะ เรากำลังเข้าสู่มิติใหม่อย่างสมบูรณ์แบบ

การกระจายการประมูลผลงานวิจิตรศิลป์ตามภูมิภาคในปี 2564

                แม้ตลาดศิลปะจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากโรคระบาดใหญ่ ซึ่งเป็นโศกนาฏกรรมระดับโลกที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจสมัยใหม่ แต่ตลาดศิลปะก็สามารถฟื้นตัวได้จากการหันมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างรวดเร็วฉับไว โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ตลาดศิลปะเติบโตแบบทวีคูณถึง 60% แม้ทั้ง 5 ทวีปของโลกจะยังคงเผชิญกับโรคระบาดอย่างต่อเนื่องก็ตาม โดยในตะวันตกนั้น มีการเติบโตรายปีน่าทึ่งเป็นพิเศษถึง 68% ซึ่งเป็นการเติบโตสูงสุดในรอบ 25 ปี

ลิขสิทธิ์ ค.ศ.  1987-2022 เธียร์รี เออร์มานน์ www.artprice.com  – www.artmarket.com

                •             ติดต่อฝ่ายเศรษฐมิติเพื่อขอข้อมูลสถิติและผลการศึกษารูปแบบเฉพาะได้ที่: econometrics@artprice.com

                •             ลองใช้บริการของเรา (ลองใช้ฟรี): https://www.artprice.com/demo

                •             สมัครสมาชิกบริการของเรา: https://www.artprice.com/subscription

………………………………

เกี่ยวกับอาร์ตมาร์เก็ต :

Artmarket.com มีชื่ออยู่ใน Eurolist โดย Euronext Paris, SRD long only และ Euroclear: 7478 – Bloomberg: PRC – Reuters: ARTF.

สำรวจอาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ทางวิดีโอ: www.artprice.com/video

อาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ก่อตั้งในปี 2540 โดยเธียร์รี เออร์มานน์ ซีอีโอ อาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ได้รับการกำกับดูแลโดยกรุ๊ป เซอร์เวอร์ (Groupe Serveur) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2530 

You may also like

เปิดตัวดัชนีชี้วัดความปลอดภัยของเด็ก บนโลกออนไลน์ทั้งในระดับชาติและระดับโลก

เปิดตัวด