Sergey Yurievich Glazyev กุนซือผู้แก้เกมมาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก

Sergey Yurievich Glazyev กุนซือผู้แก้เกมมาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก

Sergey Yurievich Glazyev กุนซือผู้แก้เกมมาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก

ดร.กฤษฎา พรหมเวค

คณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

          เมื่อสงครามรัสเซีย ยูเครนเกิดขึ้น โลกตะวันตกพยายามบดขยี้ทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย ด้วยการคว่ำบาตรทางการเงิน ยึดเงินทุนสำรองของรัสเซียที่อยู่ภายนอกประเทศจำนวนกว่า 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมถึงมาตรการการแซงชั่นไม่ซื้อสินค้าต่าง ๆ จากรัสเซีย มาตรการการคว่ำบาตรทางการเงินทำให้ค่าเงินรูเบิลที่เคยอยู่ที่ 81 รูเบิลต่อดอลลาร์สหรัฐฯ หลังทำการคว่ำบาตรแล้วเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2565 ค่าเงินรูเบิลไหลลงลึกถึงระดับ 150 รูเบิลต่อดอลลาร์สหรัฐฯ หลายคนบอกว่าปูตินจบแล้ว  ปูตินแพ้แล้ว

          แต่อยู่ ๆ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2565 ค่าเงินรูเบิลกลับดีดขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 81 รูเบิลต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับระดับเดิม เท่ากับระดับก่อนถูกคว่ำบาตร มันแปลว่าอะไร มาตรการการคว่ำบาตรทางการเงินที่บอกว่าขั้นสูงสุดของทางโลกตะวันตกเอารัสเซียไม่อยู่ใช่หรือไม่ 

          นักวิชาการทางด้านเศรษฐกิจของรัสเซียใช้มาตรการในการปกป้องค่าเงินรูเบิลหลายประการด้วยกัน ตั้งแต่ การขึ้นดอกเบี้ย 20 เปอร์เซ็นต์เพื่อดึงความเชื่อถือของค่าเงินรูเบิล การกำหนดค่าธรรมเนียมในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ที่สูงถึงร้อยละ 30  การออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อจำกัดเงินไม่ให้ไหลออกนอกประเทศหรือแคปิตอลคอนโทรล รวมถึงพลิกเกมสร้างมาตรฐาน New gold Standard ให้แก่เงินรูเบิล ทำให้เงินรูเบิลกลายมาเป็นสกุลเงินหลักในการค้าขายกับประเทศรัสเซีย ส่งผลสะเทือนให้แก่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่เป็นค่าเงินหลักในการค้าระหว่างประเทศตอนนี้

          ล่าสุดประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินออกกฤษฎีกาประกาศว่าหากประเทศและดินแดนที่ไม่เป็นมิตรต่อรัสเซีย หากประสงค์ซื้อแก๊สธรรมชาติจากรัสเซียต้องเปิดบัญชีกับธนาคารของรัสเซียเพื่อทำธุรกรรมทางการเงินเป็นเงินสกุลรูเบิลเท่านั้น มิเช่นนั้นรัสเซียจะถือว่าเป็นความล้มเหลวของลูกค้าและผู้ผลิตของรัสเซียจะหยุดส่งแก๊สธรรมชาติให้กับลูกค้ารายนั้น ต่อมาทำให้หลายประเทศในยุโรปประกาศไม่เข้าร่วมการคว่ำบาตรรัสเซีย เพราะเกิดความเดือดร้อนทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ บางประเทศเกิดความคิดเห็นแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย

          เบื้องหลังของคำแนะนำให้ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน พลิกเกมทำสงครามเศรษฐกิจกับชาติตะวันตกโดยการออกจากนโยบายเปโตรดอลลาร์ (de-dollarlzation) เพิ่มบทบาทเงินสกุลรูเบิลในเขตเศรษฐกิจยูเรเซีย สร้างระบบชำระเงินของธนาคารสัญชาติรัสเซียที่เป็นอิสระจากระบบ swift ที่สหรัฐฯและอังกฤษเป็นผู้ควบคุมอยู่ เชื่อมโยงโครงการเขตเศรษฐกิจยูเรเซียเข้ากับโครงการเส้นทางสายไหมใหม่ของจีน ผลักดันบทบาททางเศรษฐกิจของกลุ่มบริกส์ที่ประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ และสร้างระเบียบการเงินโลกใหม่โดยออกจากระบบการเงินของวอลล์สตรีท และซิตี้ ออฟลอนดอน ก็คือ เซอร์เกร์ ยูเรเยวิช กลาซิเยฟ (Серге́й Юрьевич Глазьев)

                วันนี้เรามาจะมาทำความรู้จักกับกุนซือทางด้านเศรษฐกิจของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินท่านนี้กัน

                เซอร์เกร์ กลาซิเยฟ เกิดเมื่อวัน ที่ 1 มกราคม ปี ค.ศ. 1961 ที่เมืองซาโปริชเซีย (Запорожье) ประเทศยูเครน เป็นนักการเมืองและนักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซีย จบการศึกษาปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตขั้นสูงสุด (Доктор экономических наук) จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมอสโก (Moscow State University : MSU) เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของสหพันธรัฐรัสเซีย (МВЭС России) ระหว่างปี ค.ศ. 1992 – 1993 สมัยนายกรัฐมนตรีวิคเตอร์ โชโนมีร์ดีน ของประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซินต์ นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ในรัสเซียอีกหลายตำแหน่ง เช่น สมาชิกของสภาการเงินแห่งชาติของธนาคารแห่งรัสเซีย สมาชิกของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งรัสเซีย สมาชิกของสภาผู้แทนราษฎรหรือ State Duma ตั้งแต่ปี 1993 ถึง 2007 ผู้นำพรรคประชาธิปไตยรัสเซีย  (Демократической партии России) และพรรคมาตุภูมิ (Партия Родина) และที่ปรึกษาประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียเกี่ยวกับการบูรณาการทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคตั้งแต่ปี 2012 – 2019.

                เซอร์เกร์ กลาซิเยฟ มีบทบาทเด่นชัดอย่างยิ่งในการดำเนินการต่อต้านการค่ำบาตรของสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรตะวันตกหลังการผนวกไครเมียเป็นของรัสเซียเมื่อปี ค.ศ. 2014 โดยความคิดทางด้านเศรษฐกิจแนวชาตินิยมของกลาซิเยฟมีอิทธิพลต่อการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดีปูตินอย่างมาก เขาเสนอว่าเป้าหมายสูงสุดของกลุ่มแองโกลอเมริกันคือการมุ่งทำลายร้างรัสเซียเพื่อแบ่งแยกและปกครองดินแดนของรัสเซียที่มั่งคั่งและอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นการจะปกป้องรัสเซียจากการทำลายร้างของกลุ่มแองโกลอเมริกัน รัสเซียต้องเตรียมความพร้อมทางด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านการทหาร ทางด้านเศรษฐกิจและทางด้านการเงิน และหาทางตีโต้กลุ่มแองโกลอเมริกัน ด้วยการทำลายดอลลาร์สหรัฐฯ

            ถ้าหากดอลลาร์สหรัฐฯถูกทำลาย อิทธิพลของกลุ่มแองโกลอเมริกัน ที่ดำเนินมาเป็นเวลาหลายร้อยปีจะมาจึงจุดจบ

                ทั้งนี้สหรัฐฯได้ยกเลิกระบบมาตรฐานทองคำในปี 1971โดยประกาศไม่ต้องใช้ทองคำหนุนค่าดอลลาร์สหรัฐฯ และหันมาใช้ประเทศผู้ค้าน้ำมันค้ำประกันความมั่นใจให้กับดอลลาร์สหรัฐฯอีกที เรียกว่าระบบ “เปโตรดอลลาร์” จึงทำให้เปโตรดอลลาร์กลายเป็นกระดาษเปล่าๆในระบบการเงินดอลลาร์สแตนดาร์ด เปโตรดอลลาร์จึงได้กลายเป็นอาวุธที่สำคัญที่สุดของสหรัฐที่ช่วยในการสนับสนุนงบประมาณของเพนตากอน ที่ใช้แสนยานุภาพทางทหารเพื่อควบคุมโลกให้อยู่ในระบบมหาอำนาจเดียว (unipolar world) ในขณะที่รัสเซีย จีน อิหร่านและเกาหลีเหนือไม่ต้องการอยู่ในระบบมหาอำนาจเดียวไปตลอด จึงร่วมมือกันเพื่อสร้างระเบียบโลกใหม่ผ่านการควบรวมเขตเศรษฐกิจยูเรเซีย และเส้นทางสายไหม ซึ่งจะมีระบบชำระเงินของตัวเอง มีเงินสกุลของตัวเอง มีระบบธนาคารของตัวเอง มีกฎเกณฑ์ของตัวเอง มีเทคโนโลยีของตัวเอง มีตลาดของตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาระเบียบโลกปัจุบันของพวกแองโกลอเมริกัน อีกต่อไป

                ในปี ค.ศ. 2015  กลาซิเยฟ มีความเห็นว่า ระบบทุนนิยมของสหรัฐกำลังเข้าสู่วงจรขาลงที่อันตรายและจะทำลายตัวเองในที่สุด จากการก่อหนี้ และการพิมพ์เงินโดยไม่คิดว่าจะมีวันพรุ่งนี้หรือไม่ สหรัฐฯ จะไม่สามารถรักษาความเป็นมหาอำนาจในการควบคุมโลกได้อีกต่อไป หลังจากรัสเซียผนวกเอาไครเมียเข้ามาเป็นดินแดนของรัสเซีย ในปี ค.ศ. 2014 สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปดำเนินมาตรการแซงชั่นรัสเซีย กลาซิเยฟ อกมารุบุว่าสหรัฐควรถูกตราว่าเป็นประเทศรุกราน และมีความเห็นว่าวิกฤติยูเครนเกิดจากการแทรกแซงของสหรัฐและยุโรป ที่ได้สร้างพวกนีโอนาซีขึ้นมาเพื่อยึดครองยูเครน และใช้ยูเครนเพื่อเป็นเครื่องมือในการยั่วยุและทำลายรัสเซียในระยะต่อไป ดังนั้นในปี ค.ศ. 2017กลาซิเยฟ จึงเสนอให้ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐออกไปตูมเดียวเป็นจำนวนสูงถึง  $ 110,000 ล้านเหรียญ หลังจากนั้น กลาซิเยฟยังเป็นคนแนะนำให้รัฐบาลรัสเซียออกจากอิทธิพลของดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยการรับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ให้น้อยลง รวมท้ังขายทรัพย์สินในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ ที่มีอยู่ออกไป โดยเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐฯ มาเป็นทองคำ หรือทรัพย์สินในรูปแบบอื่นแทน ทำให้รัสเซียมีทองคำสะสมอยู่ประมาณ12,000 ตัน มากกว่าสหรัฐที่มีอยู่ 8,113 ตัน ส่วนธนาคารกลางของรัสเซียก็ลดการถือครองทรัพย์สินที่อยู่ในรูปของดอลลาร์สหรัฐฯ เหมือนกัน โดยมีนโยบายในระยะต่อไปคือการทำลายระบบเปโตรดอลล่าร์ และสร้างเงินสกุลรูเบิลให้เป็นเงินสกุลภูมิภาคขึ้นมาแทน โดยร่วมมือกับจีนอย่างใกล้ชิด

                ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จอย่างหนึ่งของทีมงานที่ปรึกษาของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินและต้องคงต้องจับตาดูการแก้เกมสงครามเศรษฐกิจของทางฝั่งสหรัฐฯต่อไปอย่างใกล้ชิด.

You may also like

เปิดตัวดัชนีชี้วัดความปลอดภัยของเด็ก บนโลกออนไลน์ทั้งในระดับชาติและระดับโลก

เปิดตัวด