“บิ๊กหัวเว่ย”ชูนวัตกรรม จุดประกายยุค 5.5G

“บิ๊กหัวเว่ย”ชูนวัตกรรม จุดประกายยุค 5.5G

“บิ๊กหัวเว่ย”ชูนวัตกรรม จุดประกายยุค 5.5G

                ภายในงาน “วิน-วิน: หัวเว่ย อินโนเวชัน วีค” (Win-Win•Huawei Innovation Week) เดวิด หวัง (David Wang) กรรมการบริหารและประธานคณะกรรมการบริหารโครงสร้างพื้นฐาน ICT ของหัวเว่ย กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “นวัตกรรม จุดประกายยุค 5.5G” โดยในปาฐกถาครั้งนี้ นายหวังพูดถึงวิวัฒนาการถัดไปของเทคโนโลยี 5G ซึ่งบริษัทเรียกว่า 5.5G ตลอดจนโรดแมปนวัตกรรมของอุตสาหกรรมในอีก 5-10 ปีข้างหน้า

                เดวิด หวัง กรรมการบริหารและประธานคณะกรรมการบริหารโครงสร้างพื้นฐาน ICT ของหัวเว่ย กล่าวปาฐกถาพิเศษ“เมื่อมองไปข้างหน้าถึงปี 2568 ความต้องการบริการเครือข่ายขนาดใหญ่ที่หลากหลายจะสร้างศักยภาพทางการตลาดใหม่อย่างมหาศาล” นายหวังกล่าว “เรามาที่นี่เพื่อหารือเกี่ยวกับโอกาสเหล่านี้กับผู้ให้บริการและพันธมิตรในอุตสาหกรรม รวมถึงสำรวจนวัตกรรมที่เราต้องมีเพื่อช่วยปูทางไปสู่ 5.5G”

                หัวเว่ยเสนอ 5.5G เป็นครั้งแรกในการประชุมบรอดแบนด์เคลื่อนที่โลก (Global Mobile Broadband Forum) ครั้งที่ 11 ปี 2563 และ F5.5G (หรือ 5.5G แบบคงที่) ในการประชุมสุดยอดนักวิเคราะห์โลก (Global Analyst Summit) ในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาอุตสาหกรรมนี้ก็เต็มไปด้วยไอเดียใหม่ ๆ และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด

ความต้องการใหม่ ๆ มากมายจะเป็นตัวยกระดับมาตรฐานโครงสร้างพื้นฐาน ICT ยุคใหม่

                ตามที่นายหวังกล่าว การพัฒนาใหม่ ๆ ในเทคโนโลยีดิจิทัลนั้นจำเป็นต้องสนับสนุนประสบการณ์ที่น่าสนใจและดื่มด่ำกับโลกดิจิทัลมากยิ่งขึ้นแบบเรียลไทม์อย่างแท้จริง ตลอดจนค่อย ๆ สร้างประสบการณ์เครือข่าย 10 Gbps ให้พร้อมใช้งานได้ทุกหนแห่งบนโลก

                ในด้านอุตสาหกรรม กระแสการแปลงเป็นดิจิทัลได้เกิดขึ้นแล้วอย่างรวดเร็ว โดย AI จะบูรณาการเข้ากับกระบวนการผลิตระดับองค์กรอย่างสมบูรณ์ และขนาดของตลาด IoT 5.5G จะเติบโตอย่างรวดเร็ว การทำงานร่วมกันระหว่างหุ่นยนต์กับคนในสถานการณ์ซับซ้อนจะกำหนดความต้องการได้มากขึ้นสำหรับเครือข่ายภาคสนามของอุตสาหกรรมยุคใหม่

                ในปัจจุบัน ปัญหาคอขวดในการประมวลผล เช่น เมมโมรีวอลล์ (memory wall), การใช้ทรัพยากรศูนย์ข้อมูลอย่างไม่สมดุล และประสิทธิภาพการใช้พลังงานต่ำ เป็นตัวขัดขวางไม่ให้ดีมานด์การประมวลผลแบบใหม่ปรากฏขึ้นได้ เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ อุตสาหกรรมจำเป็นต้องคิดค้นนวัตกรรมในระดับสถาปัตยกรรมและในระดับระบบเพื่อเพิ่มซัพพลายการประมวลผล

6 ฟีเจอร์ของ 5.5G – ค่านิยมใหม่สำหรับการพัฒนาและชีวิตดิจิทัล

                ประการแรกคือประสบการณ์ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ความเร็ว 10 Gbps โดย 5.5G จะมอบประสบการณ์แบบเร็ว 10 Gbps ผ่านเทคโนโลยี MIMO ที่มีแบนด์วิดท์ใหญ่ขึ้น ประสิทธิภาพสเปกตรัมสูงขึ้น และการมอดูเลตขั้นสูงยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยียุคใหม่ เช่น FTTR, Wi-Fi 7, 50G PON และ 800G นั้น F5.5G จะมอบประสบการณ์แบบเร็ว 10 Gbps ได้ทุกที่

ในงานนี้ นายหวังได้เสนอ Net5.5G เป็นครั้งแรก โดยให้นิยามวิวัฒนาการเครือข่าย IP เพื่อตอบสนองความต้องการพลังการประมวลผลด้วยแอปพลิเคชันอัจฉริยะ “เมื่อกระแสการแปลงเป็นดิจิทัลแพร่หลายอย่างมั่นคงแล้ว แอปพลิเคชันอัจฉริยะจะถูกนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์กันขนานใหญ่ และทรัพยากรการประมวลผลจะกระจายไปตามระบบคลาวด์ต่าง ๆ” นายหวังกล่าว “องค์กรจำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากพลังการประมวลผลจากคลาวด์หลายแห่งด้วยต้นทุนที่ต่ำลง พร้อมความคล่องตัวและความยืดหยุ่นที่เพิ่มสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องสร้างสรรค์นวัตกรรมต่อไปโดยอิงจาก IPv6 เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมรุดหน้า นี่คือเหตุผลที่เราเสนอ Net5.5G”

                ประการที่สอง ขอบเขตธุรกิจจะขยายออกไปไกลกว่าเรื่องความสามารถในการเชื่อมต่อ 5.5G จะก้าวไปไกลกว่าเรื่องความสามารถในการเชื่อมต่อ โดยจะรวมการตรวจจับด้วยเซ็นเซอร์ ซึ่งจะก่อให้เกิดรูปแบบการใช้งานในสถานการณ์ต่าง ๆ และแอปพลิเคชันใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมากมาย เทคโนโลยีการตรวจจับแบบไร้สายและการตรวจจับด้วยเซนเซอร์ผ่านไฟเบอร์จะนำมาใช้ในการทำงานร่วมกันระหว่างยานพาหนะ-ถนนและการตรวจสอบสภาพแวดล้อม โดยพาสซีฟ ไอโอที (Passive IoT) จะบูรณาการการใช้งานเทคโนโลยีเซลลูลาร์และพาสซีฟแท็กเข้าด้วยกันเพื่อสร้างการเชื่อมต่อที่มีศักยภาพถึง 1 แสนล้านครั้ง โดยเครือข่ายหลัก 5.5G จะกำหนดรูปแบบสถาปัตยกรรมและเทคโนโลยีพื้นฐานขึ้นใหม่ เพื่อรองรับสถานการณ์การให้บริการใหม่ ๆ เช่น เครือข่ายส่วนบุคคลในอุตสาหกรรม, เครือข่ายภาคสนามในอุตสาหกรรม และการโทรมิติใหม่

                ประการที่สาม ความหลากหลายในการประมวลผลจะช่วยให้สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ในยุค 5.5G สถาปัตยกรรมการประมวลผลจะถูกนิยามขึ้นมาใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลมากถึง 10 เท่า ผ่านวิศวกรรมชิปและสถาปัตยกรรมการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์เต็มรูปแบบ

                ประการที่สี่ ระบบจัดเก็บที่เน้นข้อมูลเป็นศูนย์กลางจะทลายขีดจำกัดของสถาปัตยกรรมการจัดเก็บข้อมูลแบบที่เป็นอยู่ การจัดเก็บข้อมูลในอนาคตจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บข้อมูลได้ถึง 10 เท่า โดยใช้สถาปัตยกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เน้นข้อมูลเป็นศูนย์กลาง รวมถึงกลไกที่ช่วยเร่งความเร็วในการทำงานของแอปพลิเคชันข้อมูลที่หลากหลาย

                ประการที่ห้า เนทีฟ AI แบบฟูลสแต็กจะทำให้เครือข่ายการขับขี่อัตโนมัติ (ADN) ขั้นสูงระดับ L4 เป็นจริงได้ ADN ได้กลายเป็นเป้าหมายร่วมกันของอุตสาหกรรมนี้ โดยเนทีฟ AI แบบฟูลสแต็กตั้งแต่ในระดับองค์ประกอบเครือข่ายไปจนถึงเครือข่ายและบริการต่าง ๆ จะช่วยเร่งความก้าวหน้าในเทคโนโลยี ADN ผลสำเร็จต่าง ๆ ที่มาจากนวัตกรรมจะถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในยุค 5.5G อาทิ อัลกอริทึมการบีบอัดสำหรับตัวบ่งชี้เครือข่ายหลายร้อยตัว และการระบุข้อผิดพลาดที่ไม่รู้จักด้วยโมเดล AI พื้นฐาน

                ประการสุดท้าย การพัฒนาเทคโนโลยีสีเขียวและนวัตกรรมระดับระบบจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน โดย ITU-T (ITU’s Telecommunication Standardization Sector) ซึ่งเป็นหน่วยงานของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ซึ่งมีหน้าที่กําหนดมาตรฐานโทรคมนาคม ได้นำข้อมูลเน็ตเวิร์กคาร์บอน/ความเข้มของพลังงาน (Network Carbon data/energy Intensity: NCIe) มาใช้เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพพลังงานแบบครบวงจรเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำโรดแมปการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรม หัวเว่ยได้พัฒนาโซลูชันนวัตกรรมสำหรับเว็บไซต์, เครือข่าย และการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มความจุของเครือข่ายและลดการใช้พลังงานต่อบิตลง ซึ่งโซลูชันเหล่านี้จะช่วยเสริมศักยภาพผู้ให้บริการในยุค 5.5G

                “ขณะที่เราก้าวไปสู่ยุค 5.5G ผู้เล่นทุกรายในอุตสาหกรรมจำเป็นต้องทำงานร่วมกันเพื่อสร้างมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับ พร้อมทั้งบ่มเพาะอุตสาหกรรมให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง” นายหวังกล่าว และกล่าวสรุปปิดท้ายปาฐกถาด้วยคำแนะนำ 3 ประการ

                •              อุตสาหกรรมจำเป็นต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์และโรดแมปสำหรับ 5.5G

                •              อุตสาหกรรมควรกำหนดมาตรฐานเทคโนโลยี โดยยึดตามกรอบมาตรฐานที่ตั้งขึ้นโดย 3GPP, ETSI และ ITU

                •              ผู้เล่นทุกรายในอุตสาหกรรมควรทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมอีโคซิสเต็มอุตสาหกรรมที่กำลังเฟื่องฟู โดยบ่มเพาะกรณีการใช้งานให้มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเร่งการพลิกโฉมสู่ระบบดิจิทัลอัจฉริยะ

                ทั้งนี้ งานกิจกรรม “วิน-วิน: หัวเว่ย อินโนเวชัน วีค” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-21 กรกฎาคม ที่เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน โดยร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายระดับโลก ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และผู้นำทางความคิด พร้อมทั้งเจาะลึกในประเด็นต่าง ๆ เช่น 5.5G, การพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการพลิกโฉมเข้าสู่ยุคดิจิทัล เพื่อเปิดจินตนาการถึงความสำเร็จร่วมกันในเศรษฐกิจดิจิทัล ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://carrier.huawei.com/en/events/winwin-innovation-week

 

You may also like

มาสเตอร์การ์ดเปิดตัว Pay Local เพิ่มช่องทางผู้ให้บริการกระเป๋าเงินดิจิทัลในเอเชีย รับชำระเงินจากผู้ถือบัตรมาสเตอร์การ์ดกว่า 2 พันล้านราย

มาสเตอร์