ทำไมต้อง “เหยียบพรมก่อนเข้าอาคาร” เพราะนี่คือ-การฆ่าเชื้อ COVID-19 ของเส้นใยชนิดพิเศษ

ทำไมต้อง “เหยียบพรมก่อนเข้าอาคาร” เพราะนี่คือ-การฆ่าเชื้อ COVID-19 ของเส้นใยชนิดพิเศษ

ทำไมต้อง “เหยียบพรมก่อนเข้าอาคาร”

เพราะนี่คือ-การฆ่าเชื้อ COVID-19 ของเส้นใยชนิดพิเศษ

            ในวันแรกที่บรรดาห้างร้านอาคาร โรงพยาบาลต่างๆ เปิดทำการช่วง COVID-19 การวัดอุณหภูมิและการถูมือด้วยแอลกอฮอล์ถือเป็นสิ่งแปลกใหม่ที่เราต้องเจอ ซึ่งนอกจากด่านบังคับทั้ง 2 แล้ว อีกหนึ่งสิ่งแปลกปลอมที่ผ่านตา (รวมถึงผ่านเท้า) ก็คงเป็นเจ้า ‘พรมผืนหนา’ ที่กางแผ่ราบขวางกั้นอาคารและโลกภายนอก มาพร้อมกับคำแนะนำจากเจ้าพนักงานว่า “ช่วยเดินผ่านพรม เพื่อฆ่าเชื้อด้วยครับ/ค่ะ”

            คำแนะนำเพียงเพื่อให้เราเดินเหยียบพรมผืนนี้ไป ไม่ได้ช่วยคลายข้อสงสัยเลยแม้แต่น้อย ว่าเจ้าผ้าถักผืนแห้งๆ (ที่ไม่ได้ชุบน้ำยาฆ่าเชื้อมาแน่ๆ) มีความสามารถในการฆ่าเชื้ออยู่ตรงไหน แล้วทำไมถึงจัดการกับ COVID-19 ที่เพิ่งค้นพบได้กันแน่ ซึ่งคำถามนี้ก็เกือบจะไม่ได้รับคำตอบอยู่แล้ว จนกระทั่งสายตาเหลือบไปเห็นสัญลักษณ์เล็กๆ ที่ถักว่า “AVA™” นั่นแหละ ที่ช่วยให้ข้อสงสัยนี้กระจ่างขึ้นมาทันที

            AVA™ หรือนวัตกรรมสิ่งทอที่มีชื่อเต็มๆ ว่า “AVA™ Anti-Viral Allergy Free” คือเส้นใยที่ถูกวิจัยและพัฒนาขึ้นโดย “The Carpet Maker Thailand” ซึ่งก่อนหน้าที่ COVID-19 จะก่อเกิดและแพร่ระบาดไปทั่วโลก พรม AVA™ ก็ได้ทำหน้าที่ของมันอยู่ก่อนแล้ว นั่นคือเป็นหน้าด่านในการจัดการกับเชื้อโรค ไรฝุ่น รวมถึงมลภาวะต่างๆ ที่เท้าของเราเหยียบย่ำมาตลอดการเดินทางโดยที่ไม่มีใครสังเกต แต่เมื่อ COVID-19 แพร่ระบาดหนักขึ้น พรม AVA™ จึงมีบทบาทเต็มตัวในการ ‘กำจัด’ ไวรัสชนิดนี้ด้วยนั่นเอง

            การ ‘กำจัด’ ของ AVA™ ไม่ใช่แค่ดักจับหรือกักไวรัสไว้ที่พรม แต่หมายถึงการจัดการทิ้งจริงๆ ชนิดที่ว่าทันทีที่ฝ่าเท้าสัมผัสกับพรม เชื้อ COVID-19 จะถูกกะเทาะเปลือกโปรตีนและไขมันตรงนั้น ในแบบที่แพร่กระจายต่อไม่ได้อีกเลย

            ซึ่งหากต้องลงลึกกว่านั้น ก็คงต้องมานั่งทำความเข้าใจกันก่อนว่า COVID-19 ที่ใครๆ ก็เบือนหน้าหนี มันมีวิธีการเพิ่มตัวเองอย่างไร จนสามารถแพร่ระบาดในตัวมนุษย์ได้อย่างรวดเร็วนัก

            COVID-19 เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา หรือ CoV ซึ่งเป็นไวรัสชนิด RNA สายเดี่ยวเชิงบวก ที่มีมากมายหลายสายพันธุ์ โดยแต่ละสายพันธุ์ก็มีหน้าตาคล้ายๆ กันคือ รูปทรงกลมและมีหนามรอบตัวเหมือนแสงอาทิตย์ ซึ่งเจ้าหนามตัวนี้แหละ คือที่อยู่ของโปรตีนที่เรียกว่า Spike Protein อันเป็นอาวุธหลักในการเข้ายึดกับ ‘โปรตีนตัวรับ’ ที่อยู่บนเซลล์ของมนุษย์ แล้วจึงทำการส่งหน่วยพันธุกรรมสู่กระบวนการ ‘คัดลอก’ ตัวเองซ้ำๆ แล้วแพร่กระจายไปยังเซลล์ข้างเคียงอีกหลายรอบ จนเข้าไปทำลายหลอดลมและปอดในท้ายที่สุด

            ซึ่งเจ้าไวรัสโคโรนาที่แพร่กระจายในลักษณะนี้ และเป็นที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ MERS-CoV หรือโรคเมอร์ส และ SARS-CoV หรือโรคซาร์ส ที่แพร่ระบาดเมื่อหลายปีก่อน แต่ที่ COVID-19 หรือ *SARS-CoV-2 ระบาดหนักกว่าสายพันธุ์อื่นๆ นั่นก็เพราะโปรตีนที่ใช้ยึดจับของมัน เข้าจับกับโปรตีนตัวรับได้ง่ายกว่า และยึดจับได้เหนียวแน่นกว่าญาติๆ ของมันนั่นเอง (*ชื่อคล้ายโรคซาร์สเพราะมีรหัสพันธุกรรมคล้ายกันเกือบ 80%)

            จุดนี้เองที่เป็นพื้นที่ทำงานของ AVA™ โดยคุณสมบัติพิเศษของนวัตกรรมที่ฝังอยู่ในทุกอณูเส้นใย จะทำหน้าที่เป็นอาวุธหนักในการกะเทาะเปลือกโปรตีน Spike Protein จนแตก และทำให้ตัวไวรัส ไม่สามารถเข้ายึดจับกับโปรตีนตัวรับได้ ไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ และสลายหรือตายลงในที่สุด ไม่ว่าจะเป็น COVID-19 โรคเมอร์ส โรคซาร์ส รวมถึงไวรัสชนิด RNA สายพันธุ์อื่นๆ

            นอกจากนี้ AVA™ ยังมีคุณสมบัติที่น่าสนใจอีกข้อ นั่นคือการยับยั้งเชื้อราและแบคทีเรีย ซึ่งมลภาวะทั้ง 2 อย่างนี้ คือห่วงโซ่อาหารหลักของไรฝุ่น ซึ่งเมื่อวงจรห่วงโซ่อาหารถูกขัดขวาง ก็ทำให้ไรฝุ่นค่อยๆ ตายลง และช่วยลดสาเหตุของการเกิดภูมิแพ้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            ด้วยความสามารถที่หลากหลาย ในการจัดการกับเชื้อไวรัส เชื้อรา แบคทีเรีย และไรฝุ่น ทำให้หลายคนมองว่า AVA™ เป็นนวัตกรรมที่ดีเกินกว่าจะอยู่แต่ในพรมเท่านั้น เช่นเดียวกันกับ “SMC” หรือ “ศูนย์บริการทางการแพทย์ชั้นเลิศ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น” ที่ได้จับมือกับผู้ผลิตนวัตกรรม AVA™ รายใหญ่อย่าง “ไอเคคร๊าฟท์” (IKKraft™) ในการนำเส้นใน AVA™ มาไว้ในผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอ (Home Textile) ทุกชิ้นในห้องผู้ป่วย จัดตั้งเป็น “ห้องผู้ป่วยพิเศษละมุนใจ ไกลโควิด” เปิดตัวใช้ในศูนย์ SMC โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ที่ผ่านมา

            และบรรดาสิ่งทอจากนวัตกรรม AVA™ ยังได้ผ่านการทดสอบอีกขั้น เพื่อให้มั่นใจในประสิทธิภาพในการจัดการกับเชื้อไวรัสได้มากกว่า 90% รับรองด้วยสถาบันทดสอบระดับนานาชาติ ภายใต้มาตรฐาน ISO 18184 ได้แก่ ยับยั้งเชื้อไวรัสได้ 91.7% โดยสถาบัน MSL ประเทศอังกฤษ, 99.17% โดยสถาบัน SGS ประเทศฮ่องกง และ 99.37% โดยสถาบัน Nelson Lab ประเทศสหรัฐอเมริกา

            ปัจจุบันเราเคยเห็นเส้นใยผ้ากันน้ำได้ เปลี่ยนสีได้ แต่ในอีกไม่นาน เราจะได้พบกับนวัตกรรมเส้นใยผ้าที่สามารถฆ่าเชื้อ COVID-19 ได้ ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า หน้ากากอนามัย ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน  และสารพัดสิ่งทออีกมากมาย ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ เราต่างเดินเหยียบมันอยู่ทุกวัน แบบที่ไม่เคยรู้ตัวเลย….

You may also like

4NOLOGUE ผนึก Poriin เล่นใหญ่ ปล่อยคอนเสิร์ตแห่งปี “FROSTY VILLAGE” ชวนแฟนๆจอยปาร์ตี้สนุกสุดขั้ว  

4NOLOGUE