สิงคโปร์เปิดแผนแม่บทดันการเชื่อมต่อดิจิทัล
มุ่งโครงสร้างพื้นฐานไอที
ขับเคลื่อนการเติบโตแห่งอนาคต
คุณโจเซฟิน เตียว ( Josephine Teo) รัฐมนตรีกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศของสิงคโปร์ ประกาศเปิดตัวแผนแม่บทผลักดันการเชื่อมต่อดิจิทัล (Digital Connectivity Blueprint หรือ DCB) เพื่อเป็นตัวกำหนดทิศทางการเชื่อมต่อทางดิจิทัลของสิงคโปร์ในอนาคต โดยการประกาศครั้งนี้มีขึ้นล่วงหน้าก่อนการจัดงานเอเชียเทค เอ็กซ์ สิงคโปร์ (Asia Tech x Singapore หรือ ATxSG) ซึ่งเป็นงานเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาค
สร้างอนาคตดิจิทัลของสิงคโปร์
แผนแม่บทผลักดันการเชื่อมต่อดิจิทัลนี้เกิดขึ้นจากการปรึกษาหารือระหว่างคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล โดยมีดร. จานิล พุธูเชียรี (Dr. Janil Puthucheary) รัฐมนตรีอาวุโสประจำกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศของสิงคโปร์ และคุณเออร์วิง ตัน (Irving Tan) รองประธานบริหารฝ่ายปฏิบัติการสากลของเวสเทิร์น ดิจิทัล (Western Digital) รวมถึงพันธมิตรอุตสาหกรรมรายอื่น ๆ เป็นประธานร่วม แผนแม่บทดังกล่าวสรุปลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของสิงคโปร์ และขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวทันยุคผ่านการลงทุนก่อนความต้องการ พร้อมวางแผนแบบองค์รวมสำหรับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานแบบกายภาพ โครงสร้างพื้นฐานแบบกายภาพ-ดิจิทัล และโครงสร้างพื้นฐานด้านมาตรฐาน เพื่อให้แน่ใจว่าโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของเราพร้อมสำหรับอนาคต
สิงคโปร์มุ่งมั่นที่จะก้าวไปข้างหน้าด้วยการขยายการเชื่อมต่อทางดิจิทัล เพื่อสร้างชีวิตที่ดีขึ้นและนำโอกาสที่น่าตื่นเต้นมาสู่ผู้คนและองค์กรต่าง ๆ โดยจะยกระดับความมุ่งมั่นตามลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์ในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย
1) เพิ่มขีดความสามารถในการวางสายเคเบิลใต้น้ำเป็นสองเท่าภายในสิบปีข้างหน้า
2) สร้างการเชื่อมต่อภายในประเทศที่ครอบคลุมด้วยความเร็ว 10 Gbps ภายในห้าปีข้างหน้า
3) ทำให้โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศยืดหยุ่นและปลอดภัยในระดับสากล
4) บุกเบิกแผนงานสำหรับการพัฒนาศูนย์ข้อมูลสีเขียวแห่งใหม่และผลักดันกรอบความยั่งยืน
5) ผลักดันการนำโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของสิงคโปร์มาใช้มากขึ้น เพื่อเพิ่มประโยชน์จากการทำธุรกรรมดิจิทัลที่ราบรื่น
นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังจะบุกเบิกวงการใหม่ ๆ เพื่อเก็บเกี่ยวโอกาสในอนาคต อย่างเช่น
1) พัฒนาวิสัยทัศน์สร้างสิงคโปร์ที่มีความปลอดภัยทางควอนตัมภายในสิบปีข้างหน้า
2) วางรากฐานสร้างระบบอัตโนมัติให้แพร่หลาย
3)”ซอฟต์แวร์สีเขียว” เพื่อลดการประมวลผลหนัก โดยสร้างระบบนิเวศใหม่รองรับซอฟต์แวร์ที่ยั่งยืน
4) ใช้งานโซลูชันที่ทันสมัยในอุตสาหกรรมหลัก ๆ โดยอาศัยบริการดาวเทียมวงโคจรต่ำ
แผนแม่บทนี้จะทำหน้าที่เป็นรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับสิงคโปร์ในการนำไปสู่โอกาสที่ดีกว่า ความไว้วางใจที่เพิ่มขึ้น และชุมชนที่แข็งแรง
Social Links