ลาซาด้า กรุ๊ป เปิดรายงานผลกระทบด้าน ESG ประจำปี 2567
รายงานผลกระทบด้าน ESG ฉบับที่ 3 ของลาซาด้า เผยความสำเร็จสำคัญขององค์กรในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) โดยรวมลง 40% ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในประเทศไทย ลาซาด้าได้เปิดตัวศูนย์โลจิสติกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแห่งแรกของบริษัท โดยศูนย์แห่งนี้ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ถึง 20% ของการใช้พลังงานทั้งหมด
อีโคซิสเต็มของลาซาด้าได้ขยายโอกาสในการมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจดิจิทัล โดยปัจจุบันมีผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มทั่วภูมิภาคถึง 160 ล้านคน
ลาซาด้า ผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยแพร่รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ประจำปี 2567 ภายใต้ชื่อ “ขับเคลื่อนนวัตกรรม ผลักดันสู่ความยั่งยืน (Accelerating Innovation, Anchoring Resilience)” ตอกย้ำความมุ่งมั่นลาซาด้าในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบและยั่งยืนผ่านการสร้างสรรค์นวัตกรรม
โดยรายงานฉบับนี้ได้เผยถึงผลการดำเนินงานและความสำเร็จของกลุ่มบริษัทฯ ภายใต้กรอบการทำงานด้าน ESG ที่ประกอบด้วย 4 เสาหลัก ได้แก่ การยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน,การสร้างบุคลากรที่มีความพร้อมสำหรับอนาคต,การปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ
หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของรายงานประจำปีนี้คือการเริ่มต้นใช้เครื่องมือบันทึกข้อมูลคาร์บอนภายในองค์กร เพื่อติดตามและประเมินการปล่อยคาร์บอนของกลุ่มบริษัทฯ โดยใช้ระเบียบวิธีการคำนวณการปล่อยคาร์บอนที่พิจารณาแต่ละกิจกรรม (Activity-based Methodology) และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมจริง เพื่อให้การประเมินข้อมูลมีความชัดเจนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แนวทางดังกล่าวส่งผลให้การรวบรวมข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Scope 1) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงาน (Scope 2) มีคุณภาพและแม่นยำมากยิ่งขึ้นกว่าปีที่ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ลาซาด้า ยังได้ดำเนินมาตรการลดการใช้พลังงานในหลากหลายส่วนของธุรกิจ ทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) โดยรวมลดลง 40% เมื่อเทียบกับการรายงานครั้งก่อนหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 1 ได้ลดลง 54% Scope 2 ได้ลดลง 8% และ Scope 3 (การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ) ได้ลดลง 30%
เจมส์ ตง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า กรุ๊ป กล่าวว่า “รายงานผลกระทบด้าน ESG ฉบับที่ 3 ของเรา แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม และภาคส่วนต่าง ๆ ในอีโคซิสเต็มอีคอมเมิร์ซ ซึ่งรวมถึงพนักงาน ผู้ซื้อ ผู้ขาย และสังคม เราเชื่อมั่นว่าการส่งเสริมการเติบโตในระยะยาว ผ่านการปรับตัวอย่างต่อเนื่องและสร้างธุรกิจที่แข็งแกร่ง เป็นรากฐานที่มั่นคงสำหรับอนาคตของลาซาด้า โดยเรายังคงให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าให้กับทุกภาคส่วนในอีโคซิสเต็ม พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั่วภูมิภาคต่อไป”
รายงานผลกระทบด้าน ESG ประจำปีงบประมาณ 2567 ของลาซาด้า ได้นำเสนอภาพรวมความสำเร็จและความคืบหน้าของการดำเนินงานด้าน ESG ที่โดดเด่นของบริษัทฯ ภายในกรอบเวลาการรายงานที่ผ่านมา โดยมีไฮไลต์ที่สำคัญ ดังนี้
การยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
ขับเคลื่อนนวัตกรรมในอีโคซิสเต็ม: ลาซาด้าใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เพื่อสร้างสิ่งใหม่ ๆ ในประสบการณ์ค้าปลีกออนไลน์ และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล
ลาซาด้า ได้นำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการยกระดับประสบการณ์ที่ดีให้แก่นักช้อป เช่น ฟีเจอร์ “Ask The Buyers” หรือ “ถามผู้ใช้งานจริง” ที่ช่วยตั้งคำถามให้ผู้ที่ซื้อสินค้าไปก่อนหน้ามาร่วมแชร์ประสบการณ์การใช้งานผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ซื้อรายอื่น ๆ ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังได้เปิดตัว Lazzie Chat แชทบอตตัวแรกของลาซาด้า ที่ขับเคลื่อนด้วย OpenAI ChatGPT โดยเปิดให้บริการในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
โครงการชำระเงินด้วย QR Code ของลาซาด้าช่วยอำนวยความสะดวกในการชำระเงินแบบไร้รอยต่อ ทั้งในสิงคโปร์และไทย เพิ่มทางเลือกการชำระเงินออนไลน์สำหรับผู้บริโภคที่ไม่มีบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต ทำให้การช้อปปิงออนไลน์เข้าถึงง่ายขึ้นและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
สนับสนุนธุรกิจท้องถิ่น: ลาซาด้า ได้เปิดตัวโครงการ Lazada Sustainability Academy ในเดือนตุลาคม 2566 โดยโครงการดังกล่าวมุ่งส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการให้ความรู้และแนวคิดที่จำเป็นต่อการปรับตัวธุรกิจให้ทันสมัยและเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน
การสร้างบุคลากรที่มีความพร้อมสำหรับอนาคต
ขับเคลื่อนอนาคตการค้าดิจิทัลผ่านการขยายโอกาสและการมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างทั่วถึง: ลาซาด้า ประเทศอินโดนีเซีย ได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการประจำจังหวัดชวาตะวันตก ภายใต้โครงการพัฒนาทักษะการทำงานด้านดิจิทัล ประเทศอินโดนีเซีย (Acceleration of Indonesian Digital’s Work Movement) เพื่อจัดทำการฝึกอบรมโครงการ “Naik KeLaz” สำหรับครูอาชีวศึกษา 100 คน
ปลูกฝังความเข้าใจด้านความยั่งยืนแก่พนักงาน: ลาซาด้า ได้เปิดตัวคอร์สฝึกอบรมด้าน ESG ภายในบริษัทเป็นครั้งแรก เพื่อให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักการ ESG และช่วยให้พนักงานทุกคนสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ในการปฏิบัติงานประจำวันได้
การปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม:
ลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์: ลาซาด้า สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) โดยรวมลงถึง 40% เมื่อเทียบกับการรายงานครั้งก่อน โดยใช้ระเบียบวิธีการคำนวณคาร์บอนที่แม่นยำยิ่งขึ้น
โครงการด้านโลจิสติกส์ที่ยั่งยืน: ในเดือนกันยายน 2566 ลาซาด้า ประเทศไทย ได้นำร่องโลจิสติกส์ฮับที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแห่งแรก ณ ท่าแร้ง รามอินทรา โดยมุ่งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมผ่าน 3 แนวทางหลัก ได้แก่ การใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ การใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในการขนส่งสินค้า และการใช้ชุดยูนิฟอร์มสำหรับตัวแทนจัดส่งสินค้าที่ผลิตจากขวดพลาสติก PET รีไซเคิล โดยศูนย์กระจายสินค้าแห่งนี้ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ถึง 20% ของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด
การกำกับดูแลกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ:
มาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น: 100% ของพนักงาน ลาซาด้า ได้ผ่านการฝึกอบรมจรรยาบรรณทางธุรกิจและนโยบายต่อต้านการติดสินบนและการทุจริต ในช่วงกรอบเวลาการรายงาน
แนวปฏิบัติและกระบวนการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา (IPR): กว่า 97% ของการยื่นขอถอดรายการสินค้าโดยเจ้าของสิทธิที่มีการแจ้งผ่านแพลตฟอร์มการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของลาซาด้า สามารถดำเนินการเสร็จสิ้นภายใน 72 ชั่วโมง นอกจากนี้ ภายใต้การดำเนินมาตรการเชิงรุก แพลตฟอร์มยังสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยอย่าง AI และฟีเจอร์ Image Recognition ในการระบุสินค้าที่แจ้งถอดถอนได้ถึง 85.7% ส่งผลให้การถอดรายการสินค้าถึง 90% ของ 140 แบรนด์ เกิดขึ้นก่อนมีการทำธุรกรรมใด ๆ
กลาดิส ชุน ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ลาซาด้า กรุ๊ป กล่าวว่า “การดำเนินธุรกิจตามแนวทางความยั่งยืนเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องและจริงจังในหลากหลายด้าน ลาซาด้า จึงให้ความสำคัญกับการติดตามและรายงานความคืบหน้าด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ อย่างโปร่งใสและรับผิดชอบ เราภูมิใจในความสำเร็จที่ผ่านมาและจะเดินหน้าสร้างประโยชน์ให้แก่อีโคซิสเต็ม
หมายเหตุ-รายงานผลกระทบด้าน ESG ประจำปีงบประมาณ 2567 ของลาซาด้า รวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางและผลงานด้าน ESG จากการดำเนินธุรกิจของ ลาซาด้า กรุ๊ป ใน 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม และการดำเนินงานของบริษัทในเครือ RedMart ในสิงคโปร์ ภายในช่วงเวลาตั้งแต่ 1 เมษายน 2566 ถึง 31 มีนาคม 2567 (“ปีงบประมาณ 2567”) เว้นแต่มีการระบุไว้เป็นอย่างอื่น
เกี่ยวกับ ลาซาด้า กรุ๊ป
ลาซาด้า กรุ๊ป เป็นผู้บุกเบิกแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอด 12 ปีที่ผ่านมา ลาซาด้าได้ขับเคลื่อนความก้าวหน้าในประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม ผ่านธุรกิจการค้าและเทคโนโลยี ปัจจุบันธุรกิจที่กำลังเติบโตนี้ได้เชื่อมโยงผู้ใช้งานเป็นประจำราว 160 ล้านราย เข้ากับผู้ขายที่ดำเนินธุรกิจอยู่มากกว่า 1 ล้านรายต่อเดือน ผ่านการทำธุรกรรมทางการเงินที่ปลอดภัย ด้วยช่องทางการชำระเงินต่าง ๆ ที่เชื่อถือได้ รวมถึงลาซาด้าวอลเล็ต อีกทั้งยังรับบริการจัดส่งพัสดุจากเครือข่ายโลจิสติกส์ในประเทศที่กลายเป็นหนึ่งในเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคนี้
Social Links