“การเมืองสีขาว” ประชาชนต้องมีส่วนร่วม

“การเมืองสีขาว” ประชาชนต้องมีส่วนร่วม

“การเมืองสีขาว”

ประชาชนต้องมีส่วนร่วม

………………………………..

“การเมืองสีขาว”  จะเกิดขึ้นได้เมื่อประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างมันขึ้นมา  อย่าโยนปัญหาให้กับกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง   สถาบันวิชาการ  14  ตุลา ก็ไม่สามารถสร้างได้ ถ้าประชาชนในประเทศนี้ไม่ให้ความร่วมมือในการสร้าง “ การเมืองสีขาว“

…………………………………..

มูลนิธิสถานบันวิชาการ  14  ตุลา จัดงานเสวนาทางวิชาการ ในประเด็น “การเมืองสีขาว”  เมื่อวันอาทิตย์ที่   26 กุมภาพันธ์ 2566  ณ โรงแรมรัตนโกสินทร์  ราชดำเนินนอก  กรุงเทพมหานคร  โดยได้มีผู้ร่วมงานจากตัวแทนกลุ่ม  14  ตุลา  นักวิชาการ  และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง  สื่อมวลชน  ร่วมระดมแนวคิด เพื่อให้การเมืองสีขาว ในการเลือกตั้งที่จะถึง ตามวาระของระบอบการเมืองที่คาดว่าจะยุบสภาผู้แทนราษฎรในเดือนมีนาคม 2566   นี้

นายพีรพล  ตริยะเกษม  ประธานมูลนิธิ  สถาบันวิชาการ  14  ตุลาได้ออกแถลงการของกลุ่มเรียกร้องการเมืองสีขาว จากสภาวะการเมืองในปัจจุบันที่มีแนวโน้มที่จะเป็นสีเทา และสีดำ ดังลักษณะใน  5 ประเด็นคือ 

  1.              การเมืองปัจจุบันสะท้อนภาพลักษณ์ และชื่อเสียงของประเทศ
  2.              การเมืองยุคปัจจุบันที่มุ่งช่วงชิงผลประโยชน์ของกลุ่มและพวกพ้องมากกว่าการคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติและประชาชน
  3.              การเมืองปัจจุบันทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคมและประชาชนทำให้ขาดพลังการสร้างสรรค์ การสร้างชาติให้เจริญรุ่งเรือง
  4.              การเมืองปัจจุบันทำลายสิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  ทำให้ประชาชนอ่อนแอ  ไม่อาจจะพึ่งตนเองได้
  5.              การเมืองปัจจุบันได้ทำลายระบบราชการที่ดี  และเกิดปัญหา  คอร์รัปชั่น  มากขึ้นตามลำดับ

โดยทางกลุ่มขอเรียกร้องให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งช่วยกันให้ความสำคัญในการไปเลือกตั้งและสร้างความโปร่งใสให้เกิดขึ้นหรือจะกล่าวว่าสร้างการเมืองสีขาวให้เกิดขึ้นทุกหมู่บ้านในประเทศนี้

รศ.วิทยากร  เชียงกูล  อดีตคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัย รังสิต   กล่าวว่า   นักการเมืองแบบไหนประชาชนในประเทศเราก็เป็นแบบนั้น   อย่าไปโทษใครเลย  เพราะนักการเมืองก็เป็นตัวแทนของประชาชน ถ้าประชาชนมีการศึกษา  มีความรู้ความเข้าใจก็สามารถที่ร่วมกันสร้างการเมืองสีขาวได้

รศ.ดร. ณรงค์  เพ็ชรประเสริฐ  คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต  กล่าวว่า  ต้องเข้าใจว่าโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ถามว่าประชาธิปไตยแบบสิงคโปร์  หรือจะเป็นประชาธิปไตยแบบไหนจริงๆ แล้วประเทศเราต้องทำประชาธิปไตยให้สอดคล้องกับประชาชน ของประเทศเราไม่จำเป็นต้องเหมือนใครก็ได้   แต่ที่สำคัญต้องจัดสรรค์อำนาจให้ลงตัว  ให้สามารถอยู่กับวิกฤตให้ได้  การเมืองเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ  เข้าไปเกี่ยวกับนายทุน  ซึ่งมีอำนาจมากในการกำหนดนโยบายแห่งรัฐ  จริงแล้วประชาชนโดยส่วนมากไม่มีอำนาจเท่านายทุนของประเทศที่เข้าไปครอบงำอำนาจแห่งรัฐ   แต่จะทำอย่างไร ให้ประชาชนสามารถยืนอยู่ได้อย่างเท่าเทียม  มีกิน  มีใช้ ไม่เกิดช่องว่างมากเกินไป โดยการสร้างสมดุลยภาพของอำนาจใน 3  ส่วนให้ได้คือ รัฐ, นายทุน , และประชาชน  แต่ที่ผ่านมาอำนาจประชาชนไม่มี มีแต่อำนาจของนายทุน

You may also like

มาสเตอร์การ์ดเปิดตัว Pay Local เพิ่มช่องทางผู้ให้บริการกระเป๋าเงินดิจิทัลในเอเชีย รับชำระเงินจากผู้ถือบัตรมาสเตอร์การ์ดกว่า 2 พันล้านราย

มาสเตอร์