รู้เท่าทัน “โรคหมอนรองกระดูก” ชะลอความเสื่อม หลีกเลี่ยงการผ่าตัด

รู้เท่าทัน “โรคหมอนรองกระดูก” ชะลอความเสื่อม หลีกเลี่ยงการผ่าตัด

รู้เท่าทัน “โรคหมอนรองกระดูก”

ชะลอความเสื่อม หลีกเลี่ยงการผ่าตัด

   เมื่ออายุมากขึ้นหมอนรองกระดูกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระดูกสันหลังจะเริ่มเสื่อมตามวัย บางรายเนื้อเยื่อหุ้มหมอนรองกระดูกฉีกขาดจนทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนออกมาและอาจกดทับเส้นประสาท ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดหลังเด่นชัดนำมาก่อนแล้วตามด้วยอาการปวดหลังร้าวลงขา อาจมีอาการชา อ่อนแรง หรือขับถ่ายผิดปกติร่วมด้วย โดยลักษณะอาการมักจะสัมพันธ์กับกิจกรรมและการใช้งานของหลัง

นพ.ชุมพล คคนานต์  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลังโรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ เผยว่า เนื้อของหมอนรองกระดูกสันหลังจะลดลงตามอายุที่มากขึ้น ส่งผลให้หมอนรองกระดูกมีความยืดหยุ่นที่ลดลง

จนไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้เหมือนเดิม ทำให้เกิดอาการปวดและมีอาการอื่น ๆ ของโรคนี้ตามมา ภาวะการเสื่อมสภาพนี้เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในช่วงอายุ 30-40 ปี จากนั้นอาการจะแย่ลงเรื่อย ๆ ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มักจะมีปัญหาหมอนรองกระดูกเสื่อม แต่ในขณะที่บางรายอาจไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด

โดยปกติหมอนรองกระดูกแบ่งเป็น 2 ส่วน  คือ ด้านนอกจะเป็นพังผืดที่มีลักษณะแข็ง ส่วนด้านในจะเป็นเจล คล้ายกับจารบี  ส่วนที่รองรับน้ำหนักเมื่อหมอนรองกระดูกเสื่อมก็คือ ส่วนของด้านในที่แห้งและหายไป ซึ่งส่วนนี้เราไม่สามารถหาเติมได้  เหมือนกับการฉีดโบท็อกซ์ หรือฉีดสารเติมเต็มที่เรียกว่าฟิลเลอร์ เพราะในตัวของหมอนรองกระดูกสันหลังเป็นอวัยวะที่ค่อนข้างลึก  ดังนั้นเป็นไปได้ยากที่จะใส่สารเติมเต็มหรือสารที่มีลักษณะคล้ายกับตัวหมอนรองกระดูกกลับเข้าไป เนื่องจากอวัยวะของหมอนรองกระดูกไม่มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงภายในตัวหมอนรองกระดูก เพราะฉะนั้นเมื่อหมอนรองกระดูกสันหลังเกิดความเสื่อมสภาพ การรับประทานยาวิตามินเสริมเพื่อเพิ่มการดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด และช่วยให้ข้อต่อแข็งแรงขึ้นแต่ก็ยังไม่ใช่คำตอบของการรักษาเพื่อหมอนรองกระดูกกลับมามีสุขภาพที่ดีเหมือนเดิม

ส่วนสาเหตุที่พบในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย ได้แก่ การใช้งานและกิจกรรมที่ทำเป็นประจำ เช่น ยกของหนักผิดท่าบ่อยๆ การนั่งทำงานด้วยอิริยาบถที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน การขับรถนานๆ น้ำหนักตัวที่มากเกินมาตรฐาน การเกิดอุบัติเหตุจนกระดูกสันหลังได้รับบาดเจ็บ หรือแม้แต่การสูบบุหรี่ เพราะคนที่สูบบุหรี่จะทำให้เลือดไปเลี้ยงที่หมอนรองกระดูกสันหลังได้น้อยลง ทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมและเคลื่อนได้เร็วขึ้น

สำหรับอาการของโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมจะมีอาการปวดคอ หรือปวดหลังแบบเป็น ๆ หายๆ แต่บางรายอาจมีอาการปวดเรื้อรัง หรือปวดแบบรุนแรงเมื่อเปลี่ยนท่าทาง

อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่

1.ปวดหลังเรื้อรัง

2.ปวดร้าวลงขา

3.กระดูกสันหลังติดแข็งและขยับตัวลำบาก

4.ชา อ่อนแรง และเป็นเหน็บที่บริเวณ มือ แขน เท้า ขา ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง

ในกรณีที่มีการกดเบียดเส้นประสาทรุนแรง จะทำให้ผู้ป่วยเดินลำบาก ไม่สมดุล เหมือนจะหกล้มได้ง่าย โดยเฉพาะเวลาขึ้นบันได หรือก้าวขาขึ้นรถ เป็นต้น

นพ.ชุมพล ยังเผยว่า หมอนรองกระดูกเสื่อม หากเกิดความเสื่อมขึ้นแล้วจะเสื่อมเลย แต่เราสามารถชะลอความเสื่อมนั้นได้ เช่น การปรับพฤติกรรมเพื่อเสริมกล้ามเนื้อหลัง  ถ้าเราไม่อยากให้เกิดความเสื่อมไว ต้องไปเทรนการออกกำลังกาย ว่ายน้ำ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง และควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงในการกระตุ้นให้เกิดความเสื่อมของหมอนรองกระดูก เช่น  งดยกของหนักในท่าที่ผิด เลี่ยงการนั่งในท่าเดิมนานๆ ควรลุกขึ้นทุกๆ 2 ชม. ห้ามนั่งยองๆ หรือนั่งกับพื้นนานๆ จะสามารถช่วยชะลอความเสื่อมของหมอนรองกระดูกได้

ปัจจุบันโรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ มีวิธีการรักษาโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมด้วยเทคนิค Minimally Invasive Spine Surgery หรือ MIS Spine แบบครบวงจร เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคกระดูกสันหลังและกลัวการผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดแผลใหญ่กลายเป็นแผลเล็ก และได้ผลลัพธ์การรักษาเทียบเท่ากับการผ่าตัดแบบเปิดแผล ปลอดภัยกว่าเดิม ผู้ป่วยเสียเลือดน้อย ความเจ็บปวดหลังการรักษาลดลงจนแทบไม่ต้องใช้ยาแก้ปวด ค่ารักษาโดยรวมถูกกว่าเดิม ผู้ป่วยจากเดิมที่เคยนอนโรงพยาบาลประมาณ 2-3 สัปดาห์ หรือบางรายอาจต้องนอนนาน 1-2 เดือน แต่เมื่อรักษาด้วยวิธี MIS Spine ผู้ป่วยนอนที่โรงพยาบาลเพียงแค่ 1 คืนเท่านั้น

สำหรับโรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ถือเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังแห่งเดียวและแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีจุดแข็งที่เด่นชัด คือการมีทีมแพทย์ และพยาบาลเฉพาะทาง โรคปวดหลังที่เกิดจากกระดูกสันหลังและระบบประสาท ทำให้รู้ลึก รู้จริง สามารถรักษาได้อย่างตรงจุด ประกอบกับการนำเอานวัตกรรมสมัยใหม่จากทั่วโลกเข้ามาช่วยในการรักษา ตอบโจทย์ผู้ป่วยที่มีเวลาน้อย ฟื้นตัวเร็ว ไม่ทรมาน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่กลัวการผ่าตัด

You may also like

มาสเตอร์การ์ดเปิดตัว Pay Local เพิ่มช่องทางผู้ให้บริการกระเป๋าเงินดิจิทัลในเอเชีย รับชำระเงินจากผู้ถือบัตรมาสเตอร์การ์ดกว่า 2 พันล้านราย

มาสเตอร์