จีนก้าวนำโลกด้านใช้งาน GenAI ส่วนสหรัฐฯ เป็นผู้นำด้านปรับใช้งานเต็มรูปแบบ

จีนก้าวนำโลกด้านใช้งาน GenAI ส่วนสหรัฐฯ เป็นผู้นำด้านปรับใช้งานเต็มรูปแบบ

จีนก้าวนำโลกด้านใช้งาน GenAI

ส่วนสหรัฐฯ เป็นผู้นำด้านปรับใช้งานเต็มรูปแบบ

เหล่าผู้นำได้สังเกตเห็นว่าการขาดความเข้าใจ กลยุทธ์ทางธุรกิจ ข้อมูลที่เพียงพอ และความพร้อมด้านกฎระเบียบล้วนเป็นปัญหาสำคัญ ในขณะที่ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ความปลอดภัย และการกำกับดูแลถือเป็นความท้าทายหลัก

เจเนอเรทีฟ เอไอได้รับการยอมรับในวงกว้าง องค์กรต่างๆ ทั่วโลกต่างกระตือรือร้นที่จะใช้งานและลงทุนในเทคโนโลยี แต่ภูมิภาคและประเทศใดบ้างที่กำลังเป็นผู้นำในการใช้งาน GenAI นี้

จากการศึกษาทั่วโลกเมื่อเร็วๆ นี้ที่ SAS ได้รับมอบหมายจาก Coleman Parkes Research Ltd. ได้แสดงให้เห็นว่าประเทศจีนกำลังเป็นผู้นำในด้านนี้ โดยผู้มีอำนาจตัดสินใจทางธุรกิจในจีน 83% รายงานว่าองค์กรของพวกเขากำลังใช้งานเทคโนโลยีนี้อยู่ ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่าสหราชอาณาจักร (70%) สหรัฐอเมริกา (65%) และออสเตรเลีย (63%) แต่องค์กรในสหรัฐอเมริกายังคงก้าวนำในแง่ของการเติบโตและมีการปรับใช้เทคโนโลยี GenAI เต็มรูปแบบอยู่ที่ 24% เทียบกับประเทศจีนที่ 19% และสหราชอาณาจักรที่ 11%

เรื่องนี้หมายความว่าอย่างไรในแง่ของผลกระทบจาก AI และ GenAI ต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ในรายงานปี 2567 McKinsey ประเมินว่า GenAI จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 2.6 ถึง 4.4 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี ในกรณีการใช้งานที่หลากหลาย ซึ่งเทียบได้กับ GDP ทั้งหมดของสหราชอาณาจักรในปี 2564 ผลกระทบนี้จะเพิ่มอิทธิพลของปัญญาประดิษฐ์ในภาพรวมขึ้น 15% ถึง 40%

SAS และ Coleman Parkes กำหนดเป้าหมายไปยังผู้มีอำนาจตัดสินใจ 1,600 รายในตลาดสำคัญๆ ทั่วโลก โดยพิจารณาถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจเหล่านี้ ผู้ตอบแบบสอบถามทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิเช่น การธนาคาร ประกันภัย ภาครัฐ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ การดูแลสุขภาพ โทรคมนาคม การผลิต การค้าปลีก พลังงานและสาธารณูปโภค รวมถึงบริการระดับมืออาชีพ โดยองค์กรขนาดเล็กที่สุดที่ทำการสำรวจมีพนักงาน 500 – 999 คน และองค์กรที่ใหญ่ที่สุดมีพนักงานกว่า 10,000 คน

แม้ประเทศจีนอาจเป็นผู้นำในการอัตราการปรับใช้ GenAI แต่การปรับใช้ที่มากขึ้นไม่ได้หมายความว่าจะมีการปรับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือมีผลตอบแทนที่ดีขึ้นStephen Saw กรรมการผู้จัดการที่ Coleman Parkes กล่าว “ในความเป็นจริงแล้ว สหรัฐฯ ได้ก้าวนำในการแข่งขันโดยมีองค์กร 24% ที่ปรับใช้งาน GenAI เต็มรูปแบบ เทียบกับ 19% ในประเทศจีน”

ภูมิภาคทั่วโลกได้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วย GenAI

ไฮไลท์สำคัญจากผลการสำรวจทั่วโลก รวมถึง ตัวบ่งชี้ที่ส่งสัญญาณว่าภูมิภาคต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วม และเริ่มนำ GenAI ไปใช้ในรูปแบบที่มีความหมาย แต่ในอัตราที่แตกต่างกัน

ในขณะที่ปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ องค์กรต่างๆ ล้วนต้องก้าวไปสู่ขั้นตอนการค้นพบ แยกกระแสนิยมที่เกินจริงออกจากความเป็นจริง เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความซับซ้อนของการปรับใช้งานในองค์กรในโลกแห่งความเป็นจริง เราได้มาถึงช่วงเวลานี้ของเจเนอเรทีฟ เอไอแล้ว” Bryan Harris รองประธานบริหารและซีทีโอของ SAS กล่าว “ในขณะที่เราออกจากวงจรกระแสนิยมที่เกินจริง นี่เป็นเวลาเกี่ยวกับการนำไปปรับใช้งานอย่างมีความหมาย และส่งมอบผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ทำซ้ำและเชื่อถือได้จาก GenAI”

ภูมิภาคต่างๆ มีระดับการใช้ และการปรับใช้เจเนอเรทีฟ เอไอกระบวนการขององค์กรอย่างเต็มรูปแบบอยู่ในระดับใดบ้าง

อเมริกาเหนือ: 20%

APAC: 10%

LATAM: 8%

ยุโรปเหนือ: 7%

ยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ และยุโรปตะวันออก: 7%

ภูมิภาคใดบ้างที่นำนโยบายการปรับใช้ GenAI ไปใช้

APAC: 71%

อเมริกาเหนือ: 63%

ยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ และยุโรปตะวันออก: 60%

ยุโรปเหนือ: 58%

LATAM: 52%

ผู้ที่วางแผนจะลงทุนใน GenAI ในปีงบประมาณถัดไปได้มีการกำหนดงบประมาณในส่วนนี้มากน้อยเพียงใด

APAC: 94%

ยุโรปเหนือ: 91%

ยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ และยุโรปตะวันออก: 91%

อเมริกาเหนือ: 89%

LATAM: 84%

โปรดทราบ: อเมริกาเหนือ ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและแคนาดา LATAM ได้แก่ บราซิลและเม็กซิโก ยุโรปเหนือ ได้แก่ สหราชอาณาจักร/ไอร์แลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ ฟินแลนด์ เดนมาร์ก ยุโรปตะวันตกเฉียงใต้และยุโรปตะวันออก ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เบเนลักซ์ สเปน และโปแลนด์ และ APAC ครอบคลุมออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์/ซาอุดีอาระเบีย

อุตสาหกรรมและหน่วยงานต่างๆ มีการปรับใช้ GenAI ในอัตราที่แตกต่างกัน Sabine VanderLinden ซีอีโอและหุ้นส่วนกิจการของ Alchemy Crew มองเห็นศักยภาพมากมายสำหรับอุตสาหกรรมที่ลงทุนใน GenAI “อนาคตของธุรกิจกำลังถูกกำหนดรูปแบบใหม่โดยเจเนอเรทีฟ เอไอ” เธอกล่าว “แท้จริงแล้ว การบูรณาการ GenAI เข้ากับกระบวนการทางธุรกิจ ตั้งแต่การสร้างโปรไฟล์แบบไดนามิกในด้านการตลาด ไปจนถึงการเคลมประกันภัยที่แม่นยำ ได้มอบโอกาสที่เหนือชั้นในด้านประสิทธิภาพ การปรับแต่งเฉพาะบุคคล และการมองการณ์ไกลเชิงกลยุทธ์ การโอบรับเทคโนโลยีเหล่านี้ถือเป็นสิ่งสำคัญในการก้าวนำในตลาดที่มีการแข่งขันสูง ซึ่งมีความผันผวนสูงและไม่อาจคาดเดาได้”

ในขณะที่เราแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการธนาคารและการประกันภัยได้ก้าวนำอุตสาหกรรมอื่นๆ ในแง่ของการนำ GenAI AI เข้ามาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจรายวันผ่านตัวชี้วัดที่หลากหลาย โดยมีไฮไลท์จากข้อมูลที่ค้นพบอยู่ที่ด้านล่าง

อุตสาหกรรมเฉพาะมีระดับการปรับใช้งาน GenAI เต็มรูปแบบ และการปรับใช้งานเต็มรูปแบบกับกระบวนการธุรกิจทั่วไปอยู่ในระดับใดบ้าง

การธนาคาร: 17%

โทรคมนาคม: 15%

ประกันภัย: 11%

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ: 11%

บริการระดับมืออาชีพ: 11%

การค้าปลีก: 10%

ภาครัฐ: 9%

การดูแลสุขภาพ: 9%

การผลิต: 7%

พลังงานและสาธารณูปโภค: 6%

อุตสาหกรรมใดบ้างที่ระบุว่าพวกเขาใช้ GenAI ทุกวันอยู่แล้ว

โทรคมนาคม: 29%

การค้าปลีก: 27%

การธนาคาร: 23%

บริการระดับมืออาชีพ: 23%

ประกันภัย: 22%

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ: 19%

การดูแลสุขภาพ: 17%

พลังงานและสาธารณูปโภค: 17%

การผลิต: 16%

ภาครัฐ: 13%

แผนกใดในองค์กรที่กำลังใช้หรือวางแผนที่จะใช้ GenAI 

ฝ่ายขาย: 86%

ฝ่ายการตลาด: 85%

ฝ่ายไอที: 81%

ฝ่ายการเงิน: 75%

ฝ่ายการผลิต: 75%

ผู้นำกระแสในการปรับใช้งานประสบกับอุปสรรคมากมายในการใช้งาน และการปรับใช้ GenAI

ความท้าทายอันดับ 1 ที่องค์กรต้องเผชิญในการนำ GenAI ไปใช้งานเป็นกิจวัตรคือ การขาดกลยุทธ์ GenAI ที่ชัดเจน

มีผู้นำเพียง 9% ที่ตอบแบบสำรวจที่ระบุว่า พวกเขาคุ้นเคยอย่างยิ่งกับการปรับใช้งาน GenAI ขององค์กร ซึ่งจากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามว่าองค์กรของตนได้นำ GenAI ไปปรับใช้อย่างเต็มที่ มีเพียง 25% เท่านั้นที่กล่าวว่าพวกเขาคุ้นเคยเป็นอย่างยิ่งกับกลยุทธ์การนำ GenAI ไปใช้ขององค์กรของตน และแม้แต่ผู้มีอำนาจตัดสินใจที่รับผิดชอบการตัดสินใจด้านการลงทุนด้านเทคโนโลยีก็ไม่มีความคุ้นเคยกับ AI โดยรวมไปถึงองค์กรที่นำกระแสในการปรับใช้งาน

ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านเทคโนโลยีอาวุโส 9 ใน 10 คนยอมรับว่า พวกเขาไม่เข้าใจได้ GenAI อย่างถ่องแท้ และไม่ได้เข้าใจถึงศักยภาพที่ GenAI สามารถส่งผลกระทบต่อกระบวนการทางธุรกิจได้ ซึ่ง 45% ตอบว่าซีไอโอเป็นผู้นำร่วมกับผู้บริหารที่เข้าใจกลยุทธ์การนำ AI มาปรับใช้ในองค์กรของพวกเขา แต่ในขณะที่มีประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (ซีทีโอ) เพียง 36% เท่านั้นที่กล่าวว่าตนมีความรู้อย่างครบถ้วน

แม้ว่าจะมีช่องว่างเกี่ยวกับความเข้าใจนี้ แต่องค์กรส่วนใหญ่ (75%) กล่าวว่าพวกเขาได้กันงบประมาณไว้เพื่อลงทุนใน GenAI ในปีงบประมาณหน้า

ความท้าทายอื่นๆ ที่องค์กรต้องเผชิญ ได้แก่:

  • ข้อมูล ในขณะที่องค์กรต่างๆ นำ GenAI มาปรับใช้ พวกเขากลับตระหนักว่า พวกเขามีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะปรับแต่งโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLMs) ทั้งยังตระหนักอีกว่า หลังจากที่พวกเขาลงลึกในเรื่องการปรับใช้งานแล้ว พวกเขากลับไม่มีเครื่องมือที่เหมาะสมในการปรับใช้งาน AI ให้สำเร็จ โดยผู้นำด้านไอทีขององค์กรส่วนใหญ่มีข้อกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (76%) และความปลอดภัยของข้อมูล (75%)
  • ระเบียบข้อบังคับ มีเพียง 10 องค์กรเท่านั้นที่ระบุว่าตนมีความพร้อมอย่างเต็มที่ที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบด้าน AI ที่กำลังจะมีขึ้น หนึ่งในสามขององค์กรที่ได้ปรับใช้งานอย่างเต็มที่เชื่อว่าตนสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบได้ โดยมีเพียง 7% เท่านั้นที่ให้การฝึกอบรมระดับสูงเกี่ยวกับการกำกับดูแล GenAI และมีเพียง 5% เท่านั้นที่มีระบบที่เชื่อถือได้ในการวัดค่าความเอนเอียง และความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัวใน LLM

ทั้งนี้แม้ว่าจะมีอุปสรรคมากมาย แต่ผู้นำกระแสบางรายก็ได้รับผลประโยชน์ที่มีความหมายแล้ว: 89% รายงานว่าประสบการณ์และความพึงพอใจของพนักงานดีขึ้น 82% กล่าวว่าพวกเขาประหยัดต้นทุนการดำเนินงานได้ และ 82% ระบุว่าพวกเขาสามารถรักษาลูกค้าไว้ได้มากขึ้น

ติดตามข่าวสารล่าสุดจาก SAS โดยติดตาม @SASsoftwareNews บน X/Twitter

……………………………

เกี่ยวกับ SAS SAS

เป็นผู้นำระดับโลกในด้านข้อมูลและ AI ซึ่งช่วยให้องค์กรต่างๆ เปลี่ยนข้อมูลให้เป็นการตัดสินใจที่เชื่อถือได้ผ่านซอฟต์แวร์ SAS และโซลูชันเฉพาะอุตสาหกรรม เพราะ SAS ได้มอบ THE POWER TO KNOW® ให้แก่คุณ

SAS และชื่อผลิตภัณฑ์หรือบริการอื่นๆ ของ SAS Institute Inc. เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนหรือเครื่องหมายการค้าของ SAS Institute Inc. ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ® หมายถึงการจดทะเบียนของสหรัฐอเมริกา ชื่อแบรนด์และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทที่เกี่ยวข้อง ลิขสิทธิ์ © 2024 SAS Institute Inc. สงวนลิขสิทธิ์

You may also like

คปภ.เดินหน้า! เปิดเวทีสัมมนาวิชาการด้านประกันภัย ประจำปี 2567 “Thailand Insurance Symposium 2024”

 นายชูฉั