มองการเมือง+เศรษฐกิจโลก แล้วย้อนมาดู “ไทย” ในปีหน้า (1)

มองการเมือง+เศรษฐกิจโลก แล้วย้อนมาดู “ไทย” ในปีหน้า (1)

มองการเมือง+เศรษฐกิจโลก

แล้วย้อนมาดู “ไทย” ในปีหน้า (1)

 

            แผนยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศของ “ชาติมหาอำนาจ” ไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์ทางการทหาร ยุทธศาสตร์ทางการเมือง และยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ มักจะหล่อหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน แม้จะแยกกันเดิน…ในบางครั้ง ทว่าปลายสุดท้าย มักจะไหลไปรวมกันที่ “ผลประโยชน์” ของชาติตัวเองเป็นสำคัญ

            จากบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลายครั้งที่พบว่า…เบื้องหลังของสงคราม ทั้งทางด้านการทหาร ด้านการเมือง และ/หรือ ด้านเศรษฐกิจ มักจะมีความเชื่อและความศรัทธาคอย “บงการ” อยู่เบื้องหลัง

            ไม่แปลก! หากทีมข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าว ThaiBCC.news จะย้ำอีกครั้งว่า…ศาสนาและการเมือง หลายครั้งที่เป็นเรื่องเดียวกัน

            ตราบใดที่ประเทศไทย…ยังคงเป็นหนึ่งในแผนภูมิ “ภูมิศาสตร์ทางการทหาร” (ฟากฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ที่สำคัญจุดหนึ่งของโลก แน่นอนว่า…รัฐบาลไทยย่อมต้องถูกจับจ้อง เกาะติด และกดดันจากมหาอำนาจเหล่านั้น ดังนั้น การที่รัฐบาลไทย…ขยับขับเคลื่อนตัวในเวทีโลกไปในทิศทางใด

            ย่อมส่งผลกระทบต่อทั้ง…ประเทศไทย รัฐบาลไทย ธุรกิจไทย และคนไทย อย่างยากจะหลีกเลี่ยงได้เช่นกัน

            การแสดงความไม่เห็นด้วยกับนโยบายด้านการประเทศของทางการสหรัฐฯ กรณีรัฐบาลไทย โดยกระทรวงการต่างประเทศ ลงคะแนนในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ร่วมกับอีก 127 ประเทศ สนับสนุนร่างมติเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกา เพิกถอนการรับรองนครเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล ก่อนหน้านี้

            สร้างความเดือดดาลใจต่อรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ อย่างมาก

            ทั้งที่ความเป็นจริง ประเทศเล็กๆ แต่อยู่ในจุดยุทธศาสตร์ทางด้าน “ภูมิศาสตร์ทางการทหาร” ที่สำคัญของโลก อย่างประเทศไทย ควรจะวางตัวเป็นกลางในเรื่องนี้ ด้วยการ “งดออกเสียง (Abstention)” เหมือนกับอีก 35 ประเทศ ซึ่งมี แคนาดา และเม็กซิโก ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีพรมแดนติดกับสหรัฐฯ รวมอยู่ด้วย

            นั่นเพราะว่า…รัฐบาลไทย ภายใต้การนำของ คสช. ถูกกดดันและชี้นำจากกลุ่มศาสนาที่เปิดหน้าต่อต้านการที่รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศสนับสนุนและให้การรับรองนครเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล

            ถึงได้ย้ำว่า…การเมืองกับศาสนา บางครั้งก็เป็นเรื่องเดียวกันที่ยากจะแยกออกจากกัน

 

            หลายคนอาจมีคำถามทำนอง…กลุ่มก้อนของคนที่นับถือศาสนาอิสลามเพียง 60 กว่าคนใน สนช.ทั้งหมด 250 คน จะไปมีอิทธิพลอะไรเหนือ สนช.และรัฐบาล คสช.?

            คำตอบของคำถามนี้ ก็คือ ปรากฏการณ์ที่รัฐบาลไทย ได้ประกาศให้ชาวโลกรับรู้ ถึงจุดยืนที่ว่า…ประเทศไทยจะยืนเคียงข้าง…มติสหประชาชาติที่ต้องการให้สหรัฐอเมริกา เพิกถอนการรับรองนครเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล

            จนกลายเป็น “จุดเสี่ยง” ต่อการพุ่งเป้าโจมตีจากฝ่ายที่สูญเสียผลประโยชน์

            ทั้งที่ความเป็นจริง…รัฐบาล คสช. น่าจะวางตัวเป็นกลางในเรื่องนี้ ด้วยการ “งดออกเสียง” อย่างที่เกริ่นในตอนต้น

            ทีมข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าว ThaiBCC.news ไม่รู้สึกหวาดหวั่นกับคำขู่การจะตัดความช่วยเหลือด้านการเงินกับประเทศที่สนับสนุนร่างมติดังกล่าว ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งประกาศว่า…

            “พวกเขาเอาเงินไปเป็นร้อยล้านพันล้าน จากนั้นก็ลงคะแนนต่อต้านเรา…ให้เขาลงคะแนนต่อต้านเราไปเลย เราจะประหยัดเงินได้อีกมาก เราไม่ใส่ใจ”

            หรือแม้แต่ประโยคคำพูดของ นางนิกกี เฮลีย์ ทุตสหรัฐฯ ประจำยูเอ็น ที่ระบุว่า “สหรัฐฯ จะจดจำวันนี้ ซึ่งสหรัฐฯ ถูกโจมตีเพียงประเทศเดียวในที่ประชุมสมัชชาใหญ่ จากการใช้สิทธิ์ที่รัฐเอกราชพึงมี”

            จุดยืนของสหรัฐฯ หลังจากนี้ ต่อกลุ่มประเทศที่ต่อต้านพวกเขา คือ จดจำและตัดความช่วยเหลือในทุกๆ ด้านที่เคยมี

            สำหรับประเทศไทย ก่อนหน้าจะมีการทำรัฐประหาร 22 พ.ค.57 ทางการสหรัฐฯ เคยให้ความช่วยเหลือทางด้านการทหารและความมั่นคงแก่รัฐบาลไทย ราว 10.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 343 ล้านบาทต่อปี โดยในทุกๆ ปี ก็จะร่วมทำการฝึกซ้อมทางทหารร่วมกัน ภายใต้รหัส “คอบร้าโกลด์” ในประเทศไทย 

            แต่หลังจากมีรัฐบาล คสช. ทางการสหรัฐฯ ได้ตัดความช่วยเหลือในส่วนนี้ออกไป เหลือเพียงปีละ 4.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 153 ล้านบาทต่อปีแทน

            ไม่เพียงตัดงบช่วยเหลือทางด้านการทหารและความมั่นคง รัฐบาลสหรัฐฯ ยังจะเรียกร้องให้ประเทศไทยหวนกลับคืนสู่วิถีทางแห่งประชาธิปไตยโดยเร็วอีกด้วย

            อย่างที่บอก…เราไม่ได้เป็นห่วงเรื่องที่ทางการสหรัฐฯ จะตัดความช่วยเหลือด้านงบประมาณทางการทหารและความมั่นคง เพราะเงินในส่วนนี้…แทบไม่มีผลกระทบเชิงบวกใดๆ ต่อระบบเศรษฐกิจไทย

 

            ครั้น ทางการสหรัฐฯ จะไม่สานต่อความสัมพันธ์ทางการทูตในระดับปกติ รวมถึงยังจะคงมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาล คสช.ต่อไป สิ่งเหล่านี้…ก็ไม่ได้ทำระบบเศรษฐกิจของไทย ดีขึ้นกว่าช่วงหลังมีการทำรัฐบาลเมื่อปี 57

            แต่สิ่งที่ ทีมข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าว ThaiBCC.news ห่วงมากกว่านั้น คือ….

 

(อ่านต่อ…ตอนที่ 2)

ทีมข่าวเศรษฐกิจ

สำนักข่าว ThaiBCC.news

 

 

You may also like

มาสเตอร์การ์ดเปิดตัว Pay Local เพิ่มช่องทางผู้ให้บริการกระเป๋าเงินดิจิทัลในเอเชีย รับชำระเงินจากผู้ถือบัตรมาสเตอร์การ์ดกว่า 2 พันล้านราย

มาสเตอร์