ศูนย์การเงินนานาชาติ”ดูไบ”โตแกร่ง ตอกย้ำสถานะศูนย์กลางการเงินโลก

ศูนย์การเงินนานาชาติ”ดูไบ”โตแกร่ง ตอกย้ำสถานะศูนย์กลางการเงินโลก

DIFC Gate Building

ศูนย์การเงินนานาชาติ"ดูไบ"โตแกร่ง

ตอกย้ำสถานะศูนย์กลางการเงินโลก

            ศูนย์การเงินนานาชาติดูไบ หรือ ดีไอเอฟซี (Dubai International Financial Centre หรือ DIFC) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเงินโลกระดับแนวหน้าในภูมิภาคตะวันออกกลาง แอฟริกา และเอเชียใต้ มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 โดยผลงานที่แข็งแกร่งนี้ได้ช่วยสนับสนุนยุทธศาสตร์ปี 2573 (Strategy 2030) ของศูนย์การเงินนานาชาติดูไบ ในการขับเคลื่อนอนาคตด้านการเงินและสร้างความโดดเด่นให้กับดูไบในฐานะศูนย์กลางระดับโลกสำหรับบรรดาสถาบันการเงิน บริษัทฟินเทค และบริษัทด้านนวัตกรรม ตลอดจนช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

                ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ มีบริษัทใหม่รวม 537 แห่งที่จดทะเบียนในศูนย์การเงินนานาชาติดูไบ เพิ่มขึ้น 11% นับตั้งแต่ต้นปี ส่วนจำนวนบริษัททั้งหมดที่ดำเนินงานในศูนย์การเงินนานาชาติดูไบเพิ่มขึ้นจาก 3,297 แห่ง เป็น 4,031 แห่ง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2565 หรือเพิ่มขึ้น 22% เมื่อเทียบรายปี

                ปัจจุบัน ศูนย์การเงินนานาชาติดูไบเป็นที่ตั้งของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการเงินและนวัตกรรมรวม 1,252 แห่ง เพิ่มขึ้น 22% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 ส่วนจำนวนบริษัทฟินเทคและบริษัทด้านนวัตกรรมเพิ่มขึ้นจาก 406 แห่ง เป็น 599 แห่ง หรือเพิ่มขึ้น 23% เมื่อเทียบรายปี

 

                ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ ภายในศูนย์การเงินนานาชาติดูไบ ซึ่งรวมถึงการแก้ไขกฎหมายคุ้มครองข้อมูลที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก และเพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของประเทศในการเป็นมาตรฐานสากลด้านการเงินที่เปิดกว้าง (Open Finance) ศูนย์การเงินนานาชาติดูไบได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการด้านการเงินแบบเปิด (Open Finance Lab) แห่งแรกของภูมิภาคตามข้อตกลงกับธนาคารกลางสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นอกจากนี้ ศูนย์การเงินนานาชาติดูไบได้ขยายศูนย์กลางนวัตกรรม (Innovation Hub) ด้วยการเปิดตัวเวนเจอร์ สตูดิโอส์ (Venture Studios) ระดับโลก และเปิดตัวกองทุนหนี้สินร่วมทุน (Venture Debt Fund) มูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

                นอกจากนี้ ศูนย์การเงินนานาชาติดูไบยังสร้างคลื่นลูกใหม่ที่น่าสนใจในดูไบ ด้วยการร่วมมือกับบริษัทผู้ให้บริการทางการเงินจากสหรัฐอเมริกา หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการเดินสายร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของบริษัทผู้ให้บริการทางการเงินและเทคโนโลยีของอเมริกากว่า 100 แห่งที่มาร่วมงาน นอกจากนั้นยังมีการเดินสายในสาธารณรัฐตุรกี โดยมีการประชุมเชิงกลยุทธ์ร่วมกับลูกค้าและพันธมิตรรายสำคัญในเมืองอิสตันบูล เพื่อสร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งกับบริษัทต่าง ๆ ในประเทศ ขณะเดียวกัน ศูนย์การเงินนานาชาติดูไบยังประสบความสำเร็จในการจัดประชุมโต๊ะกลมที่เมืองเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล ร่วมกับผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้าในอนาคตราว 30 รายจากหลากหลายธุรกิจในภาคบริการทางการเงิน

                ปัจจุบัน ในบรรดาบริษัททั้งหมด 4,031 แห่งที่ดำเนินงานในศูนย์การเงินนานาชาติดูไบ ประกอบด้วยธนาคาร 17 แห่งที่ติดอันดับ 20 ธนาคารชั้นนำของโลก, ธนาคาร 25 แห่งที่ติดอันดับ 30 ธนาคารที่มีความสำคัญเชิงระบบในระดับโลก, บริษัทประกันภัย 5 แห่งที่ติดอันดับ 10 บริษัทประกันภัยชั้นนำ, ผู้จัดการสินทรัพย์ 5 แห่งที่ติดอันดับ 10 ผู้จัดการสินทรัพย์ชั้นนำ รวมถึงบริษัทกฎหมายและบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลกอีกมากมาย

You may also like

“เมย์แบงก์”พลิกเกม! ชูรูปแบบ“ฟินฟลูเอนเซอร์ทอล์คโชว์”ครั้งแรกในไทย “ติด BUFF การเงิน TALK SHOW”

“เมย์แบง