“กรมคุ้มครองสิทธิฯ”เดินหน้า ให้ความรู้กฎหมายผู้นำชุมชน
ยึดหลัก“บวร”ประสาน ไกล่เกลี่ย-เหยื่ออาชญากรรมมีสิทธิรับเงินเยียวยา
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เร่งให้ความรู้สิทธิทางกฎหมายที่สามารถขอความช่วยเหลือจากกระทรวงยุติธรรมให้ กับผู้นำยุติธรรมชุมชนครั้งที่ 7 ในพื้นที่ กทม โดยยึดหลัก บวร.(บ้าน วัด โรงเรียน ) คือที่จุดกระทรวงยุติธรรมต้องการเห็นการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และการให้ความช่วยเหลือประชาชนผ่านผู้นำชุมชน หากตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม ถูกยิง ถูกแทง ถูกทำร้าย ถูกฆ่า ถูกข่มขืน บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต มีสิทธิขอรับเงินช่วยเหลือเยี่ยวยาได้ ฟรี
ณ ศูนย์พัฒนาด้านการข่าว กองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรุงเทพฯ ดร.โฆสิต สุวินิจจิต คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พัฒนาและบูรณาการเครือข่ายภาคประชาขน กระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดในการอบรม โดยมี นายธีรยุทธ์ แก้วสิงห์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ กล่าวต้อนรับ ผ่านระบบ webex meetings และนายณัฐพล ด่านจิตร์ตรง ผู้อำนวยการ กองส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ กล่าวรายงาน
สำหรับการจัดอบรมในครั้งนี้ กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3 มีนาคม 2565 ทั้งนี้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ มีภารกิจในการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายต่างๆ การส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน จึงได้จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ ผู้นำยุติธรรมชุมชน ครั้งที่ 7 จำนวน 90 คน โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการจัดอบรมให้แก่ ผู้นำยุติธรรมชุมชน อาสามาสมัครเครือข่ายกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้ง 50 เขต มาแล้ว จำนวน 6 ครั้ง ๆละ 80 คน ภายใต้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด 19 ซึ่งผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ทุกคนได้ผ่านการตรวจ ATK ก่อนเข้าร่วมอบรม
โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพและสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และเพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในชุมชนเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพตามกฎหมาย รวมถึงส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมให้โดยง่าย รวดเร็ว โปร่งใส และทั่วถึง อีกทั้ง เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมให้มีการขยายการจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทภาคประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่อง
ดร. โฆสิต สุวนิจจิต คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าดการกระทรวงยุติธรรม ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พัฒนาและบูรณาการเครือข่ายภาคประชาขน กระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ปัจจุบัน ประชาชนยังไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้เท่าที่ควร เนื่องจากปัจจัย 2 อย่าง ได้แก่
1) การไม่รู้กฎหมาย ซึ่งส่งผลให้ประชาชนถูกเอารัดเอาเปรียบและล่วงละเมิดสิทธิต่าง ๆ
2) ความยากจน ซึ่งถือที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงความยุติธรรม เนื่องจากกระบวนการดำเนินคดีนั้น มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงทำให้ประชาชนผู้ยากไร้ไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้และยิ่งสร้างความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรมให้มากยิ่งขึ้น ดังนั้น กระทรวงยุติธรรมจึงมีหน้าที่ในส่งเสริมความรู้ให้กับประชาชนทางกฎหมาย และส่งเสริมความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ กระทรวงยุติธรรมยังมีภารกิจที่สำคัญหลายประการ อาทิ การให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายและจำเลยหาในคดีอาญา การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การรับเรื่องราวร้องเรียนร้องทุกข์ กองทุนยุติธรรม การคุ้มครองพยาน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในการดำเนินการ รวมถึง การอำนวยความสะดวกให้ ประชาชนได้รับการช่วยเหลือทางกฎหมาย สามารถเข้าถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรมได้อย่างทั่วถึง และเป็นธรรม
นายธีรยุทธ์ แก้วสิงห์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ เปิดเผยว่า สำหรับการจัดกิจกรรมอบรมการส่งเสริมความรู้สิทธิหน้าที่ เสรีภาพและสิทธิมนุษยชน และการให้ความช่วยเหลือประชาชนในวันนี้ เป็นการดำเนินการตามภารกิจของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนยุติธรรม,เงินเยียวยาผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา , การคุ้มครองพยานในคดีอาญา การได้รับชดเชยความเสียหายโดยรัฐ ,คลินิกยุติธรรม, และการไกล่เกลี่ยระงับข้อพาก ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 รวมทั้งการส่งเสริมการเข้าถึงบริการของรัฐและช่องทางในการอำนวยความเป็นธรรมของกระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอภาคทั่วถึงและเท่าเทียม ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนไม่ให้ถูกหลอกลวง หรือถูกเอารัดเอาเปรียบ และสามารถอยู่ร่วมกันในชุมชนอย่างเป็นสุข โดยสามารถติดต่อสายด่วนยุติธรรมได้ที่ โทร 1111 กด 77 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อยุติธรรมจังหวัดได้ทั่วประเทศ
Social Links