ETDA เดินสายพิษณุโลกสอน e-Commerce

ETDA เดินสายพิษณุโลกสอน e-Commerce

ETDA เดินสายพิษณุโลกสอน e-Commerce

โชว์เจ๋ง!ดัน SMEs Go online 20,000 ราย

                “เอ็ตด้า” ชู ผลสำเร็จดันเอสเอ็มอีโกออนไลน์ เกือบ 20,000 ราย ปี 61 มุ่งเพิ่มผู้ค้าออนไลน์อีก 5,000 ราย ขานรับนโยบายรัฐบาล ลงพื้นที่สอน e-Commerce จังหวัดพิษณุโลก หวังเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในการขยายโอกาสทางการค้า และเพิ่มมูลค่าทางการขายออนไลน์ไปทั่วประเทศ

                ดร.สรณันท์  จิวะสุรัตน์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA  เปิดเผยว่า ในการลงพื้นที่ตรวจราชการของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ณ จุดติดตั้งเน็ตประชารัฐ บ้านหัวแท หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ETDA ได้นำเสนอเรื่องการยกระดับ e-Commerce ทั่วไทย ซึ่งในการพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการทำอีคอมเมิร์ซของไทย ETDA ได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อรองรับการพัฒนาและพร้อมเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลให้ประสบผลสำเร็จอย่างจริงจัง หนึ่งในนั้นคือโครงการ SMEs Go Online เพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับ                 อีคอมเมิร์ซของไทย ด้วยการสร้างความเชื่อมั่น พัฒนากลไก และผลักดันให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และวิสาหกิจชุมชน (OTOP) ทั้งเก่าและใหม่ ได้รับความรู้เพื่อการทำอีคอมเมิร์ซอย่างเต็มรูปแบบ พร้อมเพิ่มศักยภาพและยกระดับผู้ประกอบการด้วยหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งระบบออฟไลน์และระบบออนไลน์ เพื่อให้สามารถเข้าถึงบทเรียนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเพิ่มโอกาสในการพัฒนาศักยภาพให้สามารถแข่งขันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลไปถึงระดับสากล โดยในปี 2560 สามารถเพิ่มผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซเกือบ 20,000 ราย และยังได้จับมือกับ สสว. จนสามารถผลักดันผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดอีมาร์เก็ตเพลสได้กว่า 30,000 รายการ

                สำหรับในปี 2561 ETDA ตั้งเป้าว่าจะผลักดันผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดออนไลน์อีก 5,000 ราย ทั่วประเทศ ซึ่งจังหวัดพิษณุโลกเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ ETDA เข้าไปส่งเสริม ด้วยศักยภาพความพร้อมต่าง ๆ ที่มี ทั้งในฐานะเมืองรองที่จะโปรโมตการท่องเที่ยว การมีจุดเชื่อมต่อด้านการคมนาคมไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ทางหลวงเอเชียสาย 16 หรือ AH16 อีกทั้งยังมีสนามบิน การมีสถาบันการศึกษาทุกระดับ ที่สำคัญคือมีผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อ เช่น กล้วย และข้าวพันธุ์ต่าง ๆ อีกทั้งยังมีสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนอีกหลายประเภทที่เราอาจจะยังไม่รู้จักอีกมากมาย

                การที่มีเน็ตประชารัฐเข้าถึงทุกหมู่บ้าน นอกจากจะเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ และมองเห็นโลกกว้างขึ้นแล้ว ยังสามารถทำให้คนในพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ นำสิ่งที่เป็นภูมิปัญญา และสินค้าประจำท้องถิ่นที่พวกเขามีออกไปให้โลกภายนอกรับทราบและสร้างรายได้ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ ด้วยการส่งเสริมให้คนในพื้นที่รู้จักการทำอีคอมเมิร์ซ ซึ่งบางส่วนอาจจะทำอยู่แล้ว แต่อาจจะยังไม่เข้าใจเรื่องการทำการตลาดออนไลน์หรือองค์ประกอบที่สำคัญต่าง ๆ ในการทำอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจร เช่น ระบบชำระเงิน การบรรจุหีบห่อ หรือการส่งของไปยังลูกค้า

                “เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้จัดคอร์สเป็นเวลา 2 วันเพื่อเป็นพี่เลี้ยงให้กลุ่มผู้ประกอบการต้นแบบ 1 กลุ่ม โดยวันแรก เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เริ่มจากการให้กลุ่มที่เข้าเวิร์กชอปได้ทดลองซื้อขายจริงทางออนไลน์ ฝึกถ่ายภาพสินค้าด้วยมือถือ เรียนรู้เรื่องระบบการชำระเงิน การแพ็กสินค้า การเปิดร้านบนเฟซบุ๊ก การสมัครเข้าร่วมโครงการ SMEs Go Online เพื่อขายของบนอีมาร์เก็ตเพลส และการทดลองขายจริง ส่วนวันที่ 2 เป็นการจัดเตรียมสื่อประชาสัมพันธ์สินค้า ซึ่งในวันนี้ พี่ ๆ น้อง ๆ ที่ให้โอกาส ETDA เป็นพี่เลี้ยงหรือโค้ชชิ่ง ได้นำร้านค้าออนไลน์ของตนเองมาโชว์ว่าทำได้จริง ขายได้จริง หากมีความมุ่งมั่นและได้รับการสนับสนุนที่ดี ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์ข้าวกล้อง “ข้าวปลอดภัย สจ.แจ่ม” สบู่ออแกนิกล้างหน้า จากมะลิป่า “Theerak Cleansing Bar” และขนมวุ้นแห้วน้ำกะทิ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านหนองกุลา โดย ETDA หวังว่า พวกเขาจะเป็นต้นแบบที่ดีให้กับผู้ประกอบการที่พิษณุโลกรุ่นต่อ ๆ ไปด้วย” ดร.สรณันท์ กล่าว

                อย่างไรก็ตาม สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) ในฐานะหน่วยงานหลักของประเทศที่พัฒนาธุรกรรมออนไลน์ โดยเฉพาะอีคอมเมิร์ซ ตั้งเป้าไว้ตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปี 2554 ว่า จะพัฒนาอีคอมเมิร์ซให้เติบโตอย่างแข็งแรงในประเทศไทย เพราะเราเชื่อว่าอีคอมเมิร์ซเป็นเครื่องมือสำคัญอันทรงพลัง ที่ช่วยสร้างโอกาส สร้างอาชีพและรายได้ รวมทั้งลดความเหลื่อมล้ำในสังคมทุกภาคส่วน ซึ่งทวีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจยุคใหม่และการเจริญเติบโตของประเทศ

                ETDA จึงมุ่งมั่นในการเข้าไปทำความรู้จักผู้ประกอบการ ที่บางส่วนก็ทำออนไลน์อยู่แล้ว บางส่วนคนรุ่นพ่อรุ่นแม่มีสินค้าดี ๆ ที่อาจจะไม่คุ้นเคยเรื่องออนไลน์ แต่มีลูกหลานที่พร้อมจะเรียนรู้ได้ ETDA ก็พร้อมจะเข้าไปเป็นโค้ชหรือพี่เลี้ยง และพร้อมเป็นจุดเชื่อมให้คน 2 รุ่น เพื่อให้เขาส่งต่อสิ่งดี ๆ ไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง และสนับสนุนการขายทางออนไลน์ ให้พวกเขาขายของเป็น และขายของในระบบออนไบน์ได้ ซึ่งต่อไปคนที่ทำเป็นทำได้เหล่านี้ ก็จะสามารถนำไปสอนเพื่อนบ้าน และยังสามารถไปสอนคนรุ่นต่อ ๆ ไปตามสถานศึกษา เพื่อขยายกลุ่มผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซออกไปเป็นวงกว้างเรื่อย ๆ ซึ่ง ภายใต้โครงการ SMEs Go Online ประกอบด้วย 1. การทำเวิร์กชอปให้ความรู้ในการทำอีคอมเมิร์ซอย่างครบวงจร 2. ระบบอีเลิร์นนิง เพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้ 3. การเป็นที่ปรึกษา มีทีมที่ให้คำแนะนำผ่านช่องทางคอลเซ็นเตอร์และโซเชียลเน็ตเวิร์ก และ4. การกระตุ้นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

You may also like

เงินเฟ้อ ต.ค.67 เร่งขึ้นต่อเนื่องอยู่ที่ 0.83% คาดไตรมาสสุดท้ายโต 1.2% 

 อัตราเง