ฟ้องประธาน กกพ.และผู้บริหาร กฟผ.เหตุค่าไฟฟ้าแพง

ฟ้องประธาน กกพ.และผู้บริหาร กฟผ.เหตุค่าไฟฟ้าแพง

ฟ้องประธาน กกพ.และผู้บริหาร กฟผ.เหตุค่าไฟฟ้าแพง

………………………………………

นายปริเยศ อังกูรกิตติฟ้องประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานกับพวกและ

ผู้บริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ข้อหาเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

โดยทุจริตหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ เกี่ยวกับเหตุค่าไฟฟ้าแพง

…………………………………………

วันนี้ (8 พฤษภาคม 2566) เวลา 9.30 นาฬิกา ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษา คดีอาญาหมายเลขดำที่ อท 65/2566 ระหว่าง นายปริเยศอังกูรกิตติ โจทก์ นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ที่ 1 กับพวกรวม 4 คน จำเลย ข้อหาเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

ศาลได้ตรวจคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องของโจทก์และรายงานเจ้าพนักงานคดีชั้นตรวจฟ้องฉบับลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 แล้วเห็นว่า เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง คำฟ้องยังไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงรายละเอียดและพฤติการณ์ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่ พร้อมทั้งชี้ช่องพยานหลักฐานให้ชัดเจนเพียงพอที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไปได้ ตามมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. ๒๕๕๙ จึงมีคำสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง โดยระบุข้อเท็จจริงและรายละเอียด ตัวบุคคล เอกสาร หรือวัตถุตามที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสี่กระทำผิดตามฟ้อง พร้อมเสนอหรือชี้ช่องพยานหลักฐานที่จะสนับสนุนข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ รวมถึงพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

  1. โจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลยทั้งสี่อย่างไร
  2. การกระทำของจำเลยแต่ละคนว่า มีการกระทำใดที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสี่ได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควร เท่าที่จะให้จำเลยทั้งสี่เข้าใจข้อหาได้ดี
  3. จำเลยแต่ละคนมีการกระทำร่วมกันหรือสนับสนุนการกระทำความผิดอย่างไร
  4. การกำหนดปริมาณไฟฟ้าสำรอง เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรใดหรือคณะกรรมการชุดใด โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ มติ หรือข้อบังคับใด และการกำหนดปริมาณไฟฟ้าสำรองที่ถูกต้องเหมาะสม ควรกำหนดอย่างไร ปริมาณเท่าใด หรือในสัดส่วนอย่างไร เพราะเหตุใด และอ้างอิงจากอะไร
  5. เพราะเหตุใดการกำหนดปริมาณไฟฟ้าสำรองที่สูงเกินจำเป็น หรือเกินความต้องการในการใช้ไฟฟ้า ทำให้โจทก์หรือประชาชนต้องรับภาระค่าใช้จ่ายสูงเกินจำเป็น และภาระนี้ถูกผลักมาให้โจทก์หรือประชาชนอย่างไร และในรูปแบบใด

นายปริเยศ อังกูรกิตติ ฟ้องประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานกับพวกและผู้บริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ข้อหาเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริตหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ เกี่ยวกับเหตุค่าไฟฟ้าแพง วันที่ 8 พฤษภาคม 2566

  1. องค์กรใดหรือคณะกรรมการชุดใดเป็นผู้กำหนดและคิดคำนวณค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ มติ หรือข้อบังคับใด และค่าไฟฟ้าผันแปร(Ft) ที่เรียกเก็บจากโจทก์และประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้ามีการคิดคำนวณโดยถูกต้องเหมาะสม หรือไม่ อย่างไรและที่ถูกต้องควรคิดคำนวณอย่างไร อ้างอิงจากอะไร
  2. การกำหนดสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าระหว่างรัฐกับเอกชน เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรใดหรือคณะกรรมการชุดใด โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ มติ หรือข้อบังคับใดและสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าระหว่างรัฐกับเอกชนที่ถูกต้องเหมาะสม ควรมีสัดส่วนอย่างไร อ้างอิงจากอะไร การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำให้สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของรัฐเหลือประมาณร้อยละ 30 และทำสัญญามอบการผลิตให้เอกชนจำนวนร้อยละประมาณ 65 เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ มติ หรือข้อบังคับใด
  1. ระบุการกระทำหรือพฤติการณ์ของจำเลยแต่ละคนว่า มีมูลเหตุจูงใจหรือมีเจตนากระทำความผิดเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้ใดหรือไม่ อย่างไร
  2. ชี้ช่องพยานหลักฐานให้ชัดเจนว่า คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มีมติเห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 (PDP2018) เมื่อใด และได้มีมติเห็นชอบให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานดำเนินการตามแนวทางของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานแห่งชาติและเสนอผลการดำเนินการต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเมื่อใด อย่างไร และจ าเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเมื่อใด อย่างไร ตามรายงานการประชุมฉบับใด เมื่อใด ทั้งนี้หากมีพยานหลักฐานใดที่สนับสนุนหรือแสดงให้เห็นถึงการกระทำหรือพฤติการณ์ในการกระทำความผิด เช่นว่านั้นของจำเลยแต่ละคน ให้โจทก์ชี้ช่องพยานหลักฐานให้ชัดเจนเพียงพอที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้
  1. จำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำขัดต่อพระราชบัญญัติประกอบกิจการพลังงานพ.ศ. 2550 มาตราใด อย่างไร

ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางเห็นสมควรให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องและจัดทำคำฟ้องฉบับสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 ที่แก้ไขแล้วมายื่นใหม่เพื่อใช้แทนคำฟ้องฉบับเดิมด้วย

ให้เลื่อนไปนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาวันที่ 20 มิถุนายน 2566 เวลา 9.30 นาฬิกา

      ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง

        วันจันทร์ที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๖

You may also like

“เฉลิมชัย-ประชาธิปัตย์“ห่วงปัญหาเหลื่อมล้ำ จัดเวทีนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจเดโมแครต ฟอรั่ม” ขจัดการผูกขาด: ลดเหลื่อมล้ำแก้จน”

“เ