การจัดงานรำลึกทุกเหตุการณ์การเมืองสำคัญต้องเป็น”นิวนอร์มอล” ไม่บิดเบือนความจริง??

การจัดงานรำลึกทุกเหตุการณ์การเมืองสำคัญต้องเป็น”นิวนอร์มอล” ไม่บิดเบือนความจริง??

การจัดงานรำลึกทุกเหตุการณ์การเมืองสำคัญต้องเป็น"นิวนอร์มอล" ไม่บิดเบือนความจริง??

นายจักรยาน    

          สถานการณ์การเมืองที่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงประเทศที่สำคัญ ๆ ในอดีตมาจนถึงปัจจุบันนี้  อนุชนรุ่นหลังได้มีการจัดงานรำลึกถึงเหตุการณ์เป็นประเพณีประจำปี

          โดยเฉพาะการจัดงานรำลึก "คณะราษฎร์" ที่ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาสิทธิราชมาเป็นการระบอบประชาธิปไตย ที่มีการจัดกิจกรรมทางการเมืองอย่างต่อเนื่องในระยะหลัง

            ก็แปลกดีนะที่ หลังการเปลี่ยนแปลงประเทศสู่ประชาธิปไตยเพียงแค่ 1 ปี ก็มี "คนกันเอง" ใน "คณะราษฎร์" กระทำการยึดอำนาจรัฐประหารในวันที่ 20 มิถุนายน 2476 ด้วยเหตุผลความคิดที่แตกแยกขัดแย้งกัน

และก็มีการยึดอำนาจรัฐประหารอุบัติขึ้นมาอีกหลายสิบครั้งตั้งแต่ยังไม่เป็นยุค 1 จี มาจนถึงยุค 5 จี

          ขออนุญาตไล่เลียงการ "รัฐประหาร" ซึ่งสมัยนั้นยังไม่เรียกว่า "ปฏิวัติ"  จากการกระทำรัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476 ของพวกกันเองแล้ว  ก็ว่างเว้นมา 4 ปี  ก็มีการยึดอำนาจวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 โดยคณะทหารบก พล.ท.ผิน ชุณหวัณ ยึดอำนาจจากนายกรัฐมนตรีที่เป็นทหารเรือ "พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์"

            ต่อมาก็เกิดรัฐประหารแบบให้ปืนจี้บังคับ "นายควง อภัยวงศ์" ลาออกจากนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2491 มอบเก้าอี้ให้ จอมพล ป.พิบูลสงคราม

            เวลาผ่านมาไม่ถึงปีดี วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2492 ฝ่ายพันธมิตรของนายปรีดี พนมยงค์ หวังยึดอำนาจคืนมา  แต่ก็พ่ายแพ้ฝ่ายรัฐบาลจนต้องกลายเป็น "กลุ่มกบฎวังหลัง"

            แต่ "นายปรีดี พนมยงค์" ต้องลี้ภัยการเมืองไปต่างประเทศ ในที่สุดก็จบชีวิตลงที่ไม่ใช่ผืนแผ่นดินไทย!!

จอมพล ป. นั่งในเก้าอี้นายกรัฐมนตรมา 3 ปีก็รู้สึกเบื่อ ๆ อยาก ๆ แต่ว่ารู้สึก"อยาก" มากกว่าก็เลยยึดอำนาจตัวเอง เพื่อที่ได้เป็นนายกรัฐนตรีต่อไปนานที่สุด

            ซึ่งก็สมความปรารถนาเพราะ จอมพล ป. สามารถเป็นนายกรัฐมนตรีที่นานที่สุดของการเมืองไทยที่ยังไม่มีใครลบสถิติได้??

            ทว่าในท้ายที่สุด จอมพล ป.ก็พ่ายเกมการเมือง เพราะอยู่นานเกินไป  จน "จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์ " ผบ.ทบ.สมัยนั้น กระทำการรัฐประหารในวันที่ 16 กันยายน  2500 ที่เรียกว่า "คณะปฏิวัติ" เป็นครั้งแรก

            ส่งผลให้ จอมพล ป. ต้องหลบหนีลี้ภัยการเมืองไปต่างประเทศ และไม่มีโอกาสกลับแผ่นดินบ้านเกิด นอกจากเถ้าอัฐิ!!

            จอมพลสฤษดิ์ ปฏิวัติเสร็จ  ก็ไม่ยอมนั่งเก้าอี้ "นายกรัฐมนตรี"  โดยให้ "พจน์ สารสิน" นั่งเก้าอี้เป็นพลาง ๆ ก่อน เพื่อจัดการเลืกตั้ง หลังจากการเลือกต้้งก็ให้ "จอมพลถนอม กิตติขจร" เป้นนายกรัฐมนตรี

            ต่อมาเกิดความขัดแย้งวุ่นวายระหว่าง ส.ส. กับรัฐมนตรี จน "จอมพลถนอม" ควบคุมไม่อยู่  เป็นเหตุให้ "จอมสฤษดิ์" กับ "จอมพลถนอม" จับมือกันยึดอำนาจกลับคือมาเป็นของ "คณะปฏิวัติ" เหมือนเดิม

            และ "จอมพลสฤษดิ์" ได้เข้ามานั่งเก้าอี้ "นายกรัฐมนตรี" อย่างเต็มตัวเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์  2502

            ซึ่งมีคำพูดของ "จอมพลสฤษดิ์" ประโยคหนึ่งที่ฮิตติดปากมาจนถึงทุกวันนี้คือ"ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว"!!

            "จอมพลสฤษดิ์" นั่งเก้าอี้ "นายกรัฐมนตรี" ได้เพียง 4 ปีเศษ ๆ ก็ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 8 ธันวาคม 2506 ด้วยโรตไตพิการเรื้อรัง รวมสิริอายุเพียง 55 ปี และเป็น "นายกรัฐมนตรี" คนแรกของประเทศไทยที่เสียชีวิตขณะเป็นนายกรัฐมนตรี

            ผู้ที่รับไม้ต่อนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีคือ "จอมพลถนอม กิตติขจร" และให้มีการร่างรัฐธรรมนูญ  มีการเลือกตั้งทั่วไปปี 2512 โดย "จอมพลถนอม" กระโดดเป็นการเมืองเต็มตัว เป็นห้วหน้า"พรรคสหประชาไทย"

            ผลเลือกตั้งส่งผลให้ "จอมพลถนอม" รีเทิร์นมาเป็น "นายกรัฐมนตรี" ที่ บรรดา ส.ส.ซีกรัฐบาลและฝ่ายค้านเป็นตัวเพิ่มรสชาติการเมืองในขณะนั้นให้เผ็ดแซ่บจี๊ดวุ่นไปหมด

            เป็นเหตุให้ "จอมพลถนอม" คุมเกมการเมืองในสภาผู้แทน ฯ แบบ "เอาไม่อยู่" ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514ก็เลยปฏิวัติยึดอำนาจตัวเองง่ายกว่าให้ ส.ส.ทุกฝ่ายพ้นสภาพไปไม่ต้องพูดให้ยุ่งเหยิงต่อบ้านเมือง และมีสัญญาที่สำคัญว่าจะมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยเร็ว

            เวลาผ่านไปได้ 2 ปี การร่างรัฐธรรมนูญของ รัฐบาลปฏิวัติ "จอมพลถนอม" เป็นไปอย่างล่าช้า ไม่รู้ว่าจะสำเร็จลงเมื่อไหร่ ก็เลยมีกลุ่มนิสิตนักศึกษาและประชาชนออกมาเรียกร้องให้มี "รัฐธรรมนูย" และเลือกต้้งตามระบอบประชาธิปไตย

            ซึ่งได้เกิดเหตุการณ์ "วันมหาวิปโยค" 14 ตุลาคม 2516 จากการปฏิวัติของประชาชน จน "จอมพลถนอม" ต้องระเห็ดหนีภัยไปต่างประเทศ

            ว่าไปแล้ว "วันมหาวิปโยค" เป็นจุดเริ่มต้นในการจัดกิจกรรมการเมืองเพื่อรำลึกถึงผู้พลีชีพเพื่อประชาธิปไตยทุก ๆ ปี ที่ไม่เคยงดเว้นแม้่แต่ปีเดียว

            และวันอัปยศของประเทศไทยวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ขบวนการ "ฝ่ายขวา" ได้เข่นฆ่าหมู่นักศึกษาและประชาชนที่ถูกป้ายว่าเป็น "ฝ่ายซ้าย" เป็นเหตุให้บริเวณท้องสนามหลวงและสนามกีฬาภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ชะโลมด้วยเหลือจากผู้ที่เสียชีวิต

            ซึ่งวันดังกล่าว ก็เป็นวันปฏิวัติอีกครั้งของคณะทหารนำโดย "บิ๊กจอว์ส" พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่  ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ที่เรียกขานคณะตัวเองว่า "คณะปฏิรูปการปกครองประเทศ"!!

            ต่อมาปี 2520 "บิ๊กจอว์ส" และคณะทหารชุดเก่าก็ปฏิวัติรัฐบาลที่ตนเองแต่งตั้งให้ "นายกรัฐมนตรี" เป็นพลเรือน แต่บริหารบ้านเมืองไม่ถูกใจคณะนายทหาร

            การแต่งตั้งรัฐบาลของการปฏิวัติครั้งนี้ไม่เอา "พลเรือน" ให้เสียความรู้สึก  มอบเก้าอี้ให้ทหารคือ "พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์" ที่เป็นเสนาธิการของคณะปฏิวัติ!!

            หลังจากการเลือกตั้งในวันที่ 22 เมษายน 2522 มี ส.ส. และ ส.ว.ในสภาผู้แทนราษฎรแล้ว "พล.อ.เกรียงศักดิ์" ก็ได้กลับมาเป็น "นายกรัฐมนตรี" อีกครั้งตามที่รัฐธรรมนูญเขียนเปิดช่องไว้ให้ ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้ง 225 เสียงเป็นผู้หนุนส่งเป็นผู้นำประเทศอีกครั้ง

            แต่ "นายกฯเกรียงศักดิ์" บริหารประเทศได้เพียงปีเศษ ๆ ก็เจอมรสุมเรื่องราคาน้ำมันแพงในปี 2523 จึงประกาศลาออกจาก "นายกรัฐมนตรี"กลางที่ประชุมสภาผู้แทน ฯ

            ส่งผลให้ดวงชะตาชีวิตของ "พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์" ผู้บัญชาการทหารบกในเวลานี้ถูกเชิญให้มาเป็น "นายกรัฐมนตรี" ด้วยเสียงสนับสนุนจากสภาผู้แทน ฯ อย่างท่วมท้น เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2523

            "พล.อ.เปรม" เป็นนายกรัฐมนตรีมาถึง 8 ปีก็บอกว่า"ป๋าพอแล้ว" ไม่ขอรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีก  บายให้ "น้าชาติ" พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ หัวหน้าพรรคชาติไทยที่มีเสียง ส.ส.ในสภา ฯ มากที่สุดเป็น "นายกรัฐมนตรีคนต่อไปในวันที่ 4 สิงหาคม 2531

            "น้าชาติ" ได้บริหารบ้านเมืองมาถึง 23 กุมภาพันธ์ 2534 ก็ถูกโค่นลงจากเก้าอี้โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ รสช.นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ "บิ๊๋กจ๊อด" ผบ.ทหารสูงสุด และ "บิ๊กสุ" พล.อ.สุจินดา คราประยูร ผบ.ทบ.ในสมัยนั้น

            ภายหลังจากที่ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ ก็จัดให้มีการเลือกตั้้ง ส.ส.ทั่วประเทศ "พล.อ.สุจินดา คราประยูร" ต้อง "เสี่ยสัตย์เพื่อชาติ" มาน้่งเก้าอี้ "นายกรัฐมนตรี" คนนอก จากที่เคยพูดไว้ว่าไม่ขอเป็นนายกรัฐมนตรี

            ด้วยเหตุฉะนี้ จึงเป็นกลุ่มต่อต้าน "นายกรัฐมนตรี" คนนอกจนเกิดเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" ในปี 2535 ที่มีประชาชนผู้บริสุทธ์ต้องมาสังเวยชีวิตและสถานที่ราชการหลายแห่งถูกเผา

            การเมืองในช่วงต่อ ๆ มาก็มี "ปฏิวัติ" รัฐบาลของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อีกในปี 2549 โดยมี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. สมัยนั้นเป็นผู้นำ โดยใช้ชื่อคณะตนเองว่า "คณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ" หรือ คมช.

            โลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วที่ใคร ๆ คิดว่าจะไม่มี "ปฏิวัติ" อีก  ก็มีอีกจนได้ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เมื่อ "ลุงตู่" พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ได้กล่าวขอโทษยึดอำนาจจาก "ยิ่งลักษ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย

            อันเนื่องมาจาก พ.ร.บ.สุดซอย ที่รัฐบาล"ยิ่งลักษณ์"พยายามลักไก่ให้สภาผู้แทนที่พรรคเพื่อไทยมีเสียงข้างมากหวังให้พี่ชายตนเอง "ดร.ทักษิณ" สามารถกลับไทยอย่างเท่ ๆ

            ด้วยเหตุฉะนี้ทำให้มีการเดินขบวนประท้วงเป็นแรมเดือน จนบ้านเมืองวุ่นวายและรุนแรงมีเสียงปืนและระเบิด!!

            ดวงชีวิตของ "ลุงตู่" ได้มาเป็น "นายกรัฐมนตรี" ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ" หรือ คสช.(คุณสมชาย) ยืนยาวถึง 5 ปี และได้ก่อกำเนิดมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ปี 2560

            หลังเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 "ลุงตู่" สามารถสืบทอดอำนาจ"นายกรัฐมนตรี" ได้ตามช่องทางของรัฐธรรมนํญปี 60 ทื่ตั้งใจเขียนปูทางเอาไว้อย่างสะดวกโยธิน

            ณ เวลานี้ "ลุงตู่" ได้เป็นนายกรัฐมนตรีจากการเลือกของรัฐสภาตามกฎกติกาของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มาได้ปีกว่า ๆ  ก็ยังไม่รู้ว่าสถานการณ์การเมืองเรื่อง "ปฏิวัติ" จะปิดฉากไม่มีอีกแล้วในประเทศไทยหรือไม่

            เพราะการเมืองไทยต้องก้าวสู่ยุค New Normal ใครพรรคไหนกลุ่มการเมืองใดประพฤติตัวแบบ Old Normal ก็ต้องชิดซ้ายตกขอบการเมืองไป

            ดังนั้น "การปฏิวัติ" จึงเป็น Old Normal ที่ประชาชนทุกหมู่เหล่าต้องรวมพลังทำให้สูญสลายหายไปจากเมืองไทย??

            เหตุการณ์การปฏิวัติที่เล่าย้อนอดีตมาตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนาน 2475 ก็เป็นเรื่องอภิวัตน์การเมืองไทยของอดีตที่มาเชื่อมในปัจจุบันนี้ที่ไปถึงอนาคตให้ได้เรียนรู้ว่าทำไมจึงเกิดขึ้น

            กลุ่มการเมืองไหนอยากจะจัดกิจกรรมการเมืองรำลึกทั้งดีและเลวร้ายที่ไม่บิดเบือนความจริงของ "การปฏิวัติ" ครั้งไหนเพิ่มเติมอีก ก็สามารถจัดได้ตามสะดวกของสิทธิเสรีภาพประชาธิปไตย

          เนื่องจากประชาธิปไตยนั้นเป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน

          ขออย่างเดียวอย่าได้อ้าง"ประชาชน" มากเกินไปก็แล้วกัน  เพราะมันเป็นการเมืองทื่น่าเบื่อของประชาชนตัวจริงเสียงจริง??

 

 

 

You may also like

คปภ.เดินหน้า! เปิดเวทีสัมมนาวิชาการด้านประกันภัย ประจำปี 2567 “Thailand Insurance Symposium 2024”

 นายชูฉั