สำนักหอสมุด มข. ผลิตหนังสือเสียง แก่ผู้พิการทางสายตา หนุนเรียนรู้เท่าเทียม ร่วมเฉลิมฉลอง 60 ปี มข.

สำนักหอสมุด มข. ผลิตหนังสือเสียง แก่ผู้พิการทางสายตา หนุนเรียนรู้เท่าเทียม ร่วมเฉลิมฉลอง 60 ปี มข.

สำนักหอสมุด มข. ผลิตหนังสือเสียง

แก่ผู้พิการทางสายตา

หนุนเรียนรู้เท่าเทียม ร่วมเฉลิมฉลอง 60 ปี มข.

ในวาระครบรอบ 60 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่จะเวียนมาบรรจบในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2567 ที่จะถึงนี้สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ผสานความร่วมมือกับโรงเรียนการศึกษาคนตาบอด และศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาคนตาบอด ขอนแก่น เพื่อสนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่มีความพิการทางสายตา หรือ มีความบกพร่องด้านการมองเห็นให้สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning) ได้อย่างเท่าเทียมกับประชาชนทั่วไป ผ่านการผลิตหนังสือเสียงที่มีคุณภาพระดับสากล และได้ส่งมอบหนังสือเสียงที่ผลิตแล้วให้กับโรงเรียนการศึกษาคนตาบอด จังหวัดขอนแก่น ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ณ ชุมชนโรงเรียนการศึกษาคนตาบอด ขอนแก่น

รศ.นพ.สุพัชญ์ สีนะวัฒน์ ผู้อำนวยการ สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประธานในการจัดงาน กล่าวว่า สำนักหอสมุดในฐานะศูนย์กลางการเรียนรู้สำหรับทุกคน (Learning center for all) มีเป้าหมายจะสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้กับประชาชน ทุกเพศ ทุกวัย และได้ตระหนักถึงข้อจำกัดและความต้องการ                       ที่หลากหลายของผู้ใช้บริการแต่ละกลุ่ม จึงได้พัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานหรือชุมชนต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านนวัตกรรมการบริการใหม่ๆ และในโอกาสครบรอบ 60 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักหอสมุดจึงได้ร่วมกับโรงเรียนการศึกษาคนตาบอด และศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาคนตาบอด จังหวัดขอนแก่น เพื่อผลิตหนังสือเสียงสำหรับเป็นเครื่องมือที่ช่วยขยายโอกาสในการเข้าถึงความรู้และข้อมูลข่าวสารของผู้ที่มีความบกพร่องด้านการมองเห็น เพื่อสนับสนุนความเท่าเทียมในการเรียนรู้ของประชาชนทุกกลุ่มอย่างแท้จริง

โครงการสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยหนังสือเสียงนี้  มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เป็นขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนแรก เป็นกระบวนการรับฟังความต้องการของผู้พิการทางสายตา (need assessment) พบว่า หนังสือเสียง (audiobook) เป็นสื่อการเรียนรู้ที่ช่วยขยายโอกาสในการเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ สำหรับผู้พิการทางการมองเห็น และทำให้ทราบหัวข้อการเรียนรู้ที่ยังขาดแคลน และมีความประสงค์ที่จะรับการสนับสนุน

ขั้นตอนที่ 2 เป็นการจัดการอบรมทักษะและความรู้ในการผลิตหนังสือเสียงที่ได้มาตรฐาน ให้แก่บุคลากรของสำนักหอสมุด มข. โดยได้รับความอนุเคราะห์จากศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาคนตาบอด จังหวัดขอนแก่น ได้ส่งทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในการผลิตหนังสือเสียงมาช่วยในการอบรม ทำให้บุคลากรของสำนักหอสมุด มข. ได้เรียนรู้ทักษะที่จำเป็นในการผลิตหนังสือเสียง และเตรียมความพร้อมในการทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการผลิตหนังสือเสียง (audiobook coach) ให้กับจิตอาสา หรือผู้สนใจเข้ามีส่วนร่วมในการผลิตหนังสือเสียงต่อไป

ขั้นตอนที่ 3 เป็นการผสานความร่วมมือกับจิตอาสา ซึ่งประกอบด้วย นักเรียน นักศึกษา บุคลากร และ ประชาชน ทั่วไป ที่เห็นความสำคัญของการเรียนรู้และอยากมีส่วนร่วมในการส่งมอบโอกาสในการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนและประชาชนที่ด้อยโอกาสเนื่องจากความพิการทางการมองเห็น ผ่านการผลิตหนังสือเสียง โดยในขั้นตอนนี้ บุคลากรของสำนักหอสมุด จะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการผลิตหนังสือเสียง  (audiobook coach) ผ่านการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมให้จิตอาสา มีทักษะในการร่วมสร้างสรรค์หนังสือเสียงอย่างมีคุณภาพสำหรับส่งมอบให้ผู้พิการทางสายตาต่อไป  จากนั้น จิตอาสาทุกคน ก็ ได้ร่วมบันทึกเสียง เพื่อผลิตหนังสือเสียงตามมาตรฐาน

กิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยหนังสือเสียงที่จัดขึ้นในวันนี้ เป็นขั้นตอนสุดท้ายของโครงการดังกล่าว  โดยเป็นการส่งมอบหนังสือเสียง  (Audiobook)  ที่จัดทำแล้วเสร็จ ให้กับโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดขอนแก่น เพื่อนำไปใช้เป็นสื่อสนับสนุนการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ตลอดจนผู้สนใจที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นต่อไป  โดยกิจกรรมในวันนี้ได้รับเกียรติ จาก นายโกมล มาลัยทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดขอนแก่น และ นายสนอง จวนสาง ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาคนตาบอด มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการร่วมรับมอบหนังสือเสียงที่สำนักหอสมุด มข.ร่วมกับจิตอาสาได้ผลิตขึ้น โครงการสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยหนังสือเสียงนี้ เป็นหนึ่งในหลากหลายโครงการทีมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ริเริ่มขึ้น เพื่อส่งเสริมให้สังคมมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566

You may also like

เปิดตัวดัชนีชี้วัดความปลอดภัยของเด็ก บนโลกออนไลน์ทั้งในระดับชาติและระดับโลก

เปิดตัวด