ไขข้อข้องใจ “วิ่งระยะไกล” กระดูกคอเสื่อมจริงหรือ?

ไขข้อข้องใจ “วิ่งระยะไกล” กระดูกคอเสื่อมจริงหรือ?

ไขข้อข้องใจ “วิ่งระยะไกล”

กระดูกคอเสื่อมจริงหรือ?

ทำความรู้จัก “โรคกระดูกคอเสื่อม” หลังนักร้องดังป่วย แพทย์เฉพาะทางไขข้อข้องใจ วิ่งระยะไกล เสี่ยงจริงหรือไม่

หลังปรากฎข่าว “นักร้องหนุ่มชื่อดังป่วยกระดูกคอกดทับเส้นประสาท” โดยแพทย์ที่ทำการรักษาเผยสาเหตุว่าเกิดจาก “กระดูกคอเสื่อม” นพ.พล อนันตวราศิลป์ แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ เผยว่า “กระดูกคอเสื่อม” เกิดได้กับทุกคน สาเหตุการเกิดได้แก่ อายุที่มากขึ้น, ได้รับอุบัติเหตุบริเวณช่วงคอ, การใช้งานที่ไม่เหมาะสม ส่วนเรื่องของการวิ่งระยะไกลอาจไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้กระดูกคอเสื่อม อาจจะมีปัจจัยอื่นๆในการใช้งานร่วมด้วย ตัวอย่างเช่นเรื่องของลักษณะของการก้มคอ หรือการขยับคอมาก ทั้งลักษณะทำซ้ำๆ เป็นเวลานาน หรือสะบัด โยกศีรษะแรง ๆ พวกนี้มาทำให้มีการทำให้ข้อเสื่อมได้มากกว่า

อย่างไรก็ตามสาเหตุที่พบมากที่สุดเกิดจากความเสื่อมของกระดูกที่ถูกใช้งานในชีวิตประจำวันอย่างยาวนานตามอายุ โดยโรคดังกล่าวพบได้ตั้งแต่วัยกลางคน และพบมากในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังมีท่าทางและพฤติกรรมในชีวิตประจำวันอื่น ๆ ที่เราทำร้ายคอตัวเองไม่รู้ตัว เช่น การก้มคอเล่นมือถือ การนั่งหลังไม่พิงพนักพิง การนั่งท่าเดิมเป็นเวลานานโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ การนั่งโต๊ะทำงานอย่างผิดสุขลักษณะ โดยพฤติกรรมดังกล่าวนั้นทำให้กระดูกคอเสื่อมเร็วขึ้น โดยเบื้องต้นจะเกิดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ร้าวลงแขน บางรายอาจมีอาการชา หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย

นพ.พล ยังเผยถึงสัญญาณเตือนว่ากระดูกคอเริ่มเสื่อม จะเริ่มต้นด้วยการปวดคอ มักปวดหลังคอบริเวณ 2 ข้างของกระดูกสันหลัง อาจปวดร้าวขึ้นไปถึงท้ายทอย หรือ ลงมาบริเวณสะบัก และปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือออกแรง หากปล่อยให้ปวดเรื้อรังต่อไปจนเกิด “กระดูกงอก” หรือ “หินปูนเกาะ” จนกดทับเส้นประสาท จะทำให้ปวดร้าวตามแขนจนถึงนิ้วมือ เกิดอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลุกลามจนกระทั่งเดินไม่ได้ เพราะฉะนั้นหากมีอาการเข้าข่ายควรรีบพบแพทย์ โดยแพทย์จะเริ่มรักษาด้วยยาร่วมกับกายภาพบำบัด หากไม่ได้ผล จะให้การรักษาโดยวิธีผ่าตัดต่อไป และต้องใช้เวลารักษาฟื้นฟูหลายเดือน หรือนานเป็นปี ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วยด้วย

สิ่งที่น่าสนใจคือจากสถิติของโรงพยาบาลเอสไปน์ พบว่าในปัจจุบันคนไข้ที่มีภาวะกระดูกคอเสื่อมมีมากขึ้น และคนไข้ส่วนใหญ่มาด้วยอาการปวดคอกับชาเลย แต่เมื่อมาทำการวินิจฉัยด้วยการเอ็กซเรย์ร่วมกับการทำ MRI ถึงได้ทราบว่าคนไข้เป็นโรคกระดูกคอเสื่อม ส่วนการรักษาขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่นเรื่องของอาการของคนไข้รวมถึงผลตัว MRI หากพบว่ามีการกดทับของเส้นประสาทจริง ก็ถือเป็นข้อบ่งชี้ว่าเส้นประสาทมีความเสียหายเยอะ การรักษาก็ต้องมีการผ่าตัดเข้าไปลดการกดทับของตัวเส้นประสาท แต่ว่าด้วยวิธีไหนนั้นขึ้นอยู่แต่ละคน อย่างเช่นในกลุ่มของการรักษาด้วยการจี้เลเซอร์ก็จะเหมาะกับคนไข้ที่เป็นหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาทแต่อาจจะเป็นระดับที่ไม่เยอะมาก หากพบว่าคนไข้มีอาการเยอะมากขึ้น หรือมีหินปูนเกาะร่วมด้วย การรักษาจะต้องเป็นลักษณะของการส่องกล้องเข้าไปเพื่อขยายโพรงเส้นประสาทจากทางด้านหลัง หรือว่าในรายที่มีอาการแบบหมอนรองกระดูกค่อนข้างใหญ่หรือว่าการกดทับเส้นประสาทมาก อาจจะต้องทำการนำหมอนรองกระดูกเดิมออกแล้วใส่หมอนรองกระดูกเทียมเข้าไป

นพ.พล ยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่าเราสามารถสังเกตอาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ง่าย ๆ โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณคอนำมาก่อน ซึ่งบางรายอาจจะมีอาการปวดร้าวไปที่แขนหรือที่มือร่วมกับมีอาการชา อาการอาจจะเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ บางรายอาจจะทำให้แยกกับโรคออฟฟิศซินโดรมได้ยาก โดยอาจมีอาการปวดไปที่ศีรษะร่วมด้วย จึงทำให้นึกว่าเป็นอาการปวดศีรษะไมเกรน แต่ที่แท้จริงแล้วอาจมีโรคของหมอนรองกระดูกคอเสื่อมซ่อนอยู่ก็เป็นได้ โดยถ้าระยะโรคดำเนินไปถึงขั้นท้าย ๆ จะมีอาการหยิบจับของลำบาก ติดกระดุมเสื้อไม่ได้ หรืออาจจะทำให้การเดินทรงตัวลำบากมากขึ้นได้

ดังนั้นหากพบว่ามีอาการ ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางทันที เพื่อรับการตรวจ X-Ray หรือ MRI เพื่อทำการวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำ เพราะแม้อาการปวดอาจบ่งบอกถึงตำแหน่งที่ถูกกดทับได้ แต่เพื่อความแม่นยำในการวินิจฉัย การตรวจด้วยเครื่อง MRI จึงเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากสามารถแสดงให้เห็นถึงระดับความรุนแรงของการกดทับเส้นประสาทโดยหมอนรองกระดูกที่เคลื่อน หรือความเสื่อมของกระดูกคอได้อย่างชัดเจน

โรงพยาบาลเอส สไปน์ โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง ปรึกษา โทร 02 034 0808

หมายเหตุ** โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงพยาบาลเอส สไปน์”

 

You may also like

คปภ.เดินหน้า! เปิดเวทีสัมมนาวิชาการด้านประกันภัย ประจำปี 2567 “Thailand Insurance Symposium 2024”

 นายชูฉั