“หัวเว่ย”เผยบิ๊กบริหารนับร้อยเมือง
ร่วมกันทดสอบนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ
โดยโมเดลรัฐบาลผ่าน “กู่”ของหัวเว่ย
งานหัวเว่ย คอนเนกต์ (HUAWEI CONNECT) ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นงานสำคัญที่หัวเว่ย (Huawei) จัดขึ้นทุกปีสำหรับอุตสาหกรรมไอซีทีระดับโลก ที่องค์กรอุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญ ลูกค้า และพันธมิตรต่างเข้าร่วมนั้น ได้มีการประกาศเปิดตัวโครงการร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมโดยใช้โมเดลรัฐบาลผานกู่ของหัวเว่ย (Huawei Pangu Government Model Joint Innovation Program) ณ “การประชุมสุดยอดเศรษฐกิจดิจิทัลและการประชุมเมืองอัจฉริยะ ประจำปี 2566” ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการนี้ได้ตกลงที่จะร่วมมือกันในการสำรวจวิธีใช้แบบจำลองพื้นฐาน (แบบจำลองเอไอที่ได้รับการฝึกอบรมล่วงหน้าขนาดใหญ่) เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับแอปพลิเคชันเมืองอัจฉริยะที่หลากหลาย เช่น บริการภาครัฐอัจฉริยะ การเปลี่ยนหน่วยงานราชการให้เป็นดิจิทัล และการกำกับดูแลเมืองอัจฉริยะ และเพื่อขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล เศรษฐกิจดิจิทัล และโครงการสังคมดิจิทัลของรัฐบาลทุกระดับในจีน โดยมีเป้าหมายในการปรับปรุงบริการสาธารณะและเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของเมืองต่าง ๆ ซึ่งเหล่าผู้บริหารระดับสูงหลายร้อยคนจากเมืองต่าง ๆ ทั่วจีนต่างเข้าร่วมการประชุมสุดยอดครั้งนี้
เดวิด หวัง (David Wang) กรรมการบริหารของหัวเว่ย ประธานคณะกรรมการบริหารโครงสร้างพื้นฐานไอซีที และประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ (Enterprise BG) ได้กล่าวสุนทรพจน์สำคัญในหัวข้อ “เร่งความอัจฉริยะ” (Accelerate Intelligence) โดยประกาศเปิดตัวโมเดลรัฐบาลผานกู่ พร้อมด้วยโซลูชันอัจฉริยะทางอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งเป้าหมายของโมเดลนี้รวมถึงการสร้างโครงสร้างพื้นฐานการประมวลผลเอไอในเมือง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เร่งการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล และปรับปรุงประสิทธิภาพของบริการภาครัฐ และอื่น ๆ อีกมากมาย
ในปัจจุบัน แบบจำลองพื้นฐานกำลังกลายเป็นกระแสความนิยมที่โดดเด่นในเทคโนโลยีเอไอ โดยเร่งการนำเอไอมาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งรายงานของสถาบันแมคคินซีย์ (McKinsey Global Institute) คาดการณ์ว่า เอไอซึ่งเป็นเทคโนโลยีเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป (GPT) รูปแบบใหม่ จะช่วยเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของโลกได้ประมาณ 1.2% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าการมีส่วนร่วมของ GPT รูปแบบอื่น ๆ ต่อเศรษฐกิจโลกในช่วงเวลาดังกล่าวอย่างมาก และเป็นเหตุผลว่าเหตุใดเอไอจึงกลายเป็นจุดสนใจในการแข่งขันเทคโนโลยีระหว่างประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งหลาย ๆ ประเทศได้นำเอไอมาเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ระดับชาติ
บริการภาครัฐจะทำหน้าที่เป็นพื้นที่ทดสอบสำคัญสำหรับแอปพลิเคชันและนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ด้วยแบบจำลองพื้นฐาน เพื่อเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐ ธุรกิจ และผู้อยู่อาศัย ทั้งนี้ โครงการร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมโดยใช้โมเดลรัฐบาลผานกู่ของหัวเว่ย นำโดยธุรกิจนวัตกรรมราชการดิจิทัลของหัวเว่ย ซึ่งลูกค้าและพันธมิตรของหัวเว่ยต่างเข้าร่วมกันมากมาย โครงการนี้จะเร่งประยุกต์ใช้แบบจำลองพื้นฐานเพื่อปรับปรุงบริการสาธารณะ พัฒนาการกำกับดูแลเมืองอัจฉริยะ และการเปลี่ยนหน่วยงานราชการให้เป็นดิจิทัล และมีส่วนช่วยให้เกิดยุทธศาสตร์ดิจิทัล ไชน่า (Digital China)
Social Links