ข้อเสนอแนะป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรงการก่อสร้างทางด่วน พระราม 2 !!

ข้อเสนอแนะป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรงการก่อสร้างทางด่วน พระราม 2 !!

ข้อเสนอแนะป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรงการก่อสร้างทางด่วน พระราม 2 !!

     ดร.ไกร  ตั้งสง่า ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการคมนาคมทางบกและทางราง วุฒิสภา  ได้ให้ความเห็นกรณีเหตุการณ์ชิ้นงาน คานกล่องคอนกรีต (Precast Segment ) ของ คานกล่องคอนกรีต ( Precast Concrete Segmental Box Girder Viaduct )ของทางด่วน พระราม 2  ได้เกิดอุบัติเหตุหล่นลงมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตหนึ่งราย และเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้ใช้รถใช้ถนน เมื่อวันอาทิตย์ 7 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา นั้น

จากเหตุร้ายแรงดังกล่าว ตนจึงใคร่ขอเสนอความเห็นว่าวิธีและมาตรการการป้องกัน ดังนี้

  1. การก่อสร้าง คานกล่องคอนกรีต (Segmental Box Girder Viaduct ) โดยการติดตั้ง (Erection) ด้วยคานติดตั้งเคลื่อนที่ ( Launching Trusses )ที่มี เหล็กเส้นอัดแรง (Stress Bar หรือ Post Tension (PT) Bar )เป็นอุปกรณ์สำคัญในการยก และ หิ้วแขวนชิ้นส่วนคานกล่องคอนกรีต ( Segmental Box Girder )ที่มีน้ำหนักมาก ในระหว่างขั้นตอน การประกอบติดตั้ง ซึ่งอุปกรณ์ PT Bar หรือ Stress Bar หากใช้ ซ้ำ หลายๆ ครั้งอาจเกิดความล้าของเหล็กเส้น ( Fatigue )ในเนื้อวัสดุ หรืออาจมีการทุบกระแทกให้มีตำหนิ ( Flaw) หรือ เกิดรอยแตกภายในเนื้อวัสดุ (Rupture) อันมีผลให้เกิดการวิบัติ เมื่อรับแรงดึงสูงจากการหิ้ว ชิ้นงาน ที่มีน้ำหนักมาก

ปัญหานี้ สามารถ ป้องกันได้ โดยการระบุ ข้อกำหนดให้มีการใช้อุปกรณ์ PT Bar/Stess Bar  ใหม่ที่ไม่เคยใช้งานมาก่อน ทุกครั้งเมื่อเริ่มโครงการใหม่ โดยให้มีการนำเสนอผลใบรับรองทดสอบ ( Lot Certificate )ของอุปกรณ์จากผู้ขาย PT Bar/Stress Bar ที่เชื่อถือได้

กรณีทางด่วนพระรามสอง  เนื่องจากเป็นทางด่วนยกระดับ ทีมีความยาวตามระยะทาง อาจจำเป็นต้องกำหนดให้มีการเปลี่ยน PT Bar/Stress Bar ใหม่ ทุกๆ การใช้ซ้ำ (Time-use) ไม่เกิน.. .60.. .ครั้ง  (โดยปกติแล้ว อุปกรณ์ PT Bar เส้นหนึ่งๆ ใน Launching Truss แต่ละชุด จะใช้งานรับน้ำหนัก หนึ่งครั้งต่อการติดตั้ง Segmental Box Girder Viaduct 1 Span) ซึ่งหมายถึงว่า เมื่อ Launching Truss ทำงาน Erection Viaduct ได้ครบจำนวน…. 60.. . Span แล้ว ต้องให้ทำการเปลี่ยน PT Bar/Stress Bar ใน คานติดตั้งเคลื่อนที่ (Launching Truss ) นั้น ทั้งระบบ และ ไม่อนุญาตให้มีการใช้เหล็กเส้นอัดแรงซ้ำ  (Re -use PT Bar )กลับมาใช้ในโครงการโดยเด็ดขาด

  1. เจ้าของงาน / ที่ปรึกษาคุมงาน CSC / ผู้รับจ้าง ต้องให้ความสำคัญกับ ขบวนการป้องกันและบำรุงรักษา (Preventive Maintenance ) และ การตรวจความปลอดภัย ( Safety Inspection/ Safety Audit Program ) ในทุกขั้นตอน เช่น
  • การออกแบบ และการ ประกอบคานติดตั้งเคลื่อนที่ (Fabricate Launching Truss ) ทุกชุด ต้องมีมาตรฐาน ในด้านความแข็งแรง และ กลไกปฏิบัติการ ต้องมีความปลอดภัยสูง
  • ในขั้นตอนการติดตั้ง ต้องมีการบันทึกจำนวนครั้ง (Time -use) ที่ใช้อุปกรณ์ PT Bar ยกและติดตั้งชิ้นงานคานกล่องคอนกรีต ( Segment Box Girder )
  • ตรวจสภาพเหล็กเส้นอัดแรง ( PT Bar )ด้วย การสำรวจสภาพด้วยตาเปล่า (Visual Inspection )และ การสุ่มตรวจคุณภาพโดยส่งไปให้ห้องทดสอบ ( Random Laboratory Test )โดยสม่ำเสมอ เป็นรอบเวลา
  • ที่ปรึกษาคุมงาน CSC ( Construction Supervision Consultants) ให้ความสำคัญกับกิจกรรม Safety Inspection/Safety Audit เป็นรอบเวลา (Periodic) ตลอดระยะเวลาก่อสร้าง
  1. เนื่องจากเป็นการก่อสร้างทางด่วนบนถนนหรือทางหลวง ที่มีผลกระทบต่อการจราจรของสาธารณะ  ในระหว่างการก่อสร้าง ติดตั้งชิ้นส่วนคานกล่องคอนกรีต ( Segment  Box Girder ) จำเป็นต้องพิจารณาปิดถนนขั่วคราวอย่างน้อยหนึ่งถึงสองช่องจราจร เพื่อป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชน โดยการประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนทราบล่วงหน้า โดยจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับสาธารณะ ให้ยอมรับสภาพการจราจร ที่จะติดขัดได้บ้าง
  2.   เนื่องจากมีหน่วยราชการและรัฐวิสากิจ ที่มีการก่อสร้างลักษณะเดียวกัน มาตรการนี้ควรบังคับใช้ในการก่อสร้างของ
  • การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • กรมทางหลวง
  • กรมทางหลวงชนบท
  • การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
  • การรถไฟแห่งประเทศ
  • กรุงเทพมหานคร

 

You may also like

เปิดตัวดัชนีชี้วัดความปลอดภัยของเด็ก บนโลกออนไลน์ทั้งในระดับชาติและระดับโลก

เปิดตัวด