เร่งขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Regional Hub หลังเลือกตั้ง รัฐบาลใหม่ต้อง Connect คน เศรษฐกิจชาติ และโครงสร้างพื้นฐาน

เร่งขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Regional Hub หลังเลือกตั้ง รัฐบาลใหม่ต้อง Connect คน เศรษฐกิจชาติ และโครงสร้างพื้นฐาน

เร่งขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Regional Hub หลังเลือกตั้ง

รัฐบาลใหม่ต้อง Connect คน เศรษฐกิจชาติ และโครงสร้างพื้นฐาน

นายศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย)

เมื่อวันนี้ประเทศไทยเดินทางมาถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ ทำให้เกิดแรงกระเพื่อมไปในทุกมิติของประเทศ ตั้งแต่ผู้คน ชุมชน สังคม ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในทุกระดับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้นโยบายบริหารประเทศหลังการเลือกตั้งต้องคำนึงถึงภาพรวมและผลประโยชน์ของทุกคนในชาติ ซึ่งผู้นำรัฐบาลต้องแสดงให้เห็นความเป็น Connected Leaders ที่เชื่อมโยง Local และนำไปสู่แนวคิด นโยบายและการปฏิบัติแบบ Global และการทำงานแบบ Co-Create ที่สำคัญต้องเร่งมือทำ Digital Transformation เพื่อปูทางไปสู่ Digital Economy ที่มีความยั่งยืน

“รัฐบาลใหม่ที่มาจากประชาชนอย่างแท้จริงจะเป็นเสมือนจุด “Refresh & Restart ทางเศรษฐกิจครั้งใหม่” ที่องค์กรธุรกิจในทุกระดับต่างเตรียมพร้อมกับนโยบายสนับสนุนในด้านต่าง ๆ พร้อมความคาดหวังว่าจะช่วย “แก้ปัญหาให้ตรงจุดด้วยคนที่มีความสามารถ” เพื่อกระตุ้นชีพจรเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อดึงดูดการลงทุนใหม่ ๆ จากทั้งในและนอกประเทศ เพื่อฟื้นฟูศักยภาพในการแข่งขัน และเพื่อทำให้ประเทศไทยเป็น Regional Hub ในด้านต่าง ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีต้นทุนเดิมรองรับอยู่แล้วเชิงภูมิศาสตร์ด้วยภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติ ไปจนถึงพลังงานทางเลือกอื่น ๆ ที่เป็นข้อได้เปรียบของประเทศไทย

นายศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย) เสนอแนวคิดด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และบริบทใหม่ประเทศไทยหลังเลือกตั้ง พร้อมเสนอแนะแนวทางการพัฒนาประเทศใน 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่

ส่วนที่หนึ่งคือผู้คน Citizen Comes First

รัฐบาลต้องสนับสนุนภาคประชาชน ด้วยการสร้างความมั่นคงให้กับประชาชนอย่างจริงจัง ประชาชนเสมือนเป็นเสาหลักในการขับเคลื่อนไปยังด้านอื่น ๆ ซึ่งรัฐบาลใหม่สามารถช่วยประชาชนได้ใน 3 ประเด็นหลักตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานไปถึงด้านการพัฒนาศักยภาพการผลิต ดังนี้

  • ลดต้นทุนสาธารณูปโภคพื้นฐาน อาทิ ค่าไฟฟ้า (Electricity is the Cost of Living) สนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น แสงอาทิตย์ ลม หรือน้ำ โดยอาจประยุกต์ใช้โมเดลที่ประสบความสำเร็จอย่างโครงการ “คนละครึ่ง” เนื่องจากภาระค่าไฟฟ้าของไทยนั้นถือเป็นต้นทุนที่สูงของภาคครัวเรือนที่ทุกกิจกรรมหรือธุรกรรมต้องพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าแทบทั้งสิ้น โดยค่าไฟฟ้าของประเทศไทยอยู่ในอัตราที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน (ตัวเลขค่าไฟฟ้างวดที่ 2 พ.ค. – ส.ค. ของปี 2566 เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4.70 บาทต่อหน่วย)
  • สร้างงานใหม่ รองรับคนจบใหม่ (New Gen Jobbers) ที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของประเทศ ข้อมูลจาก JobsDB ระบุว่า ปัจจุบัน 48% ขององค์กรขนาดใหญ่ในประเทศไทย เริ่มกลับมาจ้างงานและต้องการพนักงานแบบเต็มเวลามากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงโควิด-19 และบัณฑิตจบใหม่ก็เป็นแรงงานกลุ่มเป้าหมายของหลาย ๆ องค์กร ซึ่งนอกจากนั้นรัฐบาลใหม่สามารถช่วยขับเคลื่อนและสร้างโอกาสในงานใหม่ ๆ กับบริษัทสตาร์ทอัพต่าง ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์ที่สนับสนุนด้านภาษีหลากหลายรูปแบบทั้ง Income Tax, Capital Gain Tax เพื่อดึงดูดหรือสร้างการลงทุนทั้งจากนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ
  • ยุคใหม่ของเกษตรกรระยะไกล (New E-Farmer Remotely) วันนี้เราเห็นแนวคิดใหม่ในภาคการเกษตรที่วิวัฒน์ตัวเองเป็น E-Farmer ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ อาทิ พันธุศาสตร์ สารสนเทศผนวกกับการทำงานผ่านทางไกล (Remotely) โดยนำระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ AI มาใช้ เพื่อสร้างผลผลิตหรือควบคุมต้นทุนให้เหมาะสม ซึ่งหากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและพัฒนาต่อยอดในจุดนี้ จะเป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพที่แข็งแกร่งอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นแก่เกษตรกร New Gen ของประเทศ

ส่วนที่สองคือเศรษฐกิจและสังคม เปลี่ยนความท้าทายเป็นโอกาส ดันไทยเป็น 8 Regional Hubs  สำคัญของโลก ได้แก่

  1.        Clean Energy Hub ประเทศไทยมีศักยภาพด้านภูมิประเทศที่ได้เปรียบ เราสามารถสร้าง Solar Farm ระดับภูมิภาคได้ โดยสร้างความต่อเนื่องให้กับนโยบายการสนับสนุนทั้งด้านการผลิตและการใช้งานพลังงานสะอาด ซึ่งมีความสนใจลงทุนและความต้องการพลังงานกลุ่มนี้จากนักลงทุน ผู้ให้บริการไปจนถึงผู้ใช้ระดับโลกเพื่อรองรับแนวทางธุรกิจแบบยั่งยืน Sustainability ของโลก
  2.        Carbon Credit Tokenization Manufacturing Hub สนับสนุนภาคการผลิตและส่งออก ให้ผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เพิ่มโอกาสการส่งออกสินค้าไปตลาดทั่วโลกที่มีมาตรการด้าน Net Zero และ Climate Change ซึ่งหากภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันปรับใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ของไทยให้สอดคล้องกับมาตรการต่าง ๆ นี้ได้ ประเทศไทยก็จะมีกระบวนการรับรองมาตรฐานที่เชื่อถือได้ โดยผู้ประกอบการส่งออกไทยจะชำระค่าคาร์บอน (Carbon Credit Tokenization) ที่ต้นทางหรือในประเทศไทยแทนการที่ต้องไปจ่ายให้ต่างประเทศ
  3.        Network Connectivity Hub ประเทศไทยมีโอกาสมหาศาลเพื่อส่งเสริม Digital Economy ให้เติบโต หากลงทุนด้านเคเบิลสื่อสารใต้น้ำ (Submarine Cable) โดยใช้โมเดลเดียวกับการขุดคลองไทย ที่เริ่มจากฝั่งจังหวัดสตูล ไปทะลุออกที่จังหวัดสงขลา จะช่วยย่นระยะการลากสายเคเบิลได้กว่า 1,800 กิโลเมตร และยังช่วยกระตุ้นการลงทุนด้านเครือข่ายในพื้นที่ภาคใต้ ดันไทยเป็น Hub ด้านการสื่อสารที่มีทั้งความเสถียรและประสิทธิภาพสูง เกิดการลงทุนจากต่างประเทศ เศรษฐกิจภาคใต้เติบโตเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่ที่มีศักยภาพสูง
  4.        Tourism & Aviation Hub ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวระดับโลกอยู่แล้ว ซึ่งหากรัฐบาลนำระบบ AI Immigration มาช่วยอำนวยความสะดวกในการคัดกรองเข้าพื้นที่ตั้งแต่สนามบิน สถานที่ท่องเที่ยวหรือแหล่งช้อปปิ้ง จะสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่นักท่องเที่ยว ช่วยให้การเดินทางเข้า-ออกประเทศไทยสะดวกสบาย กลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางและยังสามารถเก็บข้อมูลเพื่อนำไปใช้พัฒนาแคมเปญระดับประเทศเพื่อต่อยอดการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้านอื่น ๆ ได้อีก
  5.        Hydrogen Hub for New Logistics Era รถยนต์พลังงานไฟฟ้าเป็นเรื่องของวันนี้ที่รัฐบาลต้องมองไปให้ไกลกว่าอุตสาหกรรม EV ที่แท้จริงแล้วพลังงานไฟฟ้านั้นมาจากระบบพลังงานใด การศึกษาของ Radiant Energy Group (REG) ระบุว่า ประเทศที่สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้มากที่สุดล้วนใช้พลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์และไฟฟ้าพลังน้ำ ดังนั้นการสนับสนุนการลงทุนผลิตไฟฟ้าควรมุ่งไปยังพลังงานทางเลือกที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเช่นก๊าซ Hydrogen เพื่อสร้างอุตสาหกรรมการเดินทางด้วยพลังงานสะอาด ทำให้ไทยเราเป็น Hydrogen Hub เพราะประเทศไทยมีปัจจัยพื้นฐานทางกายภาพทั้งบนดินหรือในน้ำที่เอื้อต่อการลงทุนและพัฒนาอย่างยั่งยืน
  6.        Education Hub การเรียนการสอนควรได้รับการอภิวัฒน์ทั้งระบบตั้งแต่โครงสร้าง กระบวนการคัดสรร การพัฒนา เพื่อพัฒนามาตรฐานการศึกษา คุณภาพและศักยภาพของผู้จบการศึกษาที่มีทักษะจะเป็นที่ยอมรับของอุตสาหกรรม ทั้งนี้นอกจากทักษะความสามารถเชิงวิทยาการแล้วรากฐานการสื่อสารที่สามารถเชื่อมโยงกับทั่วโลกได้ก็มีความจำเป็นด้วยเช่นกัน อาทิ การเป็น Global Citizen ที่หากเยาวชนไทยสามารถสร้างข้อได้เปรียบทั้งวิชาการและภาษาต่างประเทศที่สอง (เช่น ภาษาจีน) ก็จะทำให้แรงงานไทยมีทักษะพร้อมเพื่อการสื่อสารหรือแข่งขันกับคนทั้งโลกได้
  7.        Sport & Entertainment Hub กีฬาและสันทนาการเป็น Soft Power ที่มีศักยภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั่วโลกได้อย่างเป็นรูปธรรม การสนับสนุนการลงทุนและพัฒนายกระดับ Soft Power ที่โดดเด่นของประเทศ เช่น กีฬา หรือ อาหาร ให้ก้าวขึ้นไปเทียบได้กับมาตรฐานระดับโลก เช่น ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ (EPL) โดยพัฒนาเป็น Muay Thai International League (MTIL) ที่มีประเทศไทยเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระยะยาว เช่น สถาบันฝึกสอนที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ทัวร์นาเมนท์การแข่งขันระดับโลก สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ Soft Power
  8.        Healthcare Hub อีกสิบปีประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super-Aged Society) บริการสาธารณสุขและการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของไทยเป็นที่ยอมรับในระดับโลก เทคโนโลยีการสื่อสารทำให้ประชาชนในทุกพื้นที่เข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้สะดวกขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นโจทย์สำคัญที่ผู้กำหนดนโยบายของรัฐฯ ต้องให้การสนับสนุนมากยิ่งขึ้นเพื่อให้แพทย์สามารถ Connect ได้ การทำโมเดล E-Doctor ที่อำนวยความสะดวกตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ ให้แพทย์หรือเภสัชกรสามารถสั่งและจ่ายยาและให้ประชาชนที่ต้องใช้ยาไปรับยาที่ร้านขายยาหรือร้านค้าท้องถิ่นได้โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาโรงพยาบาลทุกครั้ง และที่สำคัญยังลดภาระการทำงานของบุคลากร ความแออัดคับคั่ง ความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อโรค ข้อจำกัดของปัจจัยทางกายภาพของโรงพยาบาล และที่สำคัญที่สุดลดค่าใช้จ่ายของทุกคนในระบบนิเวศสาธารณสุขอีกด้วย

ส่วนที่สาม สังคายนา เริ่มที่ “Privatize to Move Faster” ยืดหยุ่นและคล่องตัว ทันกระแสการเปลี่ยนแปลง

ผู้บริหารในรัฐบาลต้องเปิดกว้างและพร้อม Disrupt ตัวเอง โดยนอกจากต้องเร่งอัปเกรดโครงสร้างพื้นฐานไปสู่ดิจิทัลมากขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนพัฒนาและเติบโตไปในทิศทางเดียวกันแล้ว การนำ Model การบริหารจัดการใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพให้ประโยชน์สูงสุดเข้ามาใช้ อาทิ การ Privatize หน่วยงานที่เป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ ภาคการบิน ภาคการขนส่ง หรือภาคการท่องเที่ยวและพลังงาน โดยพิจารณาให้ภาคเอกชนเข้ามาดูแล หรือนำโมเดลธุรกิจที่ได้รับการยอมรับและได้ผลมาใช้ เปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมบริหาร เพิ่มความคล่องตัว ย่นเวลาการตัดสินใจที่รวดเร็ว ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและที่สำคัญต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยรัฐบาลปรับโหมดเป็นผู้ลงทุนและจัดเก็บภาษีอย่างเป็นธรรม กล้าที่จะ Privatize เพื่อนำเงินเข้าคลังไปบริหารประเทศต่อไป

Connected Leaders คือ คำตอบ

ทั้งหมดที่กล่าวมาเรากำลังมองหา Connected Leaders ที่มีความสามารถเชื่อมโยงได้กับทุกอย่าง ตั้งแต่ อันดับแรกคือเชื่อมกับภาคประชาชน (Connect People) ไม่ว่าจะ Gen ไหน เพื่อลดความขัดแย้งในชุดความคิด (Mind Set) ที่ต่างกันและหาจุดเชื่อมตรงกลาง เพื่อสร้างความสามัคคีให้ได้ อย่างที่สองคือเชื่อมกับเศรษฐกิจของชาติทั้งในและนอกประเทศ (Connect Domestic & International Economic) ให้ได้ มองหาโอกาสที่จะผลักดันให้ประเทศเติบโต โดยทำข้อตกลงที่เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกับนานาประเทศ และสุดท้ายเชื่อมต่อกับโครงสร้างพื้นฐาน (Connect Infrastructure) ทั้งในด้าน Logistics การบินหรือรถไฟความเร็วสูงและ Digital Economy ที่ต้องการโครงสร้างพื้นฐานเป็นรากฐานสำคัญพัฒนาประเทศ

อีกตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ การสนับสนุนให้ภาครัฐเฟ้นหา Talents อย่างเช่น นักเรียนทุนที่ภาครัฐสนับสนุนเรื่องการศึกษาและต้องกลับมาร่วมพัฒนาประเทศ จากสถิติ ณ เดือนมีนาคม 2566 ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (หรือ กพ.) เผยมีนักเรียนทุนรัฐบาลจำนวน 1,725 ราย ที่กำลังศึกษาอยู่ในต่างแดน โดยพวกเขาเหล่านี้ล้วนมีศักยภาพทำงานในโครงการพิเศษต่าง ๆ ร่วมกับ Connected Leader เพื่อช่วยกันพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนได้ หากภาครัฐเพิ่มแรงจูงใจ (Additional Incentive) และมอบหมายงานที่ตรงกับทักษะความสามารถ ก็จะกระตุ้นให้เกิดโครงการที่เป็นรูปธรรม

เอกชนต้องมองไกลกว่าแค่ “ผลกำไร”

สำหรับภารกิจของ STT GDC Thailand ไม่ว่าจะเปลี่ยนกี่รัฐบาลหรือกี่ทีมเศรษฐกิจ พันธกิจของบริษัทฯ มองไกลกว่าเรื่องผลกำไรและรายได้ เพราะเป้าหมายหลักคือการยกระดับและเพิ่มศักยภาพให้แก่อุตสาหกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวพันและส่งผลกระทบต่อประเทศ (หรือ Uplift the Whole Industry to Impact the Whole Country) ด้วยการเป็นโครงสร้างหลักให้กับระบบเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศที่มี Data Center เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจและธุรกรรมดิจิทัลทุกอย่างและยังต่อเชื่อมกับเศรษฐกิจมหภาคของประเทศ ที่ผู้นำต้องเห็นและคิดให้ได้ว่า “Data” เป็นสินทรัพย์ที่มีค่าอย่างยิ่งในเวลานี้ และรัฐบาลมีหน้าที่กำหนดแนวทาง หรือให้การสนับสนุนภาคธุรกิจเพื่อ Connect ดาต้า และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร ทั้งนี้ STT GDC เปิดกว้างกับแนวความคิดและแนวทางปฎิบัติ กับ Value Set ของเรา โดยได้รับการยอมรับจากรางวัล 2023 Thailand Data Center Services Company of the Year Award โดย Frost & Sullivan ที่ตอกย้ำผลการดำเนินงาน ความมุ่งมั่นร่วมพัฒนาศักยภาพของประเทศ ดึงดูดการลงทุนใหม่ ๆ มาสู่ประเทศไทย

………………………………………………………………………………..

เกี่ยวกับ เอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย)

เอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย) เป็นบริษัทร่วมทุนภายใต้ความร่วมมือระหว่าง บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ “FPT” ผู้นำการให้บริการสมาร์ทแพลตฟอร์มด้านอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร และเอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ หรือ “เอสทีที จีดีซี” (STT GDC) ผู้นำด้านการให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ระดับโลก จากสิงคโปร์

 

You may also like

เปิดตัวดัชนีชี้วัดความปลอดภัยของเด็ก บนโลกออนไลน์ทั้งในระดับชาติและระดับโลก

เปิดตัวด