UOB เผยผู้บริโภคในสิงคโปร์
มีทัศนคติเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและการเงินส่วนบุคคล
ส่วนเยาวชนยังขาดความพร้อมด้านการเงิน
ผู้บริโภคสิงคโปร์มีทัศนคติเชิงบวกต่อเศรษฐกิจในท้องถิ่นและการเงินส่วนบุคคลมากกว่าผู้บริโภคในภูมิภาคเดียวกัน
ผู้บริโภคสิงคโปร์มีทัศนคติเชิงบวกต่อเศรษฐกิจในท้องถิ่นและการเงินส่วนบุคคล อย่างไรก็ดี ภาวะเงินเฟ้อและช่องว่างในการเตรียมความพร้อมด้านการเงินในหมู่เยาวชนกลับกลายเป็นปัญหาสำคัญในรายงาน ASEAN Consumer Sentiment Study (ACSS) 2024 ฉบับล่าสุดของ UOB
ผู้ตอบแบบสอบถามชาวสิงคโปร์เกือบ 7 ใน 10 คน (68 เปอร์เซ็นต์) เปิดเผยว่าพวกเขามีความรู้สึกเชิงบวกต่อสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน ซึ่งเพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์จากปีที่แล้ว ตามรายงาน ACSS 2024 ของ UOB[1] และสูงกว่าค่าเฉลี่ยในภูมิภาค 14 เปอร์เซ็นต์
ภาวะเงินเฟ้อต่อเนื่องยังคงเป็นความกังวลหลักของผู้บริโภคอาเซียนในปีนี้ อย่างไรก็ดี ระดับความวิตกของชาวสิงคโปร์ที่มีต่อปัญหาทางการเงินซึ่งระบุไว้ในการศึกษาวิจัยเมื่อปี 2567 ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งอาจเป็นเพราะการรับรองมาตรการที่รัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจท้องถิ่นผ่านพ้นความผันผวนทางเศรษฐกิจโลก อาทิ แพ็คเกจการรับประกัน คูปอง CDC และโครงการคูปอง GST
อย่างไรก็ดี ในประเด็นใหม่ล่าสุดเกี่ยวกับความรู้ทางการเงิน ACSS 2024 พบว่าเยาวชนอายุระหว่าง 18 ถึง 25 ปี มากกว่าหนึ่งในสี่คนไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทั่วไปใด ๆ ที่ระบุโดยธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) และคู่มือการวางแผนการเงินพื้นฐานของอุตสาหกรรมการเงิน (คู่มือ) ซึ่งบ่งชี้ว่าอาจต้องใช้ความพยายามร่วมกันมากขึ้นเพื่อเสริมสร้างความพร้อมทางการเงิน
“เป็นเรื่องน่ายินดีที่ผู้บริโภคในประเทศมีทัศนคติที่ดีขึ้นในปีนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสิงคโปร์ประสบความสำเร็จในการช่วยให้เราผ่านพ้นความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคไปได้ โดยเฉพาะเยาวชนของเราซึ่งมีทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับอนาคตทางการเงินมากที่สุด เป็นทัศนคติที่ประเทศไหน ๆ ก็ย่อมภูมิใจ” คุณ Jacquelyn Tan หัวหน้ากลุ่มบริการทางการเงินส่วนบุคคล ธนาคารยูโอบี กล่าว
“อย่างไรก็ดี ACSS 2024 ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่เยาวชนจะต้องเสริมสร้างความพร้อมด้านการเงิน เราเชื่อว่าพวกเขากำลังดำเนินการในเชิงบวก เช่น การจัดสรรเงินสำรองฉุกเฉินและการลงทุนสำหรับอนาคต แต่พวกเขาต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมด้านความคุ้มครองประกันภัยและการวางแผนมรดก เยาวชนสามารถเพลิดเพลินกับประสบการณ์ที่ดีขึ้นในชีวิตไปพร้อม ๆ กับเฝ้าระวังสถานการณ์อันไม่คาดคิด และเราพร้อมช่วยให้พวกเขาบรรลุเส้นทางที่ปรารถนา เคียงคู่กับการสร้างเกราะป้องกันทางการเงินอันยั่งยืนสำหรับความไม่แน่นอนต่าง ๆ”
ความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสิงคโปร์ลดลง ผู้บริโภคคาดหวังว่าสถานะการเงินจะดีขึ้นในเร็ววัน
ผู้บริโภคสิงคโปร์มีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ เนื่องมาจากตลาดแรงงานที่ตึงตัว ซึ่งเห็นได้จากอัตราส่วนตำแหน่งงานว่างต่อผู้หางานที่สูง โดยตัวเลขการเลิกจ้างยังคงควบคุมได้ นอกจากนี้ โมเมนตัมการเติบโตของสิงคโปร์อาจแข็งแกร่งขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีจากอุปสงค์ภายนอกที่ปรับตัวดีขึ้น หากธนาคารกลางหลักในเศรษฐกิจขั้นสูงเริ่มหรือยังคงปรับลดอัตราดอกเบี้ย รวมถึงเพิ่มกิจกรรมการลงทุนและการบริโภคในต่างประเทศ
ความรู้สึกดังกล่าวยังสะท้อนให้เห็นจากการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะถดถอยครั้งใหญ่ในปีหน้า ซึ่งปรับตัวดีขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์เทียบรายปี จำนวนผู้บริโภคในสิงคโปร์ที่คาดว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ในระยะใกล้ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาค 12 เปอร์เซ็นต์ โดยค่าเฉลี่ยยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้ว
ผู้บริโภคชาวสิงคโปร์มีความมั่นใจในสถานะทางการเงินของตนเองมากขึ้น โดย 78 เปอร์เซ็นต์คาดว่าจะมีฐานะทางการเงินที่ดีหรือดีขึ้นในปีหน้า ซึ่งเพิ่มขึ้น 8 เปอร์เซ็นต์จากปีที่แล้ว สำหรับประชากร Gen Z และ Y มีทัศนคติเชิงบวกมากที่สุด คิดเป็น 88 และ 81 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ส่วนประชากร Gen X มีทัศนคติเชิงบวกเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 14 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็น 73 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่คนรุ่นเบบี้บูมเมอร์มีทัศนคติซึ่งผ่อนคลายมากที่สุดถึง 54 เปอร์เซ็นต์
ผู้ตอบแบบสอบถาม 63 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่าอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นยังคงเป็นข้อกังวลหลักของผู้บริโภคในอาเซียน รองลงมาคือค่าใช้จ่ายครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น (58 เปอร์เซ็นต์) และการลดลงของเงินออมและการถือครองทรัพย์สิน (52 เปอร์เซ็นต์) ทั้งนี้ ระดับดังกล่าวไม่เปลี่ยนแปลงจากปี 2566 ซึ่งเป็นสัญญาณของอุปสรรคในการรับมือ
สำหรับปัญหาทางการเงินแบบเดียวกัน ผู้บริโภคสิงคโปร์ดูเหมือนจะกังวลน้อยกว่าผู้บริโภคในภูมิภาค โดยสัดส่วนของผู้ที่แสดงความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นลดลง 16 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 55 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ประชาชนซึ่งวิตกเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นและการออมหรือการถือครองทรัพย์สินที่ลดลงก็ปรับระดับลง 12 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 52 เปอร์เซ็นต์ และ 47 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ
มาตรการสนับสนุนที่นำมาใช้ในปีงบประมาณ 2567 ของสิงคโปร์ อาทิ การให้เงินอุดหนุนเพิ่มเติมแก่ครัวเรือน 600 ดอลลาร์ และการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 50 เปอร์เซ็นต์สำหรับปีนี้ ซึ่งกำหนดเพดานไว้ที่ 200 ดอลลาร์ มีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาค่าครองชีพของชาวสิงคโปร์ได้เป็นอย่างดี ควบคู่ไปกับการสนับสนุนจากรัฐบาลที่มีอยู่ก่อนแล้ว เช่น แพ็คเกจการรับประกันและโครงการบัตรกำนัล GST เพื่อมอบโอกาสเพิ่มเติมแก่ครัวเรือนซึ่งมีรายได้น้อยถึงปานกลางจากต้นทุนที่สูงขึ้น อนึ่ง การบรรเทาแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจากจุดสูงสุดในช่วงปลายปี 2565 ประกอบกับเงินดอลลาร์สิงคโปร์ที่แข็งค่าซึ่งช่วยรักษาอำนาจซื้อของผู้บริโภคในท้องถิ่นไปพร้อม ๆ กับการควบคุมเงินเฟ้อในประเทศ ทำให้สิงคโปร์มีความได้เปรียบเหนือประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค
สำหรับรายการหลักที่ผู้บริโภคชาวสิงคโปร์ระบุว่าใช้จ่ายมากขึ้นในปีที่ผ่านมา คือค่าสาธารณูปโภค (25 เปอร์เซ็นต์) ส่วนการเดินทางไปทำงานและการศึกษาของบุตรธิดาอยู่ในอันดับสอง (11 เปอร์เซ็นต์) และค่าอาหารในครัวเรือนอยู่ในอันดับสาม (7 เปอร์เซ็นต์) อย่างไรก็ตาม มีจำนวนผู้บริโภคที่เพิ่มการใช้จ่ายสำหรับค่าสาธารณูปโภคและค่าอาหารในครัวเรือนลดลงอย่างมาก โดยลดลง 6 เปอร์เซ็นต์ในปีที่แล้ว และลดลง 7 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ ยิ่งไปกว่านั้น ผู้บริโภคชาวสิงคโปร์ยังใช้จ่ายมากกว่าผู้บริโภคในภูมิภาคเดียวกันในเชิงประสบการณ์ อาทิ การเดินทางเพื่อพักผ่อน รับประทานอาหารชั้นดี คอนเสิร์ต งานอีเวนต์และเทศกาล โดย 43 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าพวกเขาเพิ่มการใช้จ่ายสำหรับรายการดังกล่าวในปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในภูมิภาคที่ 35 เปอร์เซ็นต์ สำหรับประสบการณ์หลักที่ผู้บริโภคชาวสิงคโปร์ยินดีจ่ายมากขึ้น ได้แก่ กิจกรรมบันเทิง เช่น คอนเสิร์ตและเทศกาล การเดินทางเพื่อพักผ่อน และรับประทานอาหารชั้นดี ตามลำดับ
ระดับความพร้อมทางการเงินที่ไม่เพียงพอในหมู่เยาวชน
ผู้บริโภคชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่ไม่ได้ดำเนินการที่เหมาะสมเพื่อสร้างอนาคตทางการเงินของตนเอง โดยคนรุ่น Gen Z มีความเสี่ยงมากที่สุด ในส่วนของความรู้ทางการเงินใหม่ การศึกษานี้สำรวจการจัดสรรเงินของผู้บริโภคโดยอิงตามกฎเกณฑ์คร่าว ๆ ที่ระบุไว้ในคู่มือเป็นหลัก ได้แก่ การจัดสรรเงินสำหรับค่าใช้จ่ายสามถึงหกเดือนเป็นกองทุนฉุกเฉิน การทำประกันคุ้มครองการเสียชีวิต การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง และโรคร้ายแรง การลงทุนเงินได้สุทธิอย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์สำหรับการเกษียณและเป้าหมายทางการเงินอื่น ๆ การทำพินัยกรรม ไปจนถึงการเสนอชื่อกองทุน CPF
การศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์คร่าว ๆ สามข้อหรือทั้งสี่ข้อ และ 37 เปอร์เซ็นต์ปฏิบัติตามสองข้อ สิ่งที่น่ากังวลคือ ผู้บริโภค 35 เปอร์เซ็นต์ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์คร่าว ๆ เพียงข้อเดียว ในขณะที่ 18 เปอร์เซ็นต์ไม่ปฏิบัติตามเลย โดย Gen Z คือกลุ่มประชากรที่น่ากังวลเป็นพิเศษ ซึ่ง 26 ปอร์เซ็นต์ไม่ปฏิบัติตามเลย แม้ว่าคนรุ่นดังกล่าวจะยังค่อนข้าง “ใหม่” กับการทำงานและอาจยังคงหาจุดยืนทางการเงิน อีกทั้งหลาย ๆ คนอาจต้องดิ้นรนกับค่าใช้จ่ายที่สูงมาก อาทิ การแต่งงานและที่อยู่อาศัย แต่การไม่มีเงินสำรองเพียงพอสำหรับเหตุการณ์ไม่คาดฝันในชีวิตก็เป็นเรื่องที่น่าวิตก
ผู้บริโภคชาวสิงคโปร์มีเงินสำรองเพียงพอสำหรับกรณีฉุกเฉิน โดย 60 เปอร์เซ็นต์มีเงินสำรองอย่างน้อย 3 เดือนสำหรับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน คนรุ่น Gen X มีสถานะต่ำที่สุด โดยมีเพียง 54 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีเงินสำรองสำหรับกรณีฉุกเฉิน เมื่อเทียบกับคนรุ่น Gen Y (62 เปอร์เซ็นต์) คนรุ่น Gen Z (59 เปอร์เซ็นต์) และคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ (77 เปอร์เซ็นต์)
ในแง่ของการประกันภัย ผู้บริโภคชาวสิงคโปร์ โดยเฉพาะคนรุ่น Gen Z จำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านโรคร้ายแรงและการเสียชีวิต รวมถึงความพิการถาวร มีผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 37 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ระบุว่ามีความคุ้มครองโรคร้ายแรง โดยสัดส่วนของคนรุ่น Gen Z ลดลงเหลือเพียง 17 เปอร์เซ็นต์ ในส่วนของประกันภัยการเสียชีวิตและการทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง มีผู้บริโภคชาวสิงคโปร์เพียง 22 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ได้รับความคุ้มครอง และสำหรับกลุ่ม Gen Z มีเพียง 13 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือ Gen Z มากกว่าหนึ่งใน 10 คน (12 เปอร์เซ็นต์) เปิดเผยว่าตนเองไม่มีประกันภัยเลย
ในแง่ของการลงทุน ผู้บริโภคชาวสิงคโปร์ 56 เปอร์เซ็นต์ กันเงินอย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ต่อปีไว้สำหรับการลงทุน ที่น่ายินดีคือ Gen Z และ Y เป็นกลุ่มที่ขยันขันแข็งที่สุด โดย 55 และ 62 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การลงทุน ซึ่งเป็นสัญญาณเชิงบวกที่บ่งชี้ว่าคนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับการเตรียมเงินสำหรับวัยเกษียณ ตลอดจนเป้าหมายทางการเงินอื่น ๆ อย่างเหมาะสม
ในแง่ของการวางแผนมรดก ผู้บริโภคชาวสิงคโปร์ครึ่งหนึ่งได้เสนอชื่อบุคคลให้เข้าร่วมโครงการ CPF โดยจำนวนลดลงเหลือ 1 ใน 5 (19 เปอร์เซ็นต์) เมื่อต้องทำพินัยกรรม ซึ่งอาจเพราะเป็นวัยรุ่น ประชากร Gen Z และ Y จึงเตรียมตัวน้อยกว่าคนรุ่นก่อน โดยมีเพียง 29 เปอร์เซ็นต์และ 43 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เสนอชื่อบุคคลให้เข้าร่วมโครงการ CPF ตามลำดับ เมื่อเทียบกับประชากร Gen X (64 เปอร์เซ็นต์) และคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ (74 เปอร์เซ็นต์) สำหรับการร่างพินัยกรรม มีประชากร Gen Z เพียง 10 เปอร์เซ็นต์ และคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์เพียง 15 เปอร์เซ็นต์ ที่เตรียมพินัยกรรมไว้แล้ว สิ่งที่น่ากังวลกว่านั้นคือ ประชากร Gen X เพียง 25 เปอร์เซ็นต์ และคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ 35 เปอร์เซ็นต์เตรียมพินัยกรรมไว้แล้ว แม้จะมีข้อห้ามหรือขาดความรู้ที่ถูกต้องก็ตาม
UOB มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนลูกค้าของเราในทุกช่วงชีวิต เรา
ขอแนะนำให้ลูกค้าของเราอ้างอิงจากคู่มือ และติดต่อเราหากต้องการความช่วยเหลือในการวางแผนการเงิน แบบจำลองแสดงให้เห็นว่าการออม การลงทุน และการคุ้มครองประกันภัยนั้นเป็นไปได้ในทุกช่วงวัยและทุกระดับรายได้สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงานและผู้เกษียณอายุ และเรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้ลูกค้าปกป้องและเพิ่มพูนเงินของตนให้สูงสุดในแบบที่ปลอดภัยและยั่งยืน
……………….
เกี่ยวกับ UOB
UOB เป็นธนาคารชั้นนำในเอเชีย โดยมีสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์และบริษัทสาขาธนาคารในจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม UOB มีเครือข่ายทั่วโลกกว่า 500 สำนักงานใน 19 ประเทศและเขตการปกครองในเอเชียแปซิฟิก ยุโรป และอเมริกาเหนือ ตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปี 2478 เราเติบโตอย่างเป็นค่อยเป็นค่อยไปและผ่านการซื้อกิจการเชิงกลยุทธ์ต่าง ๆ ปัจจุบัน UOB ได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในธนาคารชั้นนำของโลก: Aa1 โดย Moody’s Investors Service และ AA- โดยทั้ง S&P Global Ratings and Fitch Ratings
เป็นเวลาเกือบเก้าทศวรรษที่ UOB ได้ใช้แนวทางที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างมูลค่าในระยะยาวโดยยังคงไม่ลืมจิตวิญญาณแห่งการริเริ่มและดำเนินการอย่างถูกต้องเพื่อลูกค้า เรามุ่งรังสรรค์อนาคตของอาเซียนเพื่อประชาชนและภาคธุรกิจต่าง ๆ ในการเชื่อมโยงภูมิภาคให้เป็นหนึ่งเดียว
Social Links