หนี้ทางเทคนิคทำให้ธุรกิจทั่วโลก เติบโตชะงักและหยุดพัฒนา

หนี้ทางเทคนิคทำให้ธุรกิจทั่วโลก เติบโตชะงักและหยุดพัฒนา

หนี้ทางเทคนิคทำให้ธุรกิจทั่วโลก

เติบโตชะงักและหยุดพัฒนา

…………………………………………..

ดีเอ็กซ์ซี เทคโนโลยี เผยข้อมูลเชิงลึกล่าสุดจากผู้บริหารทั่วโลกเกี่ยวกับผลกระทบของหนี้ทางเทคนิค พร้อมเสนอแผน 4 ขั้นตอนในการชำระหนี้ทางเทคนิคในปัจจุบันและลดหนี้ในอนาคต

…………………………………………….

  ดีเอ็กซ์ซี เทคโนโลยี (DXC Technology) (NYSE: DXC) ผู้ให้บริการเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกในทำเนียบฟอร์จูน 500 (Fortune 500) ทำการศึกษาบรรดาผู้บริหารกิจการพบว่า เกือบครึ่งหนึ่ง (46%) บอกว่า หนี้ทางเทคนิคคือผู้ก่อวินาศกรรมลับ ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการเติบโต

หนี้ทางเทคนิค (Tech Debt) คือต้นทุนโดยปริยายของการแก้งานอันเกิดจากการเลือกใช้เทคโนโลยีเก่าที่ด้อยกว่าแต่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าแบบลวก ๆ ได้ แทนการใช้เทคโนโลยีใหม่ที่ “เหมาะสม” หรือพูดอีกอย่างได้ว่า การใช้เทคโนโลยีเก่าที่ลงทุนไปในอดีตอาจยังใช้ได้ผลอยู่ในปัจจุบัน แต่ไม่สามารถใช้ต่อไปในระยะยาวได้ หนี้ทางเทคนิคมักจะเป็นการใช้เทคโนโลยีเก่าแก้ปัญหาลวก ๆ แบบสั่งสมจนเริ่มด้อยประสิทธิภาพและแก้ไขงานได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าหนี้ทางเทคนิคจะแตกต่างไปจากความล้าสมัยหรือการเสื่อมราคา แต่ก็สร้างความเสียหายให้กิจการรายใหญ่ ๆ เป็นมูลค่าหลายพันล้าน และก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างตั้งแต่สูญเสียบุคลากรที่มีความสามารถ ผลิตภาพตกต่ำ ไปจนถึงเพิ่มความเสี่ยงด้านความปลอดภัย จนเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จและราคาหุ้นขององค์กรในที่สุด

ดีเอ็กซ์ซี ลีดดิง เอดจ์ (DXC Leading Edge) ทำการสำรวจผู้บริหารระดับสูงในสายเทคโนโลยีและสารสนเทศจำนวน 750 คน ซึ่งเป็นกลุ่มบุคลากรมากประสบการณ์ผู้สร้างสรรค์ความเป็นผู้นำทางความคิดในรูปแบบก้าวหน้าที่ให้ความสำคัญกับการพลิกโฉมธุรกิจ ผลสำรวจดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยชื่อ “ต้อนรับความทันสมัย: จากหนี้ทางเทคนิคสู่การเติบโต” (Embracing modernization: From technical debt to growth) โดยระบุว่า เราควรเลิกมองว่าหนี้ทางเทคนิคเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข แต่ให้มองเป็นเรื่องที่ต้องจัดการในฐานะส่วนหนึ่งของการปรับองค์กรให้ทันสมัย

รายงานดังกล่าวพบว่า หนี้ทางเทคนิคเป็นวิกฤตการโยนงาน โดยในบรรดาผู้บริหารที่ให้สัมภาษณ์นั้น 99% ยอมรับว่าหนี้ทางเทคนิคทำให้เกิดความเสี่ยงต่อองค์กรของตน แต่ 3 ใน 4 ยังคงเชื่อว่า ผู้บริหารฝ่ายไอทีควรเป็นผู้รับผิดชอบแก้ไขปัญหาดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว

คุณไมเคิล คอร์โคแรน (Michael Corcoran) หัวหน้าระดับโลกส่วนงานวิเคราะห์และวิศวกรรมกล่าวว่า “เราอยู่ในจุดที่นวัตกรรมเทคโนโลยีกำลังเร่งการพัฒนาอย่างรวดเร็ว วิธีการสร้าง ขยาย และส่งเสริมศักยภาพของทีมงานและลูกค้ากำลังเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น แนวทางการบริหารจัดการกระบวนการพัฒนาองค์กรสู่ความทันสมัยจึงต้องเปลี่ยนแปลงตามด้วย บางครั้งปัญหาหนี้ทางเทคนิคระบาดไปทั่วทั้งองค์กรจนทำให้บุคลากรระดับผู้นำมองเห็นปัญหานอกทีมของตนได้ยาก จุดนี้เองที่บุคคลภายนอกที่เป็นกลางจะเข้ามาช่วยให้เห็นปัญหาในภาพรวมเพื่อจะได้มีมุมมองใหม่ หากผู้บริหารกิจการไม่มุ่งมั่นที่จะจัดการปัญหาหนี้ทางเทคนิคตั้งแต่ตอนนี้ ก็จะนำไปสู่การสูญเสียทรัพยากร ผลิตภาพ บุคลากรผู้มีความสามารถ และมีผลกระทบต่อความปลอดภัยขนานใหญ่”

นอกจากนี้ การขาดความรู้ความเข้าใจในกลุ่มผู้บริหารกิจการยังส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความสามารถในการจัดการหนี้ทางเทคนิคอีกด้วย บรรดาผู้บริหารแสดงออกชัดเจนว่า ในความพยายามขององค์กรที่จะพัฒนาสู่ความทันสมัยนั้นมีอุปสรรค โดย 47% ระบุว่า อุปสรรคด้านความรู้มีความสำคัญมากหรือสำคัญอย่างยิ่ง ขณะที่ 38% ยกให้อุปสรรคด้านวัฒนธรรมมีความสำคัญมากหรือสำคัญอย่างยิ่ง

ดีเอ็กซ์ซีพบว่า หากสามารถลดปริมาณหนี้ทางเทคนิคได้ จะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ประหยัดต้นทุนลงได้ 39% และเลิกใช้แอปพลิเคชันที่ซ้ำซ้อนได้ 37% ดีเอ็กซ์ซีจึงกำหนดแผน 4 ขั้นตอนในการชำระหนี้ทางเทคนิคในปัจจุบัน และลดปริมาณหนี้ในอนาคตไว้ดังนี้

  1. เปลี่ยนมุมมองต่อหนี้ทางเทคนิคขององค์กรให้เป็นการพัฒนาสู่ความทันสมัย

การพูดถึงหนี้ทางเทคนิคขององค์กรให้ชัดเจนย่อมทำให้วิสัยทัศน์การปรับองค์กรให้ทันสมัยชัดเจนตามไปด้วย สิ่งสำคัญคือการเปลี่ยนความคิดให้มุ่งเน้นไปที่อนาคต นี่คือช่วงเวลาอันดีที่ผู้บริหารจะได้สื่อสารอย่างตรงไปตรงมาในการทบทวนสิ่งที่องค์กรมีอยู่

  1. กำหนดโอกาส

ขั้นตอนแรกในการกำหนดโอกาสในการปรับองค์กรให้ทันสมัยคือคนนอกแผนกไอทีต้องร่วมภาระความรับผิดชอบด้วย แม้ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศ (CIO) และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) จะเป็นผู้นำการปรับองค์กรให้ทันสมัย แต่ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อทีมผู้บริหารทั้งหมดร่วมรับผิดชอบด้วย ความร่วมมือกันระหว่างฝ่ายธุรกิจกับฝ่ายเทคโนโลยีมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดย CTO และ CIO อยู่ในจุดที่สามารถสื่อสารเรื่องหนี้ทางเทคนิคขององค์กรแก่ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายอื่น ๆ ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียในกิจการในวงกว้าง โดยได้รับการสนับสนุนจากประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (CFO) จากนั้น บุคลากรในกลุ่มผู้นำดังกล่าวจะต้องอธิบายประเด็นปัญหาให้เห็นชัดเจนและน่าเชื่อถือ เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพ

  1. กำจัดอุปสรรค

แต่ละอุตสาหกรรมและแต่ละองค์กรย่อมมีลักษณะเฉพาะของตน ดังนั้นการกำจัดอุปสรรคขององค์กรจึงเป็นเรื่องของการเข้าใจว่าอุปสรรคนั้นคืออะไรโดยพิจารณาจากสิ่งที่คุณมีอยู่และจากแผนที่วอร์ดลีย์ (Wardley Maps) และใช้ลักษณะอุตสาหกรรมของตนเป็นพื้นฐาน แล้วปรับให้เข้ากับความต้องการขององค์กรต่อไป

  1. จัดระเบียบเพื่อดำเนินการ

เมื่อมีการปรับเปลี่ยนการสื่อสาร ระบุอุปสรรค และได้รับความร่วมมือไปในทิศทางเดียวกันแล้ว องค์กรจะสามารถหันมาให้ความสำคัญกับเป้าหมายและผลลัพธ์ที่พึงประสงค์จากการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ การปรับองค์กรให้ทันสมัยเป็นกระบวนการการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงแค่เป็นงานของฝ่ายไอทีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทั้งองค์กรด้วย ซึ่งหากดำเนินการได้อย่างเหมาะสมแล้วนั้นย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ทั่วทั้งองค์กร ตั้งแต่ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดการปล่อยคาร์บอน ไปจนถึงทำให้ชีวิตการทำงานของพนักงานราบรื่นขึ้น ในแง่ของการดำเนินธุรกิจนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในองค์กร เมื่อมีการระบุหนี้ทางเทคนิคขององค์กรให้เห็นภาพครบถ้วนและชัดเจนแล้วนั้นก็จะสามารถควบคุม ทำความเข้าใจ และบริหารจัดการได้โดยรอบคอบ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของงบดุลของกิจการที่ดี

คุณเดฟ รีด (Dave Reid) ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของดีเอ็กซ์ซี ลีดดิง เอดจ์ กล่าวว่า “หนี้ทางเทคนิคเป็นประเด็นที่ยืดเยื้อมานานที่คาบเกี่ยวระหว่างการดำเนินธุรกิจกับเทคโนโลยี และแม้จะเป็นปัญหาที่รู้กันมานาน แต่ก็มักจะขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เมื่อมีการสั่งสมหนี้ทางเทคนิคอย่างต่อเนื่อง องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกจึงมองว่าเป็นความท้าทายสำคัญประการหนึ่ง และเป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการเปลี่ยนแปลงและให้บริการลูกค้าในอนาคต วันนี้เราจึงขอเผยแพร่ผลการวิจัยสำคัญของเราเพื่อช่วยให้ลูกค้าและพันธมิตรสามารถเผชิญหน้ากับปัญหาดังกล่าวได้โดยตรง และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการพลิกโฉมและการปรับองค์กรให้ทันสมัย ซึ่งเป็นที่คาดหวังกันมานานแต่ยากที่จะทำให้เกิดขึ้นได้จริง”

นอกจากแนวทาง 4 วิธีสู่การสะสางหนี้ทางเทคนิคขององค์กรแล้ว ดีเอ็กซ์ซียังขอเสนอบริการตรวจสอบหนี้ทางเทคนิค (Tech Debt Audit) ที่จะช่วยให้ผู้บริหารกิจการสามารถทำความเข้าใจระดับหนี้ทางเทคนิคในองค์กรของตน รวมถึงอุปสรรคในการระบุหนี้ทางเทคนิคได้ในทันที

………………..

ระเบียบวิธีวิจัย

ในปี 2566 ดีเอ็กซ์ซี ลีดดิง เอดจ์ ทำการสำรวจผู้บริหารในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ 750 คนทั่วโลก โดยมีช่วงความเชื่อมั่น (CI) 95% โดยครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้บริหารระดับสูงในตำแหน่ง CIO หรือ CTO ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นผู้บริหารระดับรองประธานขึ้นไป โดยเป็นการสำรวจผู้บริหารทั่วโลกจากบริษัทที่มีขนาดต่าง ๆ กัน ตั้งแต่บริษัทที่มีรายได้ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐไปจนถึง 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐขึ้นไป ครอบคลุมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการธนาคารและตลาดทุน, การประกันภัย, การบินและอวกาศและการป้องกันประเทศ, เทคโนโลยี สื่อและโทรคมนาคม, การเดินทาง, การคมนาคมขนส่งและการบริการ, พลังงาน, สาธารณูปโภค, น้ำมันและก๊าซ, การดูแลสุขภาพ, ยานยนต์, การค้าปลีกและสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค และภาครัฐ

……………………………..

เกี่ยวกับดีเอ็กซ์ซี เทคโนโลยี

ดีเอ็กซ์ซี เทคโนโลยี (DXC Technology) (NYSE: DXC) ช่วยให้บริษัททั่วโลกสามารถบริหารระบบและการดำเนินงานที่มีความสำคัญต่อธุรกิจไปพร้อมกับทำให้ระบบไอทีและสถาปัตยกรรมข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงมอบความปลอดภัยและความยืดหยุ่นทั่วทั้งคลาวด์สาธารณะ คลาวด์ส่วนตัว และคลาวด์แบบไฮบริด บริษัทเอกชนและองค์กรภาครัฐรายใหญ่อันดับต้น ๆ ของโลกต่างวางใจให้ดีเอ็กซ์ซีเข้ามาให้บริการด้านไอที เพื่อยกระดับสมรรถนะการทำงาน ขีดความสามารถทางการแข่งขัน และประสบการณ์ลูกค้า สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลงานของเราในการส่งมอบความเป็นเลิศให้แก่ลูกค้าและเพื่อนร่วมงานของเราได้ที่ DXC.com

You may also like

คปภ.เดินหน้า! เปิดเวทีสัมมนาวิชาการด้านประกันภัย ประจำปี 2567 “Thailand Insurance Symposium 2024”

 นายชูฉั