“ก.เกษตร”ไทย-ญี่ปุ่นตกลง ขยายความร่วมมือมิติใหม่ เชื่อม 4,200 องค์กรบนแพลตฟอร์ม FKII เพิ่มโอกาสการค้าการลงทุน 2 ประเทศ

“ก.เกษตร”ไทย-ญี่ปุ่นตกลง ขยายความร่วมมือมิติใหม่ เชื่อม 4,200 องค์กรบนแพลตฟอร์ม FKII เพิ่มโอกาสการค้าการลงทุน 2 ประเทศ

“ก.เกษตร”ไทย-ญี่ปุ่นตกลง ขยายความร่วมมือมิติใหม่

เชื่อม 4,200 องค์กรบนแพลตฟอร์ม FKII

เพิ่มโอกาสการค้าการลงทุน 2 ประเทศ

            รายงานจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงโตเกียววันนี้(6 ก.ค.)แจ้งว่านายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายสมศักดิ์ วิวิธเกยูรวงศ์ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) ประจำกรุงโตเกียว นายโชติ พึงเจริญพงศ์ คณะทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ นายณฐกร สุวรรณธาดา  คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ นายสกนธ์ วนาเศรษฐี ที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงโตเกียว และคณะพบหารือกับนายคูนิอากิ คาวามูระ( Mr. Kuniaki Kawamura )ประธานสภาความร่วมมือภาคอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา และภาครัฐ (The Council of Industry-Academia-Government Collaboration) ซึ่งมีแพลตฟอร์มเพื่อการวิจัยและพัฒนาในการเป็นแหล่งองค์ความรู้ การบูรณาการและนวัตกรรม (Filed for Knowledge, Integration & Innovation หรือ FKII) FKII อยู่ภายใต้กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น (MAFF) โดยมีนายโอคูมะ ราเคชิ(Mr. Okuma Rakeshi )เป็นผู้อำนวยการ FKII และทีมงานร่วมประชุมที่กระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมงญี่ปุ่นในกรุงโตเกียว

                นายอลงกรณ์ พลบุตร กล่าวว่าการเดินทางเยือนญี่ปุ่นครั้งนี้เป็นนโยบายของ ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีต้องการให้ขยายความร่วมมือทางด้านการเกษตรกับประเทศญี่ปุ่นในมิติต่างๆภายหลังจากนายเก็นจิโร คาเนโกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น พร้อมคณะเข้าพบหารือกับดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาในวาระครบรอบ135ปีแห่งความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง 2 ประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญอันดับ 2 ของไทย มีสัดส่วนการส่งออกไปญี่ปุ่นประมาณร้อยละ 11.35 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรไปตลาดโลกเป็นการสนองตอบต่อนโยบายเพิ่มความมั่นคงทางอาหารของญี่ปุ่น ซึ่งผลิตอาหารได้ 37% ของความต้องการในประเทศ

                ดังนั้นความร่วมมือระหว่าง 2 กระทรวงและภาคีภาคส่วนต่างๆจะช่วยเติมเต็มนโยบายของกันและกัน พร้อมกันนั้นนายอลงกรณ์ ได้แสดงความชื่นชม FKII ที่สามารถสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ในหลากหลายด้าน อาทิ เกษตรอัจฉริยะ อาหารสุขภาพ เกษตรกรรมยั่งยืน ฯลฯ โดยเฉพาะงานด้านเกษตรกรรมยั่งยืน (Sustainable agriculture) ที่ FKII มีแพลตฟอร์มเพื่อการวิจัยและพัฒนาถึง 72 กลุ่ม สอดคล้องกับแนวนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นแหล่งอาหารของโลก โดยการวิจัยและพัฒนาการใช้วัตถุดิบในการผลิตที่ให้คุณค่าทางสารอาหาร ในขณะที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดการเกิดปัญหาภาวะโลกร้อน และลดการสูญเสียอาหาร (Food loss) โดยนายอลงกรณ์ พลบุตร ได้ให้ความสนใจกับการวิจัยและพัฒนาของ FKII และประสงค์จะสร้างความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาร่วมกันในหลายประเด็น อาทิ อาหารจากพืช (Plant-based Food) อาหารจากแมลง (edible insect) ผลิตภัณฑ์จากสาหร่ายสำหรับเป็นอาหารคนและอาหารสัตว์ ยาและเครื่องสำอาง ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) และศูนย์ความเป็นเลิศ (COE) ซึ่งมีการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวเพื่อพัฒนาการผลิตการแปรรูปสู่เกษตรมูลค่าสูงตามนโยบายของของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หากได้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกันจะสามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้นายอลงกรณ์ พลบุตร ยังให้ความสนใจด้านระบบการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ เพื่อรักษาคุณภาพสินค้า (Cold Chain logistics) เพื่อเพิ่มความสามารถในการขนส่งสินค้าเกษตรและอาหาร เพิ่มมูลค่าทางการค้าและลดความสูญเสียอาหารได้ด้วย ซึ่งทั้งสองฝ่ายตกลงให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยมีสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เป็นผู้ประสานความร่วมมือต่อไป

                นายคูนิอากิ คาวามูระ ประธานสภาความร่วมมือฯ และนายโอคูมะ ราเคชิผู้อำนวยการ FKII ตอบตกลงและมีความยินดีที่จะร่วมมือในการวิจัยและพัฒนา แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันกับฝ่ายไทย โดยจะได้ประสานงานผ่านสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว ต่อไป

                ปัจจุบัน FKII มีสมาชิกกว่า 4,200 คน จากบริษัทผู้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร ผู้ประกอบการค้าส่งค้าปลีก สถาบันการเงิน สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น รวมถึงสถานทูตต่างๆกว่า 68 แห่งในญี่ปุ่น มีแพลตฟอร์มเพื่องานวิจัยและพัฒนารวม 171 กลุ่ม

You may also like

รุกแก้ปัญหาตั๋วเครื่องบินแพง “สุริยะ”จับมือ“6 สายการบิน”นำร่องของขวัญปีใหม่ เพิ่ม 50,000 ที่นั่ง พร้อมจัดโปรฯลด 30%

รุกแก้ปั